การวิเคราะห์เนื้อหาเรื่องเล่าในรายการเดอะโกสเรดิโอ (The Ghost Radio)
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาเรื่องเล่าและโครงสร้างการเล่าเรื่องของรายการเดอะโกสเรดิโอ (The Ghost Radio) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการศึกษาด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 30 เรื่อง ที่มียอดการรับชมสูงสุดบนแพลตฟอร์มยูทูป (YouTube) ระหว่างวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2566 - 31 มีนาคม
พ.ศ. 2567 ผลการศึกษาพบว่า ผีในเรื่องเล่าของรายการเดอะโกสเรดิโอ (The Ghost Radio) ทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่อง 11.11 ที่ไม่มีผีปรากฏตัว มีทั้งผีดีหรือผีร้ายที่สามารถให้คุณหรือโทษได้แก่มนุษย์ ซึ่งส่วนใหญ่มักปรากฏในรูปลักษณ์ที่แตกต่างจากมนุษย์และมักปรากฏในช่วงเวลาเย็น-กลางคืน นอกจากนี้ ผียังสามารถปรากฏตัวได้ในหลายสถานที่ และพบมากที่สุดในต่างจังหวัด ขณะที่การรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น พบ การพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือศาสนามากที่สุด ส่วนโครงสร้างการเล่าเรื่องนั้น มีการใช้กลวิธีที่หลากหลายเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ฟัง โดยกลวิธีที่พบมากที่สุด คือ การผสมผสานความคิด (Converging Ideas) ที่เป็นการเล่าเรื่องจากการนำเรื่องราวหรือความคิดหลาย ๆ ส่วนมาสู่บทสรุปที่เป็นใจความสำคัญของเรื่อง และแบบภูเขา (The Mountain) ที่ส่วนแรกจะเป็นการปูพื้นเรื่องราว ตามมาด้วยความท้าทาย และพัฒนาเหตุการณ์ ก่อนจะถึงบทสรุปที่มีการสร้างเส้นทางไปสู่จุดสูงสุดและคลายปมในตอนจบ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความ
References
ภาษาไทย
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์. (2566, 27 พฤศจิกายน). วิเคราะห์การตั้งชื่อเรื่องเล่าผีไทย : กรณีศึกษา 100 เรื่องเล่ายอดนิยมจาก The Ghost Radio.https://www.thaimediafund.or.th/article-27112566/
นลิน สินธุประมา. (2560). เรื่องผีในสังคมไทยร่วมสมัย: บทบาทและการผสมผสานทางวัฒนธรรม. [ปริญญานิพนธ์บัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.https://www.arts.chula.ac.th/folklore/wp-content/uploads/2020/06/ปริญญานิพนธ์-เรื่องผีร่วมสมัยในสังคมไทย-บทบาทและการผสมผสานทางวัฒนธรรม-ฉบับสมบูรณ์.pdf
นิพัทธา อินทรักษา. (2560). การเล่าเรื่องประเด็นสังคมผ่านคลิปวิดีโอบนสื่อออนไลน์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. CHULALONGKORN UNIVERSITY THESES AND DISSERTATIONS (CHULA ETD).https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/1399
ปดิวลดา บวรศักดิ์. (2566, 7 เมษายน). เปิดความสำคัญ “หนังผีไทย” สู่วงการภาพยนตร์โลก. ศิลปวัฒนธรรม silpa-mag.https://www.silpa-mag.com/on-view/article_105818
ภูษิต เรืองอุดมกิจ. (2567, 24 มกราคม). ‘ทำไมคนชอบฟังเรื่องผี?’ กับ 4 เหตุผลทางจิตวิทยาและสังคม. beartai. https://www.beartai.com/life/health/1353539
ยสินทร กลิ่นจำปา. (2565, 31 ตุลาคม). ‘ผี’ ในศตวรรษที่ 21 สำรวจแง่มุมจิตวิทยา ศีลธรรม ทุนนิยมและวัฒนธรรม. WAY Magazine.https://waymagazine.org/ghost-in-21st-century/
ศิริรัตน์ สมสวัสดิ์. (2563). การศึกษากลยุทธ์การสื่อสารรายการเล่าเรื่องลี้ลับ กรณีศึกษารายการเดอะโกสต์เรดิโอ. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. BU RESEARCH.http://dspace.bu.ac.th/handle/123456789/5088
ปิลันลน์ ปุณญประภา และ สามินี รัตนยงค์ไพโรจน์. (2559). ภาพยนตร์ผีไทย : ภาพมายาแทนความฝันของผู้ชม. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 4(2), 8-15. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/93096
สิริวิทย์ สุขกันต์. (2564). เรื่องเล่าเกี่ยวกับผีในรายการ เดอะ โกสต์ เรดิโอ (The Ghost Radio): ความเชื่อ และกลวิธีการเชื่อมเรื่องเล่า. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 31(2), 227-243.https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/issue/view/17037
สุชาติ บุษย์ชญานนท์. (2559). คติความเชื่อเรื่องผีในยุควิทยาการสมัยใหม่ (IT). วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์, 3(1), 42-55.https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434/article/view/247603
สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2555). หลักและทฤษฎีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. โรงพิมพ์ระเบียงทอง.
สันทัด โพธิสา. (2566, 31 ตุลาคม). เปิดจักรวาลผีไทย กับที่มาและเหล่าความเชื่อ. ไทยพีบีเอส.https://www.thaipbs.or.th/now/content/462
เสถียรโกเศศ. (2503, 15 กุมภาพันธ์). เมืองสวรรค์และผีสางเทวดา. PubHTML5.https://pubhtml5.com/yqiq/irle/basic/
หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (ม.ป.ป.). เพราะมีผีจึงมีพระ ความเชื่อและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในมหาวิทยาลัยมหิดล. museum.li.mahidol.https://museum.li.mahidol.ac.th/mahidol-mysteries/
Chanan Yodhong. (2017, 19 September). ผี อวด เพศ : ที่ทางของหญิงชายในเรื่องผีๆ. The MATTER.https://thematter.co/thinkers/ghost-stories-and-patriarchy/35024#google_vignette
Nattaya L. (2565, 7 มีนาคม). “แจ็ค เดอะโกสท์” อยู่ยงในวงการผีด้วยความสนุก. Sanook. https://www.sanook.com/men/77873/
Siribunyarit, S., & Sabphiphat, K. (2566, 31 ตุลาคม). ส่องโซเชียล “ฮาโลวีน” คนไทยชอบพูดคุยเรื่องผีดันเอ็นเกจเมนต์สูงกว่า 9 ล้านครั้ง คุยบนเฟซบุ๊กมากที่สุด. dataxet.https://www.dataxet.co/insights/halloween
Tassana Puttaprasart. (2023, November 4). ‘เพราะห่างไกลและไม่คุ้นเคย’ Folk Horror ว่าด้วยความกลัวเรื่องผีสางในท้องถิ่น. The MATTER.https://thematter.co/social/folk-horror/216342
Thanyawat Ippoodom. (2017, September 3). เปิดกรุผีไทยในรายการ The Shock : สำรวจตัวตนผี ผ่านเรื่องเล่าเขย่าขวัญ. The MATTER.https://thematter.co/social/thai-ghost-in-the-shock-universe/33866
Thanyawat Ippoodom. (2018, August 4). ขวัญผวากับผีไทยในรายการ The Ghost Radio : สำรวจ DATA เรื่องผีผ่านคลื่นสยองขวัญ. The MATTER.
https://thematter.co/social/data-the-ghost-radio/56340
The Ghost Radio (Official). (ม.ป.ป.). เกี่ยวกับ. YouTube.https://www.youtube.com/@Theghostradio/videos
unlockdigital. (2015, December 24). Storytelling Part 1: 8 คลาสสิคเทคนิค ในการสร้างวิธีการเล่าเรื่องเพื่อสร้าง Engagement. https://shorturl.asia/znJAI
ภาษาอังกฤษ
KEMP, S. (2024, February 23). DIGITAL 2024: THAILAND.
DATAREPORTAL.https://datareportal.com/reports/digital-2024-thailand
Lindsay, F. (2015, December). The Seven Pillars of Storytelling.
Sparkol Books.https://ma33a.com/blog/wp-content/uploads/2018/06/The-Seven-Pillars-of-Storytelling.pdf