วิดีโอเกม กับการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่

Main Article Content

รุ่งลดิศ จตุรไพศาล

บทคัดย่อ

วิดีโอเกมจัดเป็นสื่อใหม่ที่มีคุณลักษณะที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย เป็นอิสระจากอำนาจรัฐ มีการเชื่อมโยงกันเป็นกลุ่ม เปิดโอกาสให้ผู้เล่นที่มีสถานะเป็นผู้รับสารเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์เนื้อหาและการสื่อสารได้ วิดีโอเกมจึงสามารถใช้เป็นสื่อเพื่อแสดงออกเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ในสังคมได้ ในบทความนี้ประกอบด้วยการวิเคราะห์กรณีศึกษา 3 เกม ได้แก่ Detroit: Become Human Escape Fishstop 3D และ Grand Theft Auto (GTA) 5 ออนไลน์โหมด FiveM ด้วยแนวคิดเกี่ยวกับวิดีโอเกม และทฤษฎีการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ จากการศึกษาพบว่า วิดีโอเกมที่มีลักษณะของการขับเคลื่อนประเด็นทางสังคมจะใช้กลยุทธ์การสื่อสารโดยอ้างอิงเหตุการณ์จากโลกจริง ทั้งนี้แม้วิดีโอเกมจะมีความเป็นอิสระจากอำนาจรัฐ และเปิดโอกาสให้ผู้เล่นสามารถสร้างสรรค์และแสดงออกทางความคิดได้ แต่ทั้งหมดนี้ยังอยู่ภายใต้อำนาจการควบคุมของผู้สร้าง หรือผู้ดูแลเกม และการสื่อสารอาจยังจำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มผู้เล่นเกมเท่านั้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ภาษาไทย

ก่อพงศ์ วิชญาปกรณ์. (2566). ปริทัศน์ โดยปริยาย : วิดีโอเกม กระบะเล่นทราย, วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 23(1), 546-569.

กาญจนา แก้วเทพ. (2545). เพ่งพินิจและครุ่นคิดความบันเทิงในสื่อ. ใน กาญจนา แก้วเทพ และคณะ, สื่อบันเทิง : อำนาจแห่งความไร้สาระ. (น. 201-233). กรุงเทพฯ: ออล อเบ้าท์ พริ้นท์.

เกียรติศักดิ์ อ้นบุตร. (2563). การสื่อสารเพื่อต่อรองอำนาจผ่านสื่อขบวนพาเหรดล้อการเมือง งานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ในยุครัฐบาล คสช.[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เพ็ชรัตน์ ไสยสมบัติ. (2555). การเคลื่อนไหวทางสังคมในบริบทสังคมไทย, วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 15(1), 144-151.

สมชัย ภัทรธนานันท์. (2560). ทฤษฎีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม และ การประท้วงทางการเมือง (พิมพ์ครั้งที่ 2). อินทนิล.

อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว. (2561). สื่อศาสตร์. นาคร.

ภาษาอังกฤษ

Bogost, I. (2007). Persuasive games: The expressive power of videogames. The MIT Press.

Buechler, S. (2013). New Social Movements and New Social Movement Theory. In D.A. Snow, D. Della Porta, B. Klandermans, & D. McAdam (Eds.), The Wiley-Blackwell Encyclopedia of Social and Political Movements. Wiley-Blackwell. https://doi.org/10.1002/9780470674871.wbespm143

Christiansen F. (2020). Video Games as Infrastructures of Resistance. https://mastersofmedia.hum.uva.nl/blog/2020/10/19/video-games-as-infrastructures-of-resistance/

Frasca, G. (2003). Simulation versus Narrative: Introduction to Ludology. In M. J. P. Wolf & B. Perron (Eds.), The Videogame Theory Reader (p. 221-236). New York: Routledge.

Howarth J. (2024). How Many Gamers Are There? (New 2024 Statistics). https://explodingtopics.com/blog/number-of-gamers

Isbister, K. (2016). How Games Move Us: Emotion by Design. MIT Press.

McLuhan, M., Fiore, Q., & Agel, J. (2001). The medium is the massage. California: Gingko Press.

Mercardo A. (2024). 10 Steam Statistics Every Video Game Developer Should Know in 2024. https://www.skillademia.com/statistics/steam-statistics/

Miller, C.H. (2008). Digital Storytelling: A Creator's Guide to Interactive Entertainment. Waltham, Massachusetts: CRC Press

Murray, J. (2006). Toward a Cultural Theory of Gaming: Digital Games and the Co-Evolution of Media, Mind, and Culture, Popular Communication, 4(3), 185-202.