การสื่อสารผ่านเครือข่ายออนไลน์ในรูปแบบการทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) ของพนักงานบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)

Main Article Content

ณัฏฐ์ดรัณ พุ่มศรีเพ็ชร์
พรรษา รอดอาตม์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการสื่อสาร ปัญหาของการสื่อสาร และแนวทางการพัฒนาการสื่อสารภายในองค์กร ต่อการปฏิบัติตามนโยบายการทำงานที่บ้านเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคระบาด โควิด-19 ของพนักงานบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการสัมภาษณ์ พนักงานบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพฯ โดยทำการศึกษาเฉพาะฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องปฏิบัติงานจากที่บ้าน 100 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงของการแพร่กระจายของโรคระบาด โควิด-19 และการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารหรือการวิจัยเชิงเอกสาร โดยการทบทวนแนวความคิด ทฤษฎีและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง คือ แนวคิดการสื่อสารภายในองค์กร จากผลการศึกษาพบว่า มาตรการให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน 100% องค์กรมีลักษณะของการสื่อสารภายในองค์กรขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร โดยมีรูปแบบการสื่อสารแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ และมีการไหลของสารที่สื่อออกไปในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ การสื่อสารจากบนลงล่าง การสื่อสารล่างขึ้นบน การสื่อสารตามระดับเท่ากัน และการสื่อสารข้ามสายงาน ช่องทาง และเครื่องมือการสื่อสารในองค์กรที่นำมาใช้ในช่วงสถานการณ์วิกฤตนี้ ได้แก่ ระบบอินทราเน็ต จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) การประชุมออนไลน์ผ่าน MS-Team และสื่อสังคมออนไลน์ เช่น แอพพลิเคชั่นไลน์ เป็นต้น โดยสารที่สื่อสารภายในองค์กรนั้นจะเป็นเรื่องของประกาศที่สำคัญในการปฏิบัติงานในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เช่น การสั่งการ นโยบาย เป้าหมาย การมอบหมายภาระหน้าที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น จึงต้องมีการวางแผนการสื่อสารล่วงหน้าที่ดี กล่าวคือ จำเป็นต้องทราบลักษณะพฤติกรรมของกลุ่มพนักงานและประเมินสถานการณ์ก่อนที่จะทำการสื่อสารว่า เนื้อหาและช่องทางการสื่อสารที่เลือกใช้นั้น สอดคล้องกับความต้องการและพฤติกรรมของพนักงาน ในด้านปัญหาและอุปสรรคที่พบในการสื่อสาร คือ การบิดเบือนสาร ความเงียบงันในองค์กร ความสัมพันธ์ทางสถานภาพระหว่างผู้ส่งและผู้รับสาร ระยะห่างทางกายภาพ การสื่อสารข้ามลำดับขั้น และการใช้ช่องทางการสื่อสารที่ไม่เหมาะสม การเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาการสื่อสารภายในองค์การให้ดียิ่งขึ้น ได้แก่ ผู้บริหารในทุกระดับต้องให้ความสำคัญกับการสื่อสาร การติดต่อสื่อสารแบบเผชิญหน้าซึ่งในสถานการณ์ที่ต้องทำงานจากที่บ้านนั้นอาจจะใช้เครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ เข้ามาช่วย เพื่อให้ได้เผชิญหน้ากัน และทำการสื่อสารกันมากยิ่งขึ้น การสื่อสารประเด็นสำคัญในจังหวะเวลาที่เหมาะสม และการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2563). บิ๊กโทรคม 'เอไอเอส' เข้มมาตรการ รับมือโควิด-19. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/870815, 25 เมษายน 2564.

ธนวรรธ ตั้งสินทรัพย์ศิริ. (2550). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.

ปิ่นสุดา ภู่วิภาดาวรรธน์. (2563). COO’s Talk ตอน “Work from Home ความปกติในรูปแบบใหม่ของการทำงานอนาคต” สืบค้นจาก https://www.scbam.com/th/knowledge/coo-talk/coos-talk-26052020, 25 เมษายน 2564.

พรรณปพร โภคัง. (2554). แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์กรของคณะเทคโนโลยีการเกษตร. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2550). พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิเชียร วิทยอุดม. (2554). ทฤษฎีองค์การ. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.

วิไลวรรณ ใจทัศน์กุล. (2557). การสื่อสารในองค์กร ของศูนย์ปฏิบัติการโรงแรมศาลายา พาวิลเลียน. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

เสนาะ ติเยาว์. (2541). การสื่อสารในองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 4.) กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรอนงค์ สวัสดิ์บุรี. (2555). พฤติกรรมการสื่อสารในองค์กร. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.

Positioningmag. (2563). อุ่นใจ! AIS แบ่งทีมพนักงานกลับทำงานออฟฟิศ 50% CEO แพ็กชุด Welcome Back ด้วยตัวเอง. สืบค้นจาก https://positioningmag.com/1279071, 25 เมษายน 2564.

Harold, D Lasswell. (1948). The Structure and Functional of Communication In Society. The Com-munication of Ideals, Lyman Brysoned. New York, NY: Harper and Row Publishers.

JobsDB Thailand. (2020). [COVID-19] Work from Home? How to Do?. [Online]. Available: https://th.jobsdb.com/th-th/articles/work-from-home Retrieved April 05, 2020. (in Thai)

Kruachieve. (2020). Suggest Tools for Working from Home during the Epidemic of COVID-19. [online]. Available: https://www.kruachieve.com Retrieved April 05, 2021. (in Thai)

Samuel C.certo. (2000). Modern Management: Diversity, quality ethics, and the global environment. Prentice Hall.