การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง ‘‘การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงวัย’’ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษา พฤติกรรมในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ และการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของกลุ่มผู้สูงวัย 2) เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากรและพฤติกรรมการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงวัย 3) เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากรและการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของกลุ่มผู้สูงวัย และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์กับการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของกลุ่มผู้สูงวัย โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้รูปแบบเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บข้อมูลเป็นเพศชาย 150 คนและเพศหญิง 150 คนรวมทั้งสิ้นจำนวน 300 คน ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และมีบัญชีผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์รวมถึงมีการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์เป็นประจำ ผลการวิจัยพบว่า แอปพลิเคชันไลน์เป็นแอปพลิเคชันที่ผู้สูงวัยนิยมใช้บ่อยที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.21) โดยมีเหตุผลในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์เพื่อรับรู้ข้อมูลข่าวสารเป็นหลัก ทั้งยังพบว่า ผู้สูงวัยที่มีเพศและระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีความถี่ในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์แตกต่างกัน โดยเพศหญิงจะมีการใช้งานมากกว่า และ ผู้ที่มีระดับการศึกษาตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป จะมีใช้งานสื่อสังคมออนไลน์มากกว่าผู้ที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี โดยจะมีความบ่อยครั้งในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ไม่ต่างกัน นอกจากนี้ยัง พบว่า ผู้สูงวัยทั้งเพศหญิงและชายส่วนใหญ่มีการรู้เท่าทันสื่อ แต่จะมีการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ที่แตกต่างกันอยู่ 2 ด้าน คือ ด้านการประเมินค่าสื่อ ด้านการผลิตและสร้างสรรค์ ซึ่งเพศหญิงจะประเมินค่าสื่อ รู้ถึงการผลิตและสร้างสรรค์ มากกว่าเพศชาย ส่วนระดับการศึกษาผู้สูงวัยที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรีและสูงกว่าปริญญาตรี จะมีการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ด้านการเข้าถึงข้อมูลมากกว่าผู้สูงวัย ที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี และ นอกจากนี้ยังพบว่า ความบ่อยครั้งในการใช้สื่อสังคมออนไลน์มีความสัมพันธ์กันทางบวก แม้ว่าจะอยู่ในค่าที่บวก แต่ผลยังใกล้กับระดับปานกลาง จึงทำให้ไม่สามารถวางใจได้ว่าผู้สูงวัยมีการรู้เท่าทันสื่อมากน้อยเพียงใด ซึ่งผู้สูงวัยที่มีความถี่การใช้สื่อสังคมออนไลน์มากก็จะมีการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ในภาพรวมมาก และผู้สูงวัยที่มีความถี่การใช้สื่อสังคมออนไลน์น้อย ก็จะมีการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ในภาพรวมน้อยขึ้นอยู่กับความถี่ของการใช้งาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความ
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2541). สื่อสารมวลชนทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. คณะนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.
จิรเมธ ประเสริฐสุข (ม.ป.ป.). Digital Literacy กับสังคมผู้สูงอายุ. จาก https://www.depa.or.th/en/article-view/digital-literacy
เทียนทิพย์ เดียวกี่. (2563). วัยเก๋าสร้างสุข ฉุกคิดก่อนแชท. จาก http://healthydee.moph.go.th/view_article.php?id=1089
แฟนเพจการสำรวจจำนวนนักเรียนที่ใช้InstagramและLine ชั้นม. 5/2 ปีการศึกษา2560. (2561).
มารู้จักข้อดีข้อเสียของการใช้ InstagramเเละLineกันดีกว่านะคะ. จาก https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=201528120585083&id=200725647331997&comment_id=202010837203478
สรานนท์ อินทนนท์. (2562). รู้เท่าทันข่าว (News Literacy). กรุงเทพฯ: บริษัท วอล์ค ออน คลาวด์ จำกัด.
สราวุธ ชมบัวทอง. (2547). การเปิดรับและการใช้ประโยชน์สื่อใหม่ของนักศึกษาปริญญาโท บัณฑิตวิทยาลัยสถาบันราชภัฏสวนดุสิต. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2560). การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2560. จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านICT/เทคโนโลยีในครัวเรือน/2560/FullReportICT_60.pdf
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2562). งานวิจัยพบคนสูงวัยแชร์ข่าวปลอมสูงกว่าวัยรุ่น 7 เท่า. จาก https://resourcecenter.thaihealth.or.th/article/งานวิจัยพบคนสูงวัยแชร์ข่าวปลอมสูงกว่าวัยรุ่น-7-เท่า
สิรินทร พิบูลภานุวัธน์, นันทิยา ดวงภุมเมศ และขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์. (2563). สูงวัยไม่เสพสื่ออย่างสุ่มเสี่ยง: การสร้างนักสื่อสารสุขภาวะสูงอายุที่รู้เท่าทันสื่อ. Journal of Business, Economics and Communications, 15(3). 174 - 191.
อุษา บิ้กกิ้นส์. (2555). การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ. วารสารสุทธิปริทัศน์, 26(80), 147-161.
EDUCATION CENTER. (2560). มาดูกันว่า การศึกษามีความสำคัญมหาศาลเพียงใดทั้งต่อตนเองและประเทศชาติ. จาก https://www.educatorroundtable.org/2-2/
College of Management. (2018). AWUSO Society 4.0. In Awuso Insight Seminar. from http://www.cmmu.mahidol.ac.th/cmmu/index.php/9-college-news /540awuso-society-4-0.
Sabbatini, R. M. (2007). Are there differences between the brains of males and females. Brain & Mind Online Magazine, 12(11).