กลยุทธ์ทางการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจกับบริษัทคู่ค้า ในมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ของหน่วยงานผลิตภัณฑ์หล่อลื่น บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องกลยุทธ์ทางการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจกับบริษัทคู่ค้าในมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของหน่วยงานผลิตภัณฑ์หล่อลื่นบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารของหน่วยงานผลิตภัณฑ์หล่อลื่นในมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ต่อบริษัทคู่ค้า โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายในการสื่อสารออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มคู่ค้าบริษัทผลิตวัสดุประกอบสินค้า 2. กลุ่มคู่ค้าโรงบรรจุผลิตภัณฑ์หล่อลื่น งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In - Depth Interview) แบบกึ่งมีโครงสร้าง (Semi - structured Interview) และสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการ (Formal Interview) โดยทำการเก็บข้อมูลจากผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน ผลการวิจัย พบว่า องค์กรมีการสื่อสารเพื่อบริหารความสัมพันธ์กับบริษัทคู่ค้าให้มีส่วนร่วมทางการสื่อสารกับองค์กร โดยทำการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจความต้องการของบริษัทคู่ค้าแต่ละรายเพื่อให้ทราบความต้องการที่จะทำให้การสื่อสารมีความชัดเจนและถูกต้อง นอกจากนี้ มีการบริหารประเด็นในเชิงรุก (Proactive aspect) ที่จะต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูล การกำหนดกรอบการวางแผน การลงมือปฏิบัติ และการประเมินผล สำหรับวัตถุประสงค์ในการสื่อสารภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นการสื่อสารเพื่อแจ้งให้ทราบ (Inform) เพื่อสร้างความเข้าใจ (Understand) และขอความร่วมมือให้คู่ค้าปฏิบัติตามมาตรการ โดยการสื่อสารแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ 1) ช่วงก่อนเกิดวิกฤติ องค์กรมีการเตรียมความพร้อม โดยจัดทำแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management : BCM) 2) ช่วงเกิดวิกฤติ เน้นย้ำเนื้อหาภายในมาตรการ เพื่อให้บริษัทคู่ค้าปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด 3) ช่วงหลังวิกฤติ สื่อสารวิธีการปฏิบัติงานเมื่อการแพร่ระบาดคลี่คลายลง รวมถึงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากการดำเนินงานร่วมกับบริษัทคู่ค้า เพื่อพัฒนาแผนการดำเนินงานร่วมกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความ
References
คันธรัตน์ มณีโชติ. (2551). กลยุทธ์การจัดการการสื่อสารในภาวะวิกฤติ: กรณีศึกษาองค์การเภสัชกรรม.(รายงานโครงการเฉพาะบุคคล) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาการจัดการสื่อสารองค์กร.
จินตวีร์ เกษมศุข. (2562). การบริหารความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณชนก เหรียญประยูร. (2556). เว็บบอร์ด Adam’s Love สื่อสุขภาพชายรักชาย. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, คณะภาษาและการสื่อสาร, สาขาการสื่อสารประยุกต์.
บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน). ผลิตภัณฑ์และบริการ: PTT Lubrucant.สืบค้นจาก https://www.pttor.com/th/product/commercial/PTT-Lubricants
สมิทธิ์ บุญชุติมา และ ชนาภา หนูนาค. (2560). การสื่อสารในภาวะวิกฤต. นนทบุรี: บริษัท 21 เซ็นจูรี่จำกัด.
อำภาพร ปิงมูล. (2560). การสื่อสารกับการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ของประชากรในอำเภอเวียงชัยจังหวัดเชียงราย. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, คณะนิเทศศาสตร์, สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์.
Andrew J. McLean, MD, MPH. (2020). Psychosocial Impacts of Disaster: AssistingCommunity Leaders. Retrieved, from https://ruralhealth.und.edu/assets/2582-14604/psychosocial-impacts-of-disasters.pdf