ความคาดหวัง การเปิดรับ และความพึงพอใจในข้อมูลข่าวสารผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจสำนักประชาสัมพันธ์เขต 5 กรมประชาสัมพันธ์ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

Main Article Content

เศรณี นาวงศ์
สมัชชนันท์ เอกปัญญากุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวัง การเปิดรับ ความพึงพอใจ และแนวโน้มการเปิดรับข้อมูลข่าวสารผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจสำนักประชาสัมพันธ์เขต 5 กรมประชาสัมพันธ์ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) รวมทั้ง ความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวัง การเปิดรับ ความพึงพอใจ และแนวโน้มการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร และความแตกต่างระหว่างความคาดหวังกับความพึงพอใจในข้อมูลข่าวสาร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามทางออนไลน์จากผู้ที่กดติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจสำนักประชาสัมพันธ์เขต 5 กรมประชาสัมพันธ์ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 300 คน โดยผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 25-34 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ/พนักงานของรัฐ อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช มีความบ่อยครั้งในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจสำนักประชาสัมพันธ์เขต 5 กรมประชาสัมพันธ์ 1-2 วัน/สัปดาห์ เป็นระยะเวลาน้อยกว่า 1 ชั่วโมงในแต่ละครั้ง โดยเปิดรับในช่วงเวลา 16.00-20.00 น. มากที่สุด ซึ่งรูปแบบของข้อมูลข่าวสารที่เปิดรับมากที่สุด คือ อินโฟกราฟิก และประเภทข้อมูลข่าวสารที่เปิดรับมากที่สุดคือ รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาด จำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วย ผู้เสียชีวิต ในประเทศและพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน โดยมีความคาดหวังในด้านทันต่อเหตุการณ์ (Surveillance) ในประเด็นเพื่อให้ทราบถึงข้อมูล ข่าวสาร ความคืบหน้า รวมถึงเหตุการณ์และสถานการณ์เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคฯ ทั้งในประเทศและพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน มากที่สุด และกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในด้านทันต่อเหตุการณ์ (Surveillance) ในประเด็นทำให้ทราบถึงข้อมูล ข่าวสาร ความคืบหน้า รวมถึงเหตุการณ์และสถานการณ์เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคฯ ทั้งในประเทศและพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน มากที่สุด โดยกลุ่มตัวอย่างมีความตั้งใจที่จะเปิดรับข้อมูลข่าวสารจากเฟซบุ๊กแฟนเพจสำนักประชาสัมพันธ์เขต 5 กรมประชาสัมพันธ์ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด สำหรับผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า ความคาดหวังต่อข้อมูลข่าวสารมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางกับการเปิดรับรูปแบบข้อมูลข่าวสารผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจสำนักประชาสัมพันธ์เขต 5 กรมประชาสัมพันธ์ ความคาดหวังต่อข้อมูลข่าวสารมีความสัมพันธ์ในระดับสูงกับการเปิดรับประเภทข้อมูลข่าวสารผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจสำนักประชาสัมพันธ์เขต 5 กรมประชาสัมพันธ์ การเปิดรับรูปแบบข้อมูลข่าวสารมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางกับความพึงพอใจในข้อมูลข่าวสารผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจสำนักประชาสัมพันธ์เขต 5 กรมประชาสัมพันธ์ การเปิดรับประเภทข้อมูลข่าวสารมีความสัมพันธ์ในระดับสูงกับความพึงพอใจในข้อมูลข่าวสารผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจสำนักประชาสัมพันธ์เขต 5 กรมประชาสัมพันธ์ ความพึงพอใจในข้อมูลข่าวสารมีความสัมพันธ์ในระดับสูงกับแนวโน้มการเปิดรับข้อมูลข่าวสารผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจสำนักประชาสัมพันธ์เขต 5 กรมประชาสัมพันธ์ และจากการเปรียบเทียบความคาดหวังกับความพึงพอใจในข้อมูลข่าวสาร พบว่า ความพึงพอใจหลังการเปิดรับข้อมูลข่าวสารมีมากกว่าความคาดหวังก่อนการเปิดรับข้อมูลข่าวสารผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจสำนักประชาสัมพันธ์เขต 5 กรมประชาสัมพันธ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (3 พฤษภาคม 2564). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation /situation-no486- 030564.pdf

กรมประชาสัมพันธ์. (2558). โครงสร้างกรมประชาสัมพันธ์. สืบค้น จาก https://moc.ocsc.go.th/ sites/ default/files/01.02_2_kps_aephnphuumiokhrngsra angkaaraebngswn raachkaar_.pdf

กาญจนา แก้วเทพ. (2545). สื่อสารมวลชน ทฤษฎีและแนวทางศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ศาลาแดง.

กาญจนา แก้วเทพ. (2552). การวิเคราะห์สื่อ แนวคิดและเทคนิค. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

กาญจนา แก้วเทพ. (2555). สื่อสารมวลชน: ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: อินฟินิตี้เพลส.

กาญจนา แก้วเทพ และ ศิริชัย ศิริกายะ. (2531). ทฤษฎีสื่อสารมวลชน. กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กาญจนา แก้วเทพ และนิคม ชัยขุมพล. (2555). คู่มือสื่อใหม่ศึกษา. กรุงเทพฯ: โครงการเมธีวิจัย อาวุโส ฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

กานดา รุณนะพงศา. (2557). โซเชียลมีเดีย. สืบค้นจาก http://gear.kku.ac.th/~krunapon/talks/ social media/kku-socialmedia.pdf

กุลริศา ทูลทิพย์. (2559). ความคาดหวังและความพึงพอใจที่มีต่อรายการครัวคุณต๋อย. (การค้นคว้า อิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวลชน.

ขวัญฤทัย สายประดิษฐ์. (2551). บทบาทนักประชาสัมพันธ์กับการประชาสัมพันธ์ในสื่อใหม่ ตอนที่ 1. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 20(65), 42-51.

ชนินทร คชพรม. (2562). ความคาดหวังและความพึงพอใจในข้อมูลข่าวสารผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ Gymboree Play & Music Rama 3 ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของผู้ใช้บริการ. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาวิชาการจัดการสื่อสารองค์กร.

ชนะ เทศทอง. (2555). เปิดร้านออนไลน์. นนทบุรี: ไอดีซี.

ชมพูนุท ทับทิมชัย. (2561). ความคาดหวัง การเปิดรับ และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการแฟนเพจ กรมควบคุมมลพิษ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวลชน.

ทรงพล สุ่นตระกูล. (2561). อิทธิพลของสื่อดิจิทัลทางการตลาดเพื่อการรับรู้คุณค่าความเป็น สถาบันการศึกษาและการ เปลี่ยนแปลงทัศนคติที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาระดับ บัณฑิตศึกษาที่มหาวิทยาลัยเอกชน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, คณะบริหารธุรกิจ.

ธิดาพร ชนะชัย. (2550). New media challenges: marketing communication through new media. สืบค้นจาก http://commarts.hcu.ac.th/images/academic_article/nok/ new_media_ newchallenges.pdf

นฤดี แผ้วสุวรรณ. (2560). การเปิดรับข่าวสารและความคิดเห็นต่อความน่าเชื่อถือในแฟนเพจเฟซบุ๊ก สำนักข่าวออนไลน์ของกลุ่ม Digital Immigrants. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาวิชาการบริหาร สื่อสารมวลชน.

นารีรัตน์ ขาวขำ. (2560). การเปิดรับและทัศนคติ ที่มีต่อเฟซบุ๊กแฟนเพจ “เที่ยวไทยเท่”. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และ สื่อสารมวลชน, สาขาวิชาการจัดการสื่อสารองค์กร.

ปัทมาพร ส้มไทย. (2558). การเปิดรับสื่อ ความคาดหวัง และความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์ ภายในองค์กร ของบุคลากร คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาวิชาการจัดการสื่อสารองค์กร.

พรจิต สมบัติพานิช. (2547). โฆษณาในทศวรรษที่ 2000-2010: การศึกษาถึงปัจจัยด้านสื่อที่มีต่อ รูปแบบโฆษณา. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน, สาขาสื่อสารมวลชน.

พรทิพย์ วรกิจโภคาทร. (2529). เอกสารการสอนชุดวิชาหลักและทฤษฏีการสื่อสาร. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

พิชิต วิจิตรบุญยรักษ์. (2554). สื่อสังคมออนไลน์: สื่อแห่งอนาคต. วารสารนักบริหาร, 31(4), 99-103.

พีระ จิรโสภณ. (2529). หลักและทฤษฎีการสื่อสาร. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เพ็ญพิมล คงมนต์. (2558). ข้อดีและข้อเสียของ facebook (เฟซบุ๊ค) . สืบค้นจาก http://www. newsletter. ipsr.mahidol.ac.th/index.php/component/content/artic le/ 103-popdev-vol35-no5/ 295-vol35-no5-article08.html

ภิเษก ชัยนิรันดร์. (2553). การตลาดแนวใหม่ผ่าน Social Media. กรุงเทพฯ: วิตตี้กรุ๊ป.

ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2534). การวิเคราะห์ผู้รับสาร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

รัตนาภรณ์ ทานน้ำ. (2562). ความคาดหวังและความพึงพอใจของประชาชนต่อสื่อออนไลน์ของ กระทรวงสาธารณสุขที่สื่อสารเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา 2019. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารองค์กร.

วาริธร โพยมรัตน์. (2561). การเปิดรับ ความคาดหวังและความพึงพอใจต่อสื่อออนไลน์ของรถไฟฟ้า MRT บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน). (การค้นคว้าอิสระปริญญา มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารองค์กร.

ศศิธร เดชารัตน์. (2560). ความคาดหวังประโยชน์ การเปิดรับ และทัศนคติ ที่มีต่อข้อมูลข่าวสาร บนเฟซบุ๊กแฟนเพจด้านสุขภาพ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารองค์กร.

วิลาส ฉ่ำเลิศวัฒน์ และคณะ. (2554). iMarketing 10.0. กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2536). ทฤษฎีการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ระเบียงทอง.

สุภวัฒน์ สงวนงาม . (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกรับชมรายการข่าวของ สถานีโทรทัศน์ของ ผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเนชั่น, บัณฑิตวิทยาลัย.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2556). การพัฒนาวิชาชีพครูสู่ยุคปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2. เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาทางวิชาการ การพัฒนาครูทั้งระบบตามยุทธศาสตร์การปฏิรูป การศึกษาทศวรรษที่ 2. แพร่: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1-2.

อรวรรณ วงศ์แก้วโพธิ์ทอง. (2553). Social Media เครื่องมือเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ. Executive Journal, 63-69.

Marketeer. (2564). Internet User ในประเทศไทย 2564 ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตไทยมากแค่ไหนเมื่อ เทียบกับโลก. สืบค้นจาก https://marketeeronline.co/archives/208372

Assael, H. (1995). Consumer Behavior and Marketing Action. 5th ed. Cincinnati, Ohio: South-Western College.

Atkin, C. K. (1973). New Model for Mass Communication Research. New York: The Free Press.

Becker, S. L. (1972). Discovering Mass Communication. Illinois: Scott Foresman and Company Glenview.

Blumler, L. G. (1986). In Media Gratifications Research: Current Perspective. New York: Sage.

Blumler, J., & Katz, E. (1974). The Uses of Mass Communications. Beverly Hills, CA: Sage Publications.

Maslow, A. (1970). Human needs theory: Maslow’s hierarchy of human needs. In R.F.Craven & C. J. Hirnle (Eds.), Fundamental of Nursing: Human Health and Function. (3rd ed.) Philadelphia: Lippincott.

McCombs, M. E., & Becker, L. B. (1979). Using mass communication theory. Englewood Cliff, New Jersey: Prentice Hall.

Mcleod, J. M., & O’ Keefe, G. J. (1972). The socialization perspective and communication behavior. In Current perspective in mass communication research (p. 123). London: Sage Publications.

Rogers, E. M. (1995). Diffusion of Innovations (4th ed.). New York: The Free Press.

Rayburn, J. D., & Palmgreen, P. (1984). Merging uses and gratifications and expectancy value theory. Communication Research, 11(4), 537-562.

Wertime, K., & Fenwick, I. (2008). DigiMarketing: The Essential Guide to New Media and Digital Marketing. England: Wiley.