การเปิดรับสื่อ และการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมในพื้นที่จังหวัดระยองของพนักงานกลุ่มบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)

Main Article Content

อัครพนธ์ เขมะรังสี
โมไนยพล รณเวช

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับสื่อ และการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งเพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างภูมิหลังกับการเปิดรับสื่อ และเพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อกับการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมในพื้นที่จังหวัดระยองของพนักงานกลุ่มบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) การวิจัยนี้ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ พนักงานกลุ่มบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) จำนวน 4,972 คน ขนาดตัวอย่าง 320 คน ใช้การเลือกตัวอย่างแบบโควตา โดยแบ่งโควตาตามกลุ่มธุรกิจ และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยเก็บข้อมูลทางสื่อสังคมออนไลน์ ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการให้กลุ่มตัวอย่างกรอกแบบสอบถามด้วยตนเอง โดยทำเป็นแบบสอบถามออนไลน์ ไปโพสต์ที่สื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กและแอปพลิเคชัน LINE ทั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูลในวันที่ 1-30 มิถุนายน 2564 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมในระดับมาก และกลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านสื่อออนไลน์มากกว่าสื่อออฟไลน์ นอกจากนั้นกลุ่มตัวอย่างมีการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมในระดับปานกลาง โดยเข้าร่วมในวันที่จัดกิจกรรมสูงที่สุด รองลงมา คือ มีส่วนร่วมประเมินผล มีส่วนร่วมในการวางแผน และมีส่วนร่วมในการกำหนดประเด็น ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า พนักงานที่มีอายุงานและตำแหน่งงานที่ต่างกันจะมีการเปิดรับสื่อในแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และพนักงานที่สังกัดอยู่ในลุ่มธุรกิจที่แตกต่างกันจะมีการเปิดรับสื่อไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังพบว่า การเปิดรับสื่อมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม โดยสื่อออฟไลน์มีขนาดความสัมพันธ์สูงกว่าสื่อออนไลน์ ทั้งการมีส่วนร่วมในภาพรวม การมีส่วนร่วมกำหนดประเด็น การมีส่วนร่วมในการวางแผนและการมีส่วนร่วมประเมินผล ยกเว้นการเข้าร่วมในวันที่จัดกิจกรรมเท่านั้นที่พบว่า สื่อออนไลน์มีขนาดความสัมพันธ์สูงกว่าสื่อออฟไลน์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขวัญเรือน กิติวัฒน์. (2533). แนวทางความคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับพฤติกรรมสื่อสาร หน่วยที่ 1. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ณพัชร ประพันธ์พจน์. (2558). การมีส่วนร่วมในกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของพนักงาน บริษัท ยูนิลีเวอร์ไทย โฮลดิ้ง จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, คณะวิทยาการจัดการ, สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน.

นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2550). แนวคิดแนวทางการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

พรจิต สมบัติพานิช. (2547). โฆษณาในทศวรรษที่ 2000-2010 : การศึกษาถึงปัจจัยด้านสื่อที่มีต่อ รูปแบบโฆษณา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน, สาขาวิชาสื่อสารมวลชน.

พิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2559). การจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร: การสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise Leadership Center) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พีระ จิรโสภณ. (2537). หลักและทฤษฏีการสื่อสารในเอกสารการสอนชุดวิชาหลักและทฤษฏีการสื่อสาร หน่วยที่ 9-15. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ภาวิณี ตั้งสกุล. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจของพนักงานในการเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน). (รายงานโครงการเฉพาะบุคคลปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารองค์กร.

ยุพดี ฐิติกุลเจริญ (2536). ทฤษฏีการสื่อสาร: Communication Theory. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศศิเพ็ญ เพ็ชร์ขาว. (2558). การมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของพนักงานระดับปฏิบัติการธนาคารกรุงไทยจำกัด มหาชน ในจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรีและนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, คณะวิทยาการจัดการ, สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน.

สมบูรณ์ ใจประการ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของพนักงานในการดำเนินงานความรับผิดชอบต่อ สังคมด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย: กรณีศึกษาโรงไฟฟ้าในจังหวัดสระบุรี. (รายงานโครงการเฉพาะบุคคลปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสาธารณสุขศาสตร์, วิชาเอกการจัดการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย.

สุวพิชญ์ เหลืองประเสริฐ. (2555). การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมโครงการกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CSR) ของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดลพบุรี. (รายงานโครงการเฉพาะบุคคลปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารองค์กร.

อคิน รพีพัฒน์. (2547). การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนา. กรุงเทพฯ: ศูนย์การศึกษานโยบายสาธารณสุข.

Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1980). Effective Behavior in Organizations. New York: Ridchard D. Irwin Inc.

Uphoff, N. (1981). Rural Development Participation : Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Ithaca, NY: Rural Development Committee Center for International Studies, Cornell University Seminar. Washington D.C. : The World Bank.