ทัศนคติต่อออนไลน์อินฟลูเอนเซอร์กับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพของกลุ่มผู้บริโภคเจ็นเนอเรชันวาย

Main Article Content

พิมพ์ชนก ลิมปะพันธุ์
ประไพพิศ มุทิตาเจริญ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง “ทัศนคติต่อออนไลน์อินฟลูเอนเซอร์กับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพของกลุ่มผู้บริโภคเจ็นเนอเรชันวาย” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติกับการเปิดรับข่าวสารจากออนไลน์อินฟลูเอนเซอร์ พฤติกรรมการบริโภคและแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคเจ็นเนอเรชันวายหลังการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ผ่านแบบสอบถามออนไลน์ (Online Questionnaire) จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 309 คน เป็นกลุ่มเจ็นเนอเรชันวายทั้งเพศชายและเพศหญิง อายุระหว่าง 21-35 ปี ที่เคยเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากออนไลน์อินฟลูเอนเซอร์ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า การเปิดรับข่าวสารจากออนไลน์อินฟลูเอนเซอร์ไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติที่มีต่อออนไลน์อินฟลูเอนเซอร์ หลังการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพของกลุ่มผู้บริโภคเจ็นเนอเรชันวาย แต่ ทัศนคติที่มีต่อออนไลน์อินฟลูเอนเซอร์ หลังการเปิดรับข่าวสารกลับมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพตามคำแนะนำของออนไลน์อินฟลูเอนเซอร์ หลังการเปิดรับข่าวสารของกลุ่มผู้บริโภคเจ็นเนอเรชันวาย สอดคล้องกันกับแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคเจ็นเนอเรชันวายที่พบว่า ทัศนคติที่มีต่อออนไลน์อินฟลูเอนเซอร์ หลังการเปิดรับข่าวสารมีความสัมพันธ์กับแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคเจ็นเนอเรชันวาย หลังการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญญารินทร์ วัฒนเรืองนันท์. (2558). อิทธิพลของ Beauty Influencers ที่มีต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางของผู้บริโภคกลุ่มวัยทำงานตอนต้น ในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นภวรรณ คณานุรักษ์. (2563). พฤติกรรมผู้บริโภค. นนทบุรี: บริษัท กรีนแอปเปิ้ล กราฟฟิค พริ้นติ้ง จำกัด.

บุปผาชาติ กรุงศรีเมือง. (2558). การสื่อสารผ่านแบรนด์บุคคลออนไลน์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อ กรณีศึกษา เฟซบุ๊กแฟนเพจด้านความสวยงาม. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรพรรณ พรศิริประเสริฐ. (2555). อิทธิพลของลักษณะประชากรและความเป็นกลุ่มอ้างอิงของศิลปินเกาหลีต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์). มหาวิทยาลัยศรีนครรินทรวิโรฒ.

พิชญ์ชาญ เจือสุวรรณ์. (2558). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพของผู้บริโภควัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

เมทิกา ชาติน้ำเพ็ชร. (2557). กลุ่มอิทธิพลทางความคิดที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้า Search, Experience และ Credence ของ Generation B, Generation X และ Generation Y. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุดารัตน์ ศรีพงษ์. (2563). อิทธิพลของบุคลิกภาพของยูทูปและความน่าเชื่อถือของข้อมูล ต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของผู้ชมรายการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

อดิพล เอื้อจรัสพันธ์ุ. (2561). พฤติกรรมการใช้สื่อของกลุ่มเจ็นเนอเรชั่น เอ็กซ์ และเจ็นเนอเรชั่น วาย. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 6(1).

อรปวีณ์ แก้วประดับ. (2562). การศึกษามุมมองของผู้บริโภคที่มีต่อ MEGA INFLUENCER, MACRO INFLUENCER และ MICRO INFLUENCER บนแพลตฟอร์ม YOUTUBE กรณีศึกษาอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เผย 4 สาย Micro-Influencer ขวัญใจนักการตลาด เจาะลึกกลยุทธ์การใช้อินฟลูฯ ข้ามสาย ใครยังไม่เคยทำ...ต้องลอง. th.tellscore.com: (2562) สืบค้นจาก https://th.tellscore.com/th/Blog/Detail/top-4-micro-influencer.

admin. (2019). วิถีเฮลท์ตี้ชาวไทย เลือกอาหารและเครื่องดื่มสุขภาพมากกว่าออกกำลังกาย. positioningmag.com: https://positioningmag.com/1223643.

Marketing Oops!. (2016). เต็ดตรา แพ้ค เผยพฤติกรรมกลุ่มมิลเลนเนียล เกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่ม. marketingoops.com:https://www.marketingoops.com/reports/research/tetra-pak-research-millennials/.

Piyawut Thongprakob. (2020). ศูนย์วิจัยกสิกรคาดปี 63 เศรษฐกิจหดตัว -6.0% ทั้งปี จากความเสี่ยงทางเศรษฐกิจโลก. https://www.bltbangkok.com/news/27685/ .

Brittany Hennessy. (2018). Influencer Building your Personal Brand in the Age of Social Media. Kensington Publishing Corp.: CITADEL PRESS BOOKS.