การเปิดรับสื่อและความพึงพอใจต่องานประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อเฟซบุ๊กแฟนเพจศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “การเปิดรับสื่อและความพึงพอใจต่องานประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อเฟซบุ๊กแฟนเพจ ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ของเฟซบุ๊กแฟนเพจ ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง 2) ศึกษาความพึงพอใจต่องานประชาสัมพันธ์ของเฟซบุ๊กแฟนเพจ ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง 3) เพื่อศึกษาความแตกต่างของการเปิดรับและความพึงพอใจต่องานประชาสัมพันธ์ของเฟซบุ๊กแฟนเพจ ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง จำแนกตามลักษณะทางประชากร และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ และความพึงพอใจต่องานประชาสัมพันธ์ของเฟซบุ๊กแฟนเพจ ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง และ โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจ ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง จำนวน 278 คน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจศูนย์การเรียนรู้มีการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ของเฟซบุ๊กแฟนเพจ ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง อยู่ในระดับมากและมีความพึงพอใจต่อ งานประชาสัมพันธ์ของเฟซบุ๊กแฟนเพจ ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลางอยู่ในระดับมากเช่นกัน โดยผู้ติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจศูนย์การเรียนรู้ที่มีเพศ อายุ อาชีพ ภูมิลำเนา แตกต่างกัน จะมีการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ของเฟซบุ๊กแฟนเพจศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง ในด้านรูปแบบของเนื้อหา ด้านลักษณะของเนื้อหา ด้านรูปแบบกิจกรรมปฏิสัมพันธ์กับเพจเฟซบุ๊กและการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน ในลักษณะเดียวกันผลการวิจัยพบว่าผู้ติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจศูนย์การเรียนรู้ที่มีเพศต่างกัน จะมีความพึงพอใจต่องานประชาสัมพันธ์ของเฟซบุ๊กแฟนเพจศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลางไม่แตกต่างกัน สำหรับการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ของเฟซบุ๊กแฟนเพจ ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจต่องานประชาสัมพันธ์ของเฟซบุ๊กแฟนเพจ ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลางในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญ โดยเป็นความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูงมาก (r = 0.738)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความ
References
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (2564). เกี่ยวกับ กฟผ. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=140&Itemid=178
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ. (2561). Guide ti Learn เพลินการเรียนรู้ คู่มือท่องเที่ยวศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. 8 แห่งทั่วประเทศ (พิมพฺครั้งที่ 1). นนทบุรี : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย.
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ. (2563). กิจการ กฟผ.. นนทบุรี : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย.
พนม คลี่ฉายา. (2561). หลัก เทคนิค และวิธีการประเมินผลการประชาสัมพันธ์. นนทบุรี: บริษัท 21
เซ็นจูรี่ จำกัด.
ยุบล เบญจรงค์กิจ. (2534). การวิเคราะห์ผู้รับสาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. (2564). เกี่ยวกับเรา. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.egat.co.th/learningcenter/%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b9%87%e0%b8%99%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87-l4s/
สุกัญญา บูรณเดชาชัย. (2549.). การสื่อสารมวลชน แนวคิด ทฤษฎี และสถานการณ์ในประเทศไทย.
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน. (2562). แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 (PDP2018). สืบค้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564, จาก http://www.eppo.go.th/images/POLICY/PDF/PDP2018.pdf
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2563. กรุงเทพฯ. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
อรุณรัตน์ ชินวรณ์. (2553). สื่อประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภิชัจ พุกสวัสดิ์. (2556). การประชาสัมพันธ์เพื่อการสร้างภาพลักษณ์. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.