เกี่ยวกับวารสาร
วัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร
วารสารกฎหมายและสังคมรังสิตเป็นวารสารวิชาการของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าทางด้านกฎหมายและสังคมและเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการแก่นักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์และนักศึกษา เพื่อสนับสนุนการศึกษา การสอน การวิจัยและงานวิชาการในมหาวิทยาลัยรังสิต และจากสถาบันและภายนอก รวมทั้งนักวิชาการและผู้สนใจ โดยเน้นสาขานิติศาสตร์ และสาขาสังคมศาสตร์ เปิดรับบทความภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร
1) บทความวิจัย (Research Article)
Download Template บทความวิจัย
2) บทความวิชาการ (Academic Article)
Download Template บทความวิชาการ
กำหนดออกเผยแพร่วารสาร
กำหนดออกวารสารปีละ 3 ฉบับ เป็นราย 4 เดือน
ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม – เมษายน
ฉบับที่ 2 เดือน พฤษภาคม – สิงหาคม
ฉบับที่ 3 เดือน กันยายน – ธันวาคม
กระบวนการพิจารณาบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ
วารสารมีกระบวนการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิก่อนตีพิมพ์ โดยบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double blind peer-reviewed) ทั้งนี้บทความจากผู้นิพนธ์ภายในจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ภายนอกหน่วยงานที่จัดทำวารสาร และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้มข้นในการประเมินคุณภาพบทความก่อนออกตีพิมพ์เผยแพร่สู่สาธารณะ ในกรณีที่กองบรรณาธิการหรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิผู้ตรวจประเมินบทความมีความเห็นว่าควรแก้ไข กองบรรณาธิการจะส่งคืนเพื่อให้เจ้าของบทความแก้ไข โดยจะยึดถือข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิผู้ตรวจประเมินเป็นเกณฑ์หลัก และหรือขอสงวนสิทธิ์ที่จะพิจารณาไม่ตีพิมพ์ ในกรณีที่รายงานการวิจัย บทความทางวิชาการหรือบทความวิจัยไม่ตรงกับแนวทางของวารสารกฎหมายและสังคมรังสิต หรือไม่ผ่านการพิจารณาของกองบรรณาธิการหรือผู้เชี่ยวชาญ เมื่อบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ผู้เขียนจะได้รับลิ้งค์วารสารที่นำบทความลงตีพิมพ์ผลงานแล้ว พร้อมกับหนังสือรับรองการตีพิมพ์บทความในวารสารกฎหมายและสังคมรังสิต
อัตราค่าธรรมเนียมการเผยแพร่บทความ
บทความวิจัย, บทความวิชาการ (ทั้งบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) บทความละ 6,000 บาท
โดยผู้เขียนจะต้องชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ภายหลังจากที่กองบรรณาธิการพิจารณาบทความเบื้องต้น ความถูกต้องตามรูปแบบที่วารสารกำหนด และส่งให้กับผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 3 ท่าน ประเมินพิจารณาบทความ โดยการพิจารณารับบทความเพื่อลงตีพิมพ์หรือไม่นั้น อยู่ที่ดุลยพินิจของบรรณาธิการถือเป็นอันสิ้นสุด