มาตรการทางกฎหมายในการพัฒนาทางเลือกสำหรับผู้กระทำผิดคดียาเสพติด เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามข้อกำหนดกรุงเทพฯ

Main Article Content

กอบกูล จันทวโร
ธานี วรภัทร์
จิรวุฒิ ลิปิพันธ์
สุรีรัตน์ เจตตะพุก

บทคัดย่อ

ผู้หญิงมีบทบาทรับผิดชอบต่อครอบครัว ชุมชน สังคม มากและโดยที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากปัญหายาเสพติดอย่างรุนแรงในหลายลักษณะ ทั้งจากการผลิตยาเสพติดบางชนิดในประเทศเพื่อนบ้าน การลักลอบค้า รวมไปถึงการเสพ จึงทำให้ผู้หญิงบางส่วนถูกชักจูงให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดจนถูกจับกุมดำเนินคดีในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาซึ่งมีแนวโน้มว่าจะมีจำนวนมากขึ้นจนทำให้ผู้หญิงที่กระทำความผิด ถูกลงโทษและถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำหรือทัณฑสถานหญิง ถึงขั้นวิกฤตที่จำเป็นจำต้องรีบหาทางป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน รายงานการศึกษา ฉบับนี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์ 1.ศึกษาวิเคราะห์พันธะกรณีที่ประเทศไทยมีต่อข้อกำหนดระหว่างประเทศเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในการพัฒนาทางเลือกสำหรับผู้กระทำผิดคดียาเสพติด 2.ศึกษาวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายในการพัฒนาทางเลือกสำหรับผู้กระทำผิดคดียาเสพติดเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามข้อกำหนดกรุงเทพฯ ตามแนวทางของข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงและมาตรการที่ไม่ใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำความผิดหญิง (United Nations Rules for the treatment of women prisoners and non-custodial measures for women offenders) หรือ “ข้อกำหนดกรุงเทพฯ” (Bangkok Rules) โดยการศึกษามาตรการทางกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันที่จำเป็นจะต้องมีการนำมาบังคับใช้อย่างบูรณาการและเอื้อประโยชน์ต่อการปกป้อง คุ้มครองผู้หญิงตามแนวทางสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ให้มีประสิทธิภาพมากกว่าในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการเสนอให้มีการพัฒนามาตรการทางกฎหมายให้สอดคล้องกับการปฏิบัติของนานาอารยประเทศ และเพื่อให้ผู้หญิงที่กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดบางลักษณะที่ไม่ร้ายแรงได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม และเป็นธรรมมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน


          ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ให้มีการปรับปรุงการปฏิบัติหน้าที่หน่วยงานทุกหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาให้ใช้กฎหมายอย่างเต้ฒที่โดยเฉพาะกรณีที่ผู้หญิงต้องอยู่ในฐานะของผู้ต้องหาหรือจำเลยหรือผู้ต้องขัง นอกจากนั้นให้มีการเพิ่มกฎหมายที่เป็นมาตรการพิเศษต่างๆ ที่ประเทศไทยยังไม่มี หรือยังไม่ได้ดำเนินการ ได้แก่ มาตรการลดทอนการเป็นความผิดทางอาญา (Decriminalization) มาตรการเบี่ยงเบนคดี (Diversion) ออกจากกระบวนการยุติธรรม  มาตรการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด (Harm Reduction)  การลดทอนความผิดและโทษทางอาญา (Depenalization)

Article Details

How to Cite
จันทวโร ก. ., วรภัทร์ ธ. ., ลิปิพันธ์ จ. ., & เจตตะพุก ส. . (2021). มาตรการทางกฎหมายในการพัฒนาทางเลือกสำหรับผู้กระทำผิดคดียาเสพติด เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามข้อกำหนดกรุงเทพฯ. วารสารกฎหมายและสังคมรังสิต, 3(3), 44–59. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/RJL/article/view/101
บท
บทความวิจัย