การจัดการความขัดแย้งและการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีการเจรจาต่อรอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเจรจาต่อรอง เป็นพื้นฐานทางวิถีปฏิบัติของมนุษย์ในการจัดการความขัดแย้งต่างๆ ที่มีขึ้นในการดำรงชีวิตในทุกๆ เรื่องอันเป็นไปตามธรรมชาติของมนุษย์มาช้านานแล้ว นอกจากนั้นยังเป็นวิธีการระงับข้อพิพาทต่าง ๆ เช่น ข้อพิพาททางแพ่งและพาณิชย์ อาญา มหาชน หรือแม้แต่ข้อพิพาทระหว่างประเทศ และไม่ว่าในขั้นตอนใด ไม่ว่าก่อนการดำเนินคดีความในระบบของรัฐ หรือ เมื่อมีการดำเนินกระบวนการตามบริบทกฎหมายที่รัฐจัดให้แล้วก็ตาม การเจรจาต่อรองก็ยังมีความสำคัญและยังต้องเป็นศาสตร์และศิลป์ ในการดำเนินการและให้เป็นไปตามขั้นตอนและกระบวนการจัดการนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิธีการเจรจาต่อรอง เป็นวิธีดั้งเดิมตามธรรมาชาติของมนุษย์ที่เกิดจากมนุษย์ทั้งสองฝ่ายหรือกว่านั้นที่ขัดแย้งกันหรือมีข้อพิพาทกัน มีโอกาสได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ปรับเปลี่ยนข้อมูล ประโยชน์ ความพึงพอใจ ระหว่างกันโดยตรง โดยปราศจากการแทรงแซงจากบุคคลอื่นหรือระบบใด ๆ ที่มีการจัดให้มีขึ้นไม่ว่าจากภาคเอกชน เช่น การไกล่เกลี่ย การอนุญาโตตุลาการ หรือภาครัฐ เช่น ระบบศาล สถาบันอนุญาโตตุลาการต่างๆ เป็นต้น การเจรจาต่อรองถ้าสามารถยุติความขัดแย้งได้จึงเป็นการยุติความขัดแย้งที่ค่อนข้างจะทำให้คู่พิพาทสิ้นสุดความขัดแย้งหรือข้อพิพาทได้จริง ข้อสำคัญจึงให้ความเป็นธรรมที่ได้รับความพึงพอใจทั้งสองฝ่ายด้วยตัวเขาเองเป็นคนกำหนดและตกลงทุกอย่างด้วยตนเอง รักษาข้อมูลเรื่องต่างๆ ไม่ให้เผยแพร่ไปอันอาจก่อให้เกิดผลกระทบหรือความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นได้ด้วย กับทั้งยังเป็นวิธีการที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนอะไรมาก ประหยัดค่าใช้จ่าย ค่าดำเนินการอื่นๆ ไปได้มาก กับทั้งยังสะดวกรวดเร็วทันใจอีกด้วย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. กรุงเทพมหานคร: บ. ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด(มหาชน).
อรวรรณ สุทธิพิทักษ์. (2551). การบริหารความขัดแย้งและเทคนิคการเจรจาต่อรอง. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Anne Laws. (2006). Meetings. 4th ed. UK: Summertown Oxford.
Anne Laws. (2006). Meetings. 5th ed. UK: Summertown Oxford.
Henry Campbell Black. (1979). Black’s Law Dictionary. USA: West Publishing.
Ken Langdon. (2006). Succeed at Negotiating. (ว. อลอนโซ, Trans.) London: Dorling Kindersley Limited.
Peter Pronovost and Eric Vohr. (2010). Safe Patients, Smart Hospitals. Ohio USA: A Plume Book.
Phrakruvinaidhon Suriya Kongkawai and Thanee Vorapatr. (2021). Editing of Prisoners’ Thoughts and Behaviours form Benjakhan System. Turkish Journal of Physiotherapy and Rehabilitation, 38977-38808.
Raout Colinvaux. (1984). The Law of Insurance. 5th ed. London: Sweet&Maxwell.
Stephen B Goldberg, Eric D. Green and Frank A. Sander. (1985). Dispute Resolution. Boston, USA: Little Brown and Company.