การมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองของประชาชนใน สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

Main Article Content

บุญเรือน เนียมปาน
สุวรรณ วงษ์การค้า

บทคัดย่อ

          การมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีของประเทศชาติและสังคมโลก ความสำคัญของการมีส่วนร่วมทางการเมืองมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาระบอบ ประชาธิปไตย รวมทั้งสิทธิและภาระหน้าที่ของประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองตาม ช่องทางและกระบวนการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกำหนดไว้ ซึ่งหากประชาชน มีความเข้าใจในกระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมือง พร้อมทั้งตื่นตัวมีส่วนร่วมพัฒนาทางการเมืองมากขึ้นก็จะส่งผลต่อประเทศชาติให้ก้าวหน้าและยั่งยืน


          ในปัจจุบันสาธารณรัฐฟิลิปปินส์เป็นประเทศเอกราชที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ทำให้ประสบภัยจากแผ่นดินไหวและพายุไต้ฝุ่น แต่มีทั้งความหลากหลายทางชีวภาพ และทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ นับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในเอเชีย และเป็นประเทศมีประชากรมากที่สุดในอันดับที่ 12 ของโลก มีประชากรมากเกือบ 100 ล้านคน สาธารณรัฐฟิลิปปินส์เป็นสมาชิกจัดตั้งองค์การสหประชาชาติ องค์การการค้าโลก สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย ปัจจุบันมีระบบเศรษฐกิจที่เปลี่ยนผ่านจากระบบพึ่งพิงภาคเกษตรกรรมเป็นระบบพึ่งพิงภาคบริการและภาคการผลิต เป็นประเทศที่สถานะทางเศรษฐกิจดีกว่าประเทศใกล้เคียงในทางเศรษฐศาสตร์มหภาค และยังมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง โดยมีตัวบ่งชี้ที่สำคัญคือ การพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมระยะเริ่มแรก ได้รับการพิจารณาว่าเป็นตลาดเกิดใหม่ (Emerging market) จึงทำให้มีความน่าสนใจที่จะศึกษาว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในทางการเมืองของประชาชน และมีแนวคิดการบริหารปกครองประเทศอย่างไร เพื่อที่จะนำประเทศไปสู่ความเจริญ พัฒนาเศรษฐกิจ ประสบผลสำเร็จอย่างต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้

Article Details

How to Cite
เนียมปาน บ., & วงษ์การค้า ส. (2022). การมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองของประชาชนใน สาธารณรัฐฟิลิปปินส์. วารสารกฎหมายและสังคมรังสิต, 4(3), 58–74. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/RJL/article/view/1941
บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงการต่างประเทศ. (2565). สาธารณรัฐฟิลลิปินส์. เรียกใช้เมื่อ 29 กันยายน 2565 จาก https://www.mfa.go.th/th/content/5d5bcc1c15e39c3060009

ชวภณ สารข้าวคำ และ อารีย์วรรณ อ่วมตานี. (2561). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารพยาบาลศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(30(1)), 1-10.

ฐากูร ศิริยุทธ์วัฒนา. (2562). กฎหมายรัฐธรรมนูญ:หลักพื้นฐานแห่งรัฐธรรมนูญและระบอบประชาธิปไตย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

ไทยพับลิก้า. (2565). เลือกตั้งฟิลลิปินส์ 2022. เข้าถึงได้จาก https://thaipublica.org/2022/05/marcos-jr-set-to-win-philippines-presidential-2022-election

บุญเรือน เนียมปาน. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี. มหาจุฬานครทรรศน์วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช. 8(12), 305.

พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์ และคณะ. (2558). รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาวิจัยเปรียบเทียบระบอบการเมืองการปกครอง การเลือกตั้งพรรคการเมือง และองค์กรจัดการเลือกตั้งของกลุ่มประเทศอาเซียน. มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพมหานคร: บริษัทจรัลสนิทวงศ์การพิมพ์จำกัด.

วิกิพิเดีย. ( 2565). ประธานาธิบดีฟิลิปินส์. เรียกใช้เมื่อ 17 ตุลาคม 2565 จาก Wikipedia: https://th.wikipedia/ประธานาธิบดีฟิลิปินส์.[ออนไลน์]. (ตุลาคม 2565, 17). ดัชนีประชาธิปไตย

สติธร ธนานิธิโชติ. (3 ธันวาคม 2564). ความต่อเนื่องของประชาธิปไตยในฟิลิปปินส์ตั้งแต่ค.ศ.1986. เข้าถึงได้จาก https://Thaijo: file:///C:/Users/ADMIN/Downloads/02+pdf

สมชาติ เจศรีชัย. (2559). การเมือง-การเลือกตั้งไทย และประเทศในอาเซียน Politics and Elections in ASEAN Countries. สถาบันนโยบายศึกษา ภายใต้มูลนิธิส่งเสริมนโยบายศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พี.เพรส จำกัด.

สมยศ เชื้อไทย. (2551). ความรู้กฎหมายทั่วไป คำอธิบายกฎหมายแพ่ง : หลักทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่15. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

สำนักภาษาต่างประเทศ. (2564). ระบบรัฐสภาสาธารณรัฐฟิลิปปินส์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

สิริพรรณ นกสวน สวัสดี และ คณะ. (2554). รายงานวิจัยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2554 : การศึกษาบทบาทพรรคการเมือง และพฤติกรรมและการตัดสินใจเลือกตั้งของประชาชนในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง. ใน รายงานวิจัยโดยคณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสนอสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.

สีดา สอนศรี. (2565). จับตาการเมืองฟิลิปปินส์. เข้าถึงได้จาก The standard: https://thestandard.co/philippine-politics-in-bongbong-marcos-era

สุวรรณ วงษ์การค้า. (2564). แนวทางการจัดทากฎหมายต้นแบบว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระดับท้องถิ่น. ใน ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต (หน้า 155). ปทุมธานี: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

Al Jazeera Staff. (2565). Why the 2022 Philippines election is so significant. Retrieved from https : //www.aljazeera.com/news/2022/5/8/why-the-2022-philippines-election-is-so-significant

Berman Even and M. Shamsul Haque. (2015). Asain Leadership in Policy and Governance (Vol. Volume 24). Howard House Wagon. UK: Emerald Group Publishing Limited.

Wayback Machine. (2565). Republic of Philippines. Retrieved from https://archive.org/web/web.php