ความพึงพอใจต่อสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของเรือนจำหญิง ในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจต่อสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของเรือนจำ และความพึงพอใจต่อสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของเรือนจำ การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ต้องขังหญิงในประเทศทั้งหมด 2,499 คน จากเรือนจำ 20 แห่งทั่วประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้แบ่งความพึงพอใจต่อสาธารณูปโภคพื้นฐานในเรือนจำ ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ความพึงพอใจต่อปัจจัยพื้นฐาน และ ความพึงพอใจต่อ สถานที่ในเรือนจำ
ผลการศึกษาพบว่าโดยรวมแล้วผู้ต้องขังหญิงมีความพึงพอใจต่อสาธารณูปโภคพื้นฐานของเรือนจำทั้งสองด้านในระดับปานกลาง ในส่วนของปัจจัยพื้นฐาน พบว่าผู้ต้องขังหญิงพึงพอใจต่อปัจจัยด้านน้ำดื่มในเรือนจำมากที่สุด และ พึงพอใจต่อปัจจัยด้านยารักษาโรค น้อยที่สุด ส่วนความพึงพอใจต่อสถานที่ในเรือนจำ พบว่า ผู้ต้องขังหญิงมีความพึงพอใจต่อห้องสมุด มากที่สุด และมีความพึงพอใจต่อ สถานที่ส่วนกลาง เช่น ที่พักผ่อน ที่จัดกิจกรรม น้อยที่สุด เมื่อทดสอบความแตกต่างของข้อมูลส่วนบุคคลและความพึงพอใจต่อปัจจัยพื้นฐาน และ ความพึงพอใจต่อสถานที่ในเรือนจำ พบว่า กลุ่มอายุที่แตกต่างกันจะมีความพึงพอใจต่อปัจจัยพื้นฐาน และ ด้านสถานที่ในเรือนจำต่างกัน ส่วนระยะเวลาที่อยู่ในเรือนจำ พบว่า ผู้ต้องขังที่อยู่ในเรือนจำระยะเวลา 2 – 3 ปีจะมีความพึงพอใจต่อปัจจัยพื้นฐานมากกว่าผู้ต้องขังหญิงที่อยู่เรือนจำ 4 ปีขึ้นไป สถานที่ในเรือนจำ พบว่า ระยะเวลาในเรือนจำไม่ส่งผลความแตกต่างด้านความพึงพอใจต่อสถานที่ในเรืองจำ ประเภทของผู้ต้องขัง พบว่า ผู้ต้องขังที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีจะมีความพึงพอใจต่อสาธาณูปโภค ทั้งปัจจัยพื้นฐานและสถานที่น้อยกว่าผู้ต้องขังที่เป็นนักโทษเด็ดขาด ส่วนประเด็นประเภทของเรือนจำ พบว่า ผู้ต้องขังที่อยู่ในเรือนจำทั้งสองประเภทไม่มีความแตกต่างกันในระดับความพึงพอใจ ทั้งด้านปัจจัยพื้นฐาน และด้านสถานที่ในเรือนจำ ผลการศึกษาสะท้อนว่า ควรดำเนินการด้านการบริหารจัดการด้านการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานให้เพียงพอต่อจำนวนผู้ต้องขังในเรือน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เพชรบุรี. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 4(3), 309-330.
จิรวรรณ ทิพย์สิงห์. (2555). ความพึงพอใจของผู้ต้องขังที่มีต่อการจัดสวัสดิการของทัณฑสถานหญิงธนบุรี. ใน สารนิพนธ์ไม่ได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
ฉัตรชัย คงสุข. (2535). ความพึงพอใจของผู้รับบริการของแผนกคลังพัสดุฝ่ายภัตตาคารและโภชนาการ ภายในประเทศ บริษัท การบินไทยจํากัด (มหาชน). ใน สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นัทธี จิตรสว่าง. (2556). แนวทางการขับเคลื่อนข้อกำหนดกรุงเทพ (Bangkok Rules) ไปสู่การปฏิบัติในงานราชทัณฑ์ของไทย. เรียกใช้เมื่อ 27 กันยายน 2563 จาก https://www.gotoknow.org/posts/533423
ประกายดาว ดํารงพันธ์. (2536). ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการด้านสินเชื่อ: กรณีศึกษาศูนย์ธุรกิจสะพานขาว ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน). ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. คณะเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปรียากร วงศ์อนุตรโรจน์. (2535). ปัจจัยหรือองค์ประกอบที่ใช้เป็นเครื่องมือบ่งชี้ถึงปัญหาที่เกี่ยวกับความพึงพอใจในการทำงาน (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิชัย เหลืองธรรมชาติ. (2531). ความพึงพอใจและการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมใหม่ของประชากรในหมู่บ้าน อพยพโครงการเขื่อนรัชชประภา (เชี่ยวหลาน) จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วิรุฬ พรรณเทวี. (2542). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของหน่วยงานกระทรวงมหาดไทยในอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิริเพ็ญ จันทร์นิยม. (2561). ความพึงพอใจของผู้ต้องขังชายที่มีต่อการจัดสวัสดิการ ด้านการพัฒนาจิตใจของกรมราชทัณฑ์ศึกษาเฉพาะกรณีเรือนจำกลางเขาบิน จังหวัดราชบุรี. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 10(1), 69-76.
สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). Bangkok Rules: หลักการทั่วไป. เข้าถึงได้จาก https://www.tijbangkokrules.org/th
สำราญ ยี่ซ้าย, กันตภณ หนูทองแก้ว, พระครูธรรมจักรเจติยาภิบาล, พระณัฐพงษ์ สิริสุวณฺโณ (จันทร์โร), และพระณัฐพงษ์ ญาณเมธี (ไกรเทพ). (2561). ความพึงพอใจของผู้ต้องขังที่มีโครงการ กินอิ่ม – นอนอุ่น: ศึกษาเฉพาะกรณีเรือนจำจังหวัดสงขลา. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 3(2), 1-18.
United Nations Office on Drug and Crime. (2018). Introductory handbook on the prevention of recidivism and the social reintegration of offenders: Criminal justice handbook series. France: United Nations office.