การใช้บุหรี่จากพืชกัญชาทดแทนบุหรี่ที่มีสารนิโคติน
Main Article Content
บทคัดย่อ
เป็นที่ประจักษ์ทั่วกันถึงพิษภัยของการสูบหรี่จากใบยาสูบที่มีสารนิโคตินก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้สูบบุหรี่เองและผู้ที่สูดดมควันบุหรี่ ก่อให้เกิดโรคมะเร็งและโรคอื่นๆ ตามมามากมายอันเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของบุคคลและบุคคลรอบข้าง ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กและเยาวชนและการพัฒนาของสังคมที่ได้รับผลกระทบ จากสภาพปัญหาดังกล่าว งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพและภาคสนาม โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัย คือ 1.เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้บุหรี่จากพืชกัญชาทดแทนการใช้ใบยาสูบเพื่อการลดอันตรายจากสารนิโคติน 2.เพื่อศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบต่างประเทศที่ทำการศึกษาการใช้บุหรี่จากพืชกัญชาทดแทนการใช้ใบยาสูบเพื่อการลดอันตรายจากสารนิโคติน ซึ่งมีสมมุติฐานว่าน่าจะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ด้วยการใช้สารทดแทนที่ให้ผลการเสพที่ใกล้เคียงกันแต่มีอันตรายน้อยกว่า
จากการศึกษาพบว่าประเทศโดยเฉพาะในบุโรปภาคพื้น เช่น สวิตเซอร์แลนด์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นต้น ได้มีการใช้พืชกัญชาเป็นสารทดแทน การเสพติดประเภทการสูบบุหรี่ กล่าวคือมีการผลิตบุหรี่กัญชาออกจำหน่าย เพื่อให้ผู้บริโภคใช้ทดแทนบุหรี่จากใบยาสูบที่มีการนิโคตินซึ่งมีอันตรายต่อสุขภาพ โดยให้ความสรรพคุณที่ใกล้เคียงกัน เป็นการลดอันตรายจากการใช้สารเสพติดที่ก่ออันตราย ซึ่งเป็นทั้งมาตรการป้องกันและการบำบัดรักษา ไปพร้อมๆ กัน จึงมีข้อเสนอแนะว่า ควรปรับนโยบายเกี่ยวกับการใช้สารเสพติดของประเทศไทยและมีการตรากฎหมายที่อนุญาตให้มีการใช้สารเสพติดประเภทพืชกัญชาผลิตบุหรี่กัญชาเพื่อให้ผู้ที่ยังต้องพึ่งพาการสูบบุหรี่อยู่ใช้ทำแทนได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ธานี วรภัทร์. (2562). ผลกระทบทางเศรษฐกิจของไทยในสถานะผู้เสพสารเสพติดประเภทกัญชา. มหาจุฬานาครทรรศน์, 6(5), 2637-2650.
บัวพันธ์ พรหมพักพิง และคณะ. (2550). เศรษฐศาสตร์การเมืองเรื่องการควบคุมบุหรี่. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิจัยและการจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ. (ศจย.).
มานพ คณะโต และคณะ. (2559). รายงานการวิจัยเอกสารนโยบายและการจัดการปัญหากัญชา กรณีศึกษาประเทศอังกฤษและประเทศสหรัฐอเมริกา. ภาควิชาการสารเสพติด (ภวส): บ.จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
สมยศ กิตติมั่นคง. (2559). กัญขา คือยารักษามะเร็ง. กรุงเทพมหานคร: โก กรีน.
สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. (2564). เข้าถึงได้จาก CHULA CENCER รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา: www.chulacancer.net
Jeff, Grissler. (2014). Marlijuana Business: How to Open and Successfully Run a Marijuana Dispensary and Grow Facility. New York USA: Marlijuana Business Books Publishing.
Julie, Holland. (2008). The Pot Book: A Complete Guide to Cannabis. California USA: Quick American A Division of Quick Trading Co.
Michael, Backes. (2017). Cannabis Pharmacy. New York USA: Black Dog & Leventhal Publishers.
Uwe, Blesching. (2015). The CANNABIS HEALTH INDEX. California USA: North Atlantic Books.