การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กับเป้าหมายโลกปี ค.ศ.2030

Main Article Content

เศรษฐบุตร อิทธิธรรมวินิจ

บทคัดย่อ

          ความหลากหลายทางชีวภาพมีความสำคัญต่อสังคม เศรษฐกิจ และชุมชน ซึ่งได้มีความตระหนักเพิ่มขึ้นว่ามีคุณค่าอย่างมากต่อมนุษยชาติทั้งในปัจจุบันและอนาคต  การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพก่อให้เกิดผลกระทบระดับประเทศ ระดับภูมิภาคและระดับโลก  ประเทศต่างๆ ได้ประสบปัญหาการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ  การประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพครั้งที่ 15 จัดขึ้นที่เมืองคุนหมิง ประเทศจีนในปี พ.ศ. 2564 และที่เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดาในปี พ.ศ. 2565 ได้รับรองกรอบงานคุนหมิง-มอลทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก โดยกำหนดเป้าหมายการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพสำหรับเป็นแผนการดำเนินงานตามพันธกรณีของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อนำไปสู่การบรรลุพันธกิจ ซึ่งประกอบด้วยเป้าหมายโลกปี ค.ศ. 2030 ได้แก่การลดภัยคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและการแบ่งปันผลประโยชน์เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน และเครื่องมือและการแก้ปัญหาการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ  ประเทศภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพจึงมีความผูกพันต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายโลกดังกล่าว


         


บทความนี้ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรป่าไม้ซึ่งได้แก่ พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562  และวิเคราะห์ว่า การบังคับใช้กฎหมายในปัจจุบันของประเทศไทยส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมายโลกปี ค.ศ. 2030 หรือไม่  ผลการวิเคราะห์พบว่า การบังคับใช้กฎหมายสามารถทำให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายโลกได้บางเป้าหมายโดยเฉพาะด้านการอนุรักษ์และด้านการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืน แต่ยังไม่อาจบรรลุเป้าหมายในด้านการเพิ่มพื้นที่ความหลากหลายทางชีวภาพและด้านการส่งเสริมการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างยุติธรรมและเท่าเทียม  ทั้งนี้ บทความนี้ได้มีข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทยในการบรรลุเป้าหมายโลกอีกด้วย

Article Details

How to Cite
อิทธิธรรมวินิจ เ. (2023). การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กับเป้าหมายโลกปี ค.ศ.2030. วารสารกฎหมายและสังคมรังสิต, 5(3), 1–18. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/RJL/article/view/3662
บท
บทความวิชาการ

References

เบญจมาภรณ์ วัฒนธงชัย. (2566). การประชุมระดับโลกด้านความหลากหลายทางชีวภาพ CBD COP15: เร่งฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน. วารสารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 12(1), 6-17.

พงศ์บุณย์ ปองทอง และคณะ. (2558). การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : ทรัพยากรป่าไม้และความหลากหลายทางชีวภาพ. รัฏฐาภิรักษ์, 57(2), 20-30.

พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542. (2542). ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 118ก (หน้า 15-35).

พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484. (2484). ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58 (หน้า 1417-1451).

พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ.2562. (2562). ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 71ก (หน้า 71-103).

พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507. (2507). ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 81 ตอนที่ 38 (หน้า 263-281).

พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562. (2562). ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 71ก (หน้า 145-165).

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2554). ความหลากหลายทางชีวภาพในป่าไม้ : ขุมทรัพย์แห่งชีวิต. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (5 กันยายน 2566). กรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออล 23 เป้าหมาย (2030 Mission). เข้าถึงได้จาก https://chm-thai.onep.go.th/?p=8476

สำนักจัดการที่ดินป่าไม้ กรมป่าไม้. (2564). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อมูลสภาพพื้นที่ป่าไม้ ปี พ.ศ.2564. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

สำนักจัดการที่ดินป่าไม้ กรมป่าไม้. (2565). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อมูลสภาพพื้นที่ป่าไม้ ปี พ.ศ.2565. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

CBD. (2023, September 5). 2030 Targets. Retrieved from Secretariat of the Convention on Biological Diversity: https://www.cbd.int/gbf/targets/

Convention on Biological Diversity. (1992, June 5). Secretariat of the Convention. Retrieved from https://www.cbd.int/doc/legal/cbd-en.pdf

Glowka, L., et al. (1994). A Guide to the Convention on Biological Diversity. Cambridge: IUCN.

IUCN-WCPA Task Force on OECMs. (2019). Recognising and Reporting Other Effective Area-based Conservation Measures. Gland: IUCN.

OECD. (2002). Integrating the Rio Conventions into Development Co-operation. Paris: OECD Publishing.