ความเท่าเทียมทางเพศในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา เป็นฐานความผิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายและความน่าตำหนิ ไม่ว่าผู้กระทำความผิดหรือผู้เสียหายจะเป็นเพศใด ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา จึงควรเป็นฐานความผิดที่ใช้บังคับทั่วไป ไม่ใช้บังคับแก่กลุ่มบุคคลเพศใดเพศหนึ่งเฉพาะเจาะจง อย่างไรก็ดี ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ซึ่งถูกแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 27) พ.ศ. 2562 กลับยกเลิกคำนิยามของการกระทำชำเรา ซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 276 วรรคสอง (เดิม) และนำไปบัญญัติไว้ในมาตรา 1(18) อันเป็นบทนิยามแห่งบทบัญญัติทั่วไป โดยกำหนดให้การกระทำชำเรามิได้หมายถึงการ “บังคับให้ล่วงล้ำ” อีกต่อไป โดยการตัดคำว่า “กระทำกับ” ออกไปและเปลี่ยนเป็นการใช้คำว่า “ล่วงล้ำ” และตัดข้อความว่า “หรือการใช้สิ่งอื่นใดกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่น” ออกไป โดยมิได้กล่าวถึงอวัยวะเพศเทียมตามกฎหมายไว้แต่อย่างใด ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา จึงกลายเป็นฐานความผิดที่ผู้กระทำความผิดเป็นได้แต่เพียงชาย โดยมีองคชาติของชายโดยกำเนิดเป็นอวัยวะเพศอันเป็นวัตถุแห่งการกระทำและมีช่องคลอดของหญิงโดยกำเนิดเป็นอวัยวะเพศอันเป็นวัตถุที่ถูกกระทำความผิด
จากการศึกษาเชิงเอกสาร โดยการเปรียบเทียบหลักเกณฑ์กฎหมายอาญาในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราของประเทศอังกฤษและเวลส์ ประเทศอินเดีย ประเทศสวีเดน และประเทศแคนาดา ตลอดจนศึกษาหลักความชัดเจนแน่นอนของกฎหมายอาญา หลักการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หลักความเสมอภาคทางเพศ และหลักการกำหนดชื่อฐานความผิดอย่างยุติธรรม ผลการศึกษาพบว่า ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราควรได้รับการแก้ไขโดยกำหนดให้การกระทำชำเรา หมายความรวมถึง “การบังคับให้ล่วงล้ำ” และกำหนดคำนิยามศัพท์ของคำว่า “อวัยวะเพศ” ขึ้น ให้อวัยวะเพศอันเป็นวัตถุแห่งการกระทำและที่ถูกกระทำ หมายถึง “อวัยวะเพศเทียมซึ่งผ่านกระบวนการผ่าตัดแปลงเพศด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์” โดยการตราไว้เป็นบทนิยามศัพท์แห่งบทบัญญัติทั่วไปในประมวลกฎหมายอาญา
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
คณพล จันทร์หอม. (2565). คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคความผิด 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
นงศิรนารถ กุศลวงษ์. (2557). ประสบการณ์ทางความคิดเรื่องการข่มขืนกระทำชำเราในกฎหมายอังกฤษ The rape conceptual experience in English law. วารสารกระบวนการยุติธรรม, 7(2), 45-59.
รณกรณ์ บุญมี. (2565). เอกสารประกอบการบรรยาย: ความผิดเกี่ยวกับเพศ: ข่มขืนกระทำชำเรา. กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วัชรินทร์ สังสีแก้ว. (2548). กฎหมายยอมรับสถานะผู้ผ่าตัดแปลงเพศของประเทศในทวีปยุโรป เงื่อนไข : สถานะทางกฎหมายภายหลังการแปลงเพศ. บทความวิชาการ อัยการนิเทศ.
สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์. (2551). การตีความกฎหมายอาญา. ใน รายงานผลงานการอบรมหลักสูตร “ผู้พิพากษาผู้บริหารในศาลชั้นต้น” รุ่นที่ 6. วิทยาลัยข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม.
อโนชา ชีวิตโสภณ. (2566). คำพิพากษาที่ดี. สืบค้น 15 มิถุนายน 2566 จาก http://www.supremecourt.or.th/storage/article_pdf/09362220230524-คำพิพากษาที่ดี-ตอนที่-1.pdf
Alphonso, C. & Farahbaksh, M. (2009). Canadian law only changed 26 years ago. Retrieved 30 July 2022 from https://www.theglobeandmail.com/news/ world/canadian-law-only-changed-26-years-ago/article1150644/
Amnesty International. (2020). Criminalization and Prosecution of Rape in Sweden. Retrieved 15 May 2022 from https://www.amnesty.org/en/ documents/eur42/2426/202 0/en/
Andersson, U. (2021). The body and the deed. Places of rape. in Swedish court narratives. Gender and Women’s Studies, 4(1), 1-12.
Batha, E. (2020). Rape conviction rates rise 75% in Sweden after change in the law. Retrieved 15 May 2022 from https://www.reuters.com/article/us-sweden-crime-rape-law-trfn-idUSKBN23T2R3
Biesenthai, L. (1991). Justice research note sexual assault legislation in Canada: an evaluation. Department of Justice Canada. Retrieved 15 May 2022 from https://www.ojp.gov/pdffiles1/Digitization/140416NCJRS.pdf
Biswakarma, S. (2020). Indian rape laws in a nutshell. Retrieved 20 May 2022 from https://blog.ipleaders.in/indian-rape-laws-nutshell/
Chalmers, J. & Leverick, F. (2008). Fair Labelling in Crimainal Law. The Modern Law Review, 71(2), 217-246.
Dale, A. (2021). Canada: rape as part of broader definitions of sexual assault. 47th regular session of the human rights council. Retrieved 15 May 2022 from https://www.ohchr.org/sites/default/files/Documents/Issues/Women/SR/Call_on_Rape/AmandaDale.pdf
Government of Canada. (2009). An estimation of the economic impact of violent victimization in Canada 2009. Retrieved 15 May 2022 from https://www.justice.gc.ca/eng/rp-pr/cj-jp/victim/rr14_01/conc.html
McKeever, N. (2019). Can a Woman Rape a Man and Why Does It Matter?. Criminal Law and Philosophy, 13, 599–619. https://doi.org/10.1007/s11572-018-9485-6
Randall, M. (2011). The Treatment of Consent in Canadian Sexual Assault Law. The equality effect. Retrieved 15 May 2022 from https://theequalityeffect.org/ pdfs/ConsentPaperCanadaMR.pdf
Safvi, S. (2018). Men can be raped, and women can rape why Indian laws need to change for a more equal society. Retrieved 20 May 2022 from https://www.dailyo.in/variety/rape-laws-sexual-assault-section-377-sodomy-men-victims-of-rape-asia-argento-rahul-raj-singh-metoo-27360
Sengar, S. (2021). Can women be charged for rape in India?. Retrieved 30 June 2022 from https://www.indiatimes.com/explainers/news/can-women-be-charged-for-rape-in-india-556642.html
Somerville, M. & Gall, G. (2012). Sexual assault. The Canadian encyclopedia. Retrieved 15 May 2022 from https://www.thecanadianencyclopedia.ca/ en/article/sexual-assault
United Nations. (2021). A framework for legislation on rape (Model Rape Law): report of the Special Rapporteur on Violence against Women, Its Causes and Consequences. Retrieved 20 May 2022 from https://digitallibrary.un. org/record/3929055
Vipra, J. (2013). A Case for gender-neutral rape laws in India. In Researching Reality Internship Centre for Civil Society Working Paper No 286. Retrieved 20 May 2022 from https://ccs.in/sites/default/files/2022-10/A%20Case%20for%20 Gender%20Neutral%20Rape%20Laws%20in%20India.pdf