มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ

Main Article Content

ธนโชค แสงสุรินทร์
อภิชัย วิลาวรรณ
อธิวัฒน์ อภิรัตน์ธนารัฐ

บทคัดย่อ

          การคุกคามทางเพศในสถาบันอุดมศึกษามีลักษณะของการกระทำแบ่งได้เป็น 5 ลักษณะ ได้แก่ 1) การกระทำทางสายตา 2) การกระทำทางวาจา 3) การกระทำทางกาย 4) การกระทำผ่านอุปกรณ์การสื่อสาร และ 5) การกระทำอื่นใดที่แสดงออกในทางเพศ ซึ่งเป็นความเสียหายที่ส่งผลกระทบต่อนักศึกษาทั้งทางร่างกาย จิตใจ การเรียนและทางสังคม อันเป็นปัญหาที่สถาบันอุดมศึกษาและภาครัฐจะต้องป้องกันแก้ไขและช่วยเหลือนักศึกษาให้ได้มากที่สุด บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางวินัยตามระเบียบข้อบังคับของสถาบันอุดมศึกษาที่เกี่ยวกับการคุกคามทางเพศที่นำมาใช้ป้องกันแก้ไขปัญหาการคุกคามทางเพศต่อนักศึกษา จึงได้พบว่ามาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุกคามทางเพศในสถาบันอุดมศึกษานั้นมีปัญหาด้านการใช้ดุลพินิจของผู้บังคับใช้กฎหมายในทางที่เป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิดได้ง่ายและการพิจารณาลงโทษผู้กระทำความผิดในบางกรณีอาจไม่เหมาะสมกับลักษณะของการกระทำความผิดและส่งผลให้นักศึกษาไม่ได้รับความเป็นธรรม เนื่องจากมาตรการทางวินัยตามระเบียบข้อบังคับของสถาบันอุดมศึกษานั้นไม่ได้กำหนดคำนิยามและลักษณะของการคุกคามทางเพศให้ชัดเจนและไม่ครอบคลุมปัญหาการคุกคามทางเพศอย่างเพียงพอ ผู้เขียนจึงเสนอให้มีการกำหนดคำนิยามและลักษณะของการคุกคามทางเพศต่อนักศึกษาให้ชัดเจนแน่นอน กำหนดบทลงโทษทางวินัยแก่ผู้กระทำความผิดให้เหมาะสมกับลักษณะของการกระทำการคุกคามทางเพศ เพื่อลดปัญหาการใช้ดุลพินิจของผู้บังคับใช้โทษทางวินัยและเกิดความเป็นธรรมต่อผู้ถูกกระทำและผู้กระทำ ซึ่งจะช่วยป้องกันและลดปัญหาการคุกคามทางเพศที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาเป็นสถานศึกษาที่ปลอดภัยอย่างแท้จริง

Article Details

How to Cite
แสงสุรินทร์ ธ., วิลาวรรณ อ., & อภิรัตน์ธนารัฐ อ. (2023). มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. วารสารกฎหมายและสังคมรังสิต, 5(3), 34–51. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/RJL/article/view/3900
บท
บทความวิชาการ

References

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2564). คู่มือมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน. กรุงเทพมหานคร: พีระมิตร ครีเอชั่น.

กุลพล พลวัน. (2561). “การล่วงเกินทางเพศ” ความผิดใหม่ในกฎหมายและสังคมไทย. สืบค้น 5 ธันวาคม 2566 จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_1254173

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2566). กฎหมายอาญาภาคความผิด เล่ม 2 (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: กรุงสยาม พับลิชชิ่ง.

เครือข่ายเมืองปลอดภัยเพื่อผู้หญิง. (2562). คู่มือเผือก: หยุดการคุกคามทางเพศ สำหรับพนักงานขนส่งสาธารณะ. สืบค้น 8 พฤศจิกายน 2566 จาก https://actionaid.or.th/คู่มือเผือก-หยุด-คุกคามท/

จักรกฤษณ์ วรวีร์ และศลทร คงหวาน. (2563). แนวทางการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศเด็ก. วารสารกฎหมายและสังคมรังสิต มหาวิทยาลัยรังสิต, 2(1), 22.

ชนะชัย อ๊อดทรัพย์. (2561). มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศต่อนิสิต นักศึกษาในสถาบันการศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์ หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชลาธิป ชาญชัยฤกษ์. (ม.ป.ป.). Texual harassment. สืบค้น 5 ธันวาคม 2566 จาก https://www.culi.chula.ac.th/salc/images/ENG%20Today%20PDF/Eng.-76%20(Texual%20harassment).pdf

ปกป้อง ศรีสนิท. (2562). การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาเรื่องเพศ : ความหมายใหม่และโทษใหม่ของการข่มขืนกระทำชำเรา. สืบค้น 5 ธันวาคม 2566 จาก https://www.the101.world/rape-in-thai-law/

ประกาศ ก.พ.อ. (2551). เรื่อง มาตรฐานของจรรยาบรรณที่พึงมีในสถาบันอุดมศึกษา. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนพิเศษ 141 ง หน้า 35 (22 สิงหาคม 2551).

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ฉบับที่ 27. (2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 69 ก หน้า 127 (27 พฤษภาคม 2562).

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. (2548). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนที่ 6 ก หน้า 17 (18 มกราคม 2548).

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ. (2547). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 121 ตอนพิเศษ 23 ก หน้า 1 (14 มิถุนายน 2547).

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา. (2547). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 121 ตอนพิเศษ 70 ก หน้า 33 (12 พฤศจิกายน 2547).

พิมพา สุทะเงิน. (2566). กฎหมายเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศในสถานศึกษา: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 7(1), 215.

ภคพร เพชรสังข์ และอัจฉรียา ชูตินันท์. (2566). ปัญหาการคุกคามทางเพศเด็กบนโลกออนไลน์. วารสารนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 12(1), 70.

วิมนา ธรรมปรีชา. (2533). การคุกคามทางเพศ. ใน วิทยานิพนธ์ หลักสูตรสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิวรรธน์ ดำรงค์กุลนันท์. (2562). ขอบเขตของการกระทำชำเรา การกระทำอนาจาร และการคุกคามทางเพศ. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 48(1), 112-124.

สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (2565). ข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลสำหรับพนักงานมหาวิทยาลัย. สืบค้น 7 ธันวาคม 2566 จาก https://hrm.offpre.rmutp.ac.th/wordpress/?page_id=627

สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (2566). ข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของมหาวิทยาลัย. สืบค้น 7 ธันวาคม 2566 จาก https://www.rmutp.ac.th/ethics/

สภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2550). ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ว่าด้วยการลงโทษทางวินัยแก่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา. สืบค้น 7 ธันวาคม 2566 จาก https://www.council.cmru.ac.th/schTOGET/concludelaws/2560/regula/ regula6005.pdf

สภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2555). ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ว่าด้วยจรรยาบรรณของบุคลากรมหาวิทยาลัย. สืบค้น 7 ธันวาคม 2566 จาก https://www.council.cmru.ac.th/schTOGET/concludelaws/2555/regula/regula5504.pdf

สภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2560). ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของพนักงานมหาวิทยาลัย. สืบค้น 7 ธันวาคม 2566 จาก http://www.council2.cmru.ac.th/schTOGET/concludelaws/2560/regula/regula6001.pdf

สภามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. (2551). ข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ว่าด้วยจรรยาบรรณข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา. สืบค้น 6 พฤศจิกายน 2566 จาก http://council.rru.ac.th/?p=1931

สภามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. (2554). ข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย การสอบสวนพิจารณา การลงโทษ การออกจากราชการ การสั่งพักหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน. สืบค้น 6 พฤศจิกายน 2566 จาก http://council.rru.ac.th/?p=1931

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2564). หยุดปัญหาคุกคามทางเพศในสถาบันการศึกษา. สืบค้น 5 พฤศจิกายน 2566 จาก https://www.thaihealth.or.th/?p=264250

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2566). ข้อมูลสถาบันอุดมศึกษา. สืบค้น 9 พฤศจิกายน 2566 จาก https://info.mhesi.go.th/homestat_academy.php

สุริยา ฆ้องเสนาะ. (2561). เด็กนักเรียนกับการถูกล่วงละเมิดทางเพศ. สืบค้น 7 พฤศจิกายน 2566 จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_ parcy/ewt_dl_link.php?nid=46956

สุริศา นิยมรัตน์. (2561). ความผิดทางอาญา: กรณีการคุกคามทางเพศ. วารสารรามคำแหง ฉบับนิติศาสตร์, 7(2), 150.

อัมพร ธำรงลักษณ์. (2552). การคุกคามทางเพศในโรงเรียนมัธยมศึกษา. ใน รายงานการวิจัย. กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

SHero Thailand. (2021). “สถานศึกษาไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัย” ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศในมหาวิทยาลัยที่ไม่เคยถูกแก้ไขอย่างแท้จริง. Retrieved 5 November 2023 from https://www.sherothailand.org/post/สถานศึกษาไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัย-ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศในมหาวิทยาลัยที่ไม่เคยถูกแก้ไขอย่างแท้จริง