ปัญหาทางกฎหมายในการคุ้มครองลูกจ้างเหมาบริการซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาของส่วนราชการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การจ้างเหมาบริการลูกจ้างซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มาตรา 4 บัญญัติให้การดำเนินการทำสัญญาจ้างเหมาบริการถือเป็นงานบริการและเป็นพัสดุ โดยวัตถุประสงค์ของสัญญาจ้างเหมาบริการมุ่งผลสำเร็จของงานที่จ้างอันมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของ ส่วนราชการผู้ว่าจ้างไม่มีอำนาจควบคุมบังคับบัญชาหรือสั่งการในการทำงานนอกเหนือจากข้อตกลง แต่มีอำนาจตรวจงานและสั่งให้ปรับปรุงแก้ไขเมื่องานผิดพลาดขาดตกบกพร่อง เมื่อลูกจ้างเหมาบริการไม่อยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับที่ลูกจ้างทั่วไปต้องถือปฏิบัติ ส่วนค่าตอบแทนการปฏิบัติงานไม่ต้องกำหนดตามคุณวุฒิการศึกษาแต่ให้พิจารณาจากความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่เหมาะสมกับลักษณะงานจริง ก่อให้เกิดปัญหาต่อลูกจ้างเหมาบริการซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาของส่วนราชการด้านความไม่เป็นธรรม ถูกเอารัดเอาเปรียบขาดความมั่นคงในการทำงาน ขาดหลักประกันทางสังคม เนื่องจากไม่อยู่ภายใต้ความคุ้มครองของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 และพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 ดังนั้น เพื่อให้ลูกจ้างเหมาบริการซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาของส่วนราชการได้รับความคุ้มครองที่เป็นธรรม สร้างความมั่นคงในชีวิต ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ และมีหลักประกันทางสังคมซึ่งเป็นการให้คุ้มครองลูกจ้างดังกล่าวให้ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานตามเจตนารมณ์ของกฎหมายแรงงาน จึงควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ส่วนราชการมีฐานะเป็นนายจ้างของลูกจ้างเหมาบริการซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาดังเช่นการให้ความคุ้มครองลูกจ้างภาครัฐของประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศสและประเทศสหพันธ์รัฐเยอรมัน อันจะส่งผลให้ลูกจ้างเหมาบริการซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาได้รับความคุ้มครองขั้นพื้นฐานตามเจตนารมณ์ของอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชาญชัย แสวงศักดิ์ และมานิตย์ วงศ์เสรี. (2541). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนิติกรรมทางปกครองและสัญญาทางปกครอง. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
ธีระ ศรีธรรมรักษ์. (2547). กฎหมายแรงงาน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นริศษา ละม้ายอินทร์. (2554). ปัญหาการแบ่งแยกสัญญาทางปกครองออกจากสัญญาแพ่ง : ศึกษากรณีสัญญาจ้างบุคลากรภาครัฐในประเทศไทย. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2553). สัญญาทางปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
นุสรา สุขวิทย์. (2564). ศึกษาเปรียบเทียบระบบราชการของประเทศฝรั่งเศสกับระบบราชการของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
บุบผา อัครพิมาน. (2545). สัญญาทางปกครอง : แนวคิดและหลักกฎหมายของฝรั่งเศสและของไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานศาลปกครอง.
มณฑินี รูปสูง. (2561). สถานะของบุคลากรภาครัฐตามสัญญาจ้างเหมาบริการ : ศึกษาในแง่การคุ้มครองสิทธิประโยชน์และสวัสดิการ. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุธีร์ ศุภนิตย์ และคณะ. (2549). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เรียงมาตรา ว่าด้วยเช่าทรัพย์ เช่าซื้อ จ้างแรงงาน จ้างทำของ รับขน ยืม ฝากทรัพย์ บรรพ 3 มาตรา 537-679. กรุงเทพมหานคร: กองทุนศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์.
PPTV online. (27 ตุลาคม 2562). ประเด็นข่าวร้อน. เข้าถึงได้จาก สภาแรงงานฯ ดันกฎหมายช่วย ‘ลูกจ้างเหมาบริการ’ 4 แสนคน หลังไร้สิทธิ ไร้ความมั่นคงในอาชีพ: https://www.pptvhd36.com/news
Kuhlmann sabine. (2004). Civil Service in Germany : Characteristics of Public Employment and Modernization. the meeting Modernization of State and Administration in Europe : A France – Germany Comparison. Bordeaux: Goethe – Institution.
Sylvia Horton. (2011). Contrasting Anglo-American and Continental European civil service systems. In A. Massey, International Handbook on Civil Service Systems Edited. King''s College London, UK: Edward Elgar.