การใช้พืชเสพติดประเภทกัญชาเพื่อการบริโภค
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มุ่งศึกษาการใช้พืชเสพติดประเภทกัญชาเพื่อการบริโภคในสถานะผู้เสพสารเสพติดประเภทกัญชาในลักษณะต่างๆ และการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากพืชเสพติดประเภทกัญชา เพื่อประโยชน์ของการบริโภคอย่างเหมาะสม และการผลิตภัณฑ์สินค้าต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ ศึกษาวิเคราะห์สถานะทางกฎหมายของผู้เสพสารเสพติดประเภทกัญชา วิเคราะห์แนวทางในการลดทอนความผิดอาญาพืชเสพติดประเภทกัญชาเพื่อการบริโภคและวิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมายเกี่ยวกับการอนุญาตให้มีการบริโภคและผลิตภัณฑ์สินค้าประเภทกัญชาในประเทศไทยกับต่างประเทศ
การศึกษาพบว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจของไทยในสถานะผู้เสพสารเสพติดประเภทกัญชา อันมีผลมาจากมิติทางกฎหมายอาญา อันเป็นการสกัดกั้นการใช้ในการบริโภคของประชาชนในปริมาณที่เหมาะสม และการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าจากพืชกัญชา ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจของประเทศไทย และยังทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการปราบปรามของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และยังทำให้ประเทศเราเสียโอกาสทางเศรษฐกิจอย่างมาก ดังนี้ เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขในการอนุญาตภายใต้เงื่อนไขควบคุมเพื่อให้ประชาชนสามารถบริโภคพืชกัญชาได้และการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะมีผลต่อเศรษฐกิจและเป็นการสร้างโอกาสให้ประเทศไทยในการสร้างรายได้จากพืชกัญชา ด้วยมาตรการทางกฎหมายในรายละเอียดของสาร ชนิด และปริมาณ ตลอดทั้งการอนุญาตให้ผลิต จำหน่าย ในรูปแบบสินค้าประเภทต่างๆ ภายใต้การควบคุมจากภาครัฐ เพื่อส่งเสริมมิติทางเศรษฐกิจของรัฐให้มีรายได้ และสามารถจัดเก็บภาษีได้อย่างครบถ้วน และปรับเปลี่ยนนโยบายทางนิติบัญญัติในการลอดทอนความผิดทางอาญา (Decriminalization) และกำหนดเงื่อนไขการควบคุมการใช้การบริโภคและตรากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดให้รัฐมีรายได้จากพืชกัญชาในลักษณะต่างๆ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จันทรบูรณ์ สุทธิ. (2539). กัญชง-กัญชาที่สูง. ข่าวสารสถาบันวิจัยชาวเขา TRI Quarterly, 10(3-4), 1-27.
ธานี วรภัทร์. (2562). ผลกระทบทางเศรษฐกิจของไทยในสถานะผู้เสพสารเสพติดประเภทกัญชา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(5), 2637-2650.
ธานี วรภัทร์และคณะ. (2564). นโยบายและมาตรการทางกฎหมายในการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดในประเทศไทย. สงขลา: ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
มานพ คณะโต และคณะ. (2559). รายงานการวิจัยเอกสารนโยบายและการจัดการปัญหากัญชา กรณีศึกษาประเทศอังกฤษและประเทศสหรัฐอเมริกา. ภาควิชาการสารเสพติด (ภวส): บ.จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
สำนักงาน ป.ป.ส.ภาคเหนือ. (2544). กัญชา-กัญชง. เชียงใหม่: สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.
สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค 1. (2550). เรียนรู้เรื่อง...ยาเสพติดชีวิตปลอดภัย. กรุงเทพมหานคร: บ.จุดทอง จำกัด.
EMCDDA. (2002). Early Warning System on New Synthetic Drugs: Guidance on Implementation. EU.: Brussels, Belgium.
EMCDDA. (2018). Germany Drug Report 2018. Lisbon: European Monitoring Centre for Drugs and Drug Addiction. EU.: EU.Brussels, Belgium.
Jeff, Grissler. (2014). Marijuana Business: How to Open and Successfully Run a Marijuana Dispensary and Grow Facility. New York USA: Marijuana Business Books Publishing, LLC.
Klaus Malek. (2014). Betäubungsmittel-strafrecht. Germany: C.H.BECK. Freiburg.
Steve Sussman. (2017). Substance and Behavioral Addiction:Concept, Causes, and Cures. UK: Cambridge University.