การศึกษาหลักเกณฑ์ของกฎหมายพาณิชย์ในประเทศไทย

Main Article Content

อนิสา มานะทน

บทคัดย่อ

         ในทางวิชาการและทางปฏิบัติของนักกฎหมายไทย ยังไม่สามารถกำหนดหลักเกณฑ์ที่แยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ออกจากกันอย่างชัดเจนได้ และยังไม่มีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความพาณิชย์ เป็นการเฉพาะ งานวิจัยเรื่องนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งศึกษา 1.เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาในการแยกสาระสำคัญของกฎหมายพาณิชย์ของประเทศไทย 2.เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักเกณฑ์การพิจารณาความเป็นกฎหมายพาณิชย์ของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร 3.เพื่อนำเสนอหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมของกฎหมายพาณิชย์ในประเทศไทย เพื่อเป็นการสร้างแนวคิดและแนวทางอันเป็นนวัตกรรมทางวิชาการและทางปฏิบัติทางกฎหมายที่ทันสมัยของประเทศไทยต่อไป


         จากการศึกษาพบว่ากฎหมายพาณิชย์มีองค์ประกอบของหลักเกณฑ์ดังนี้ 1. คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็น “พ่อค้า” 2. นิติสัมพันธ์ทางกฎหมายพาณิชย์ใช้หลักนิติกรรมเช่นเดียวกันกับกฎหมายแพ่ง 3. เป้าหมายของธุรกิจการค้าคือ การมุ่งแสวงหาผลกำไรเป็นปกติ 4. ความต่างศักดิ์ของคู่สัญญาคือ ฝ่ายที่เป็นพ่อค้ามีอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจที่เหนือกว่าอีกฝ่าย 5. มีจารีตประเพณีทางการค้า 6. มีการควบคุมกำกับดูแลจากภาครัฐ และต้องมีกฎหมายวิธีพิจารณาความพาณิชย์ที่มีความเหมาะสมกับธุรกิจการค้าพาณิชย์ที่ต้องการความสะดวก รวดเร็ว เป็นธรรม บังคับได้ตามกฎหมาย และรักษาความลับทางการค้า ข้อเสนอแนะคือ นโยบายทางนิติบัญญัติของรัฐต้องรีบดำเนินการตราประมวลกฎหมายพาณิชย์ และ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความพาณิชย์ ในประเทศไทยอย่างเร่งด่วนเพื่อตอบสนองธุรกิจการค้าพาณิชย์และสร้างมาตรฐานการระงับข้อพิพาททางธุรกิจการค้าพาณิชย์ให้เกิดความเชื่อมั่นทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันไปถึงระดับการพาณิชย์ในยุคดิจิทัลแล้ว

Article Details

How to Cite
มานะทน อ. (2022). การศึกษาหลักเกณฑ์ของกฎหมายพาณิชย์ในประเทศไทย. วารสารกฎหมายและสังคมรังสิต, 3(2), ุ65–78. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/RJL/article/view/410
บท
บทความวิจัย

References

กรมร่างกฎหมาย. (2533). อุทาหรณ์สำหรับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1-2 ฉบับกรมร่างกฎหมาย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

กิตติศักดิ์ ปรกติ. (2556). การปฏิรูประบบกฎหมายไทยภายใต้อิทธิพลยุโรป. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2557). บันทึกคำสัมภาษณ์พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

คณิต ณ นคร. (2559). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

คณิต ณ นคร และคณะ. (2550). โครงการติดตามประเมินผล การลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาล ประจำปี 2550. ทุนสำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม. กรุงเทพมหานคร: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ธานี วรภัทร์. (2558). กฎหมายว่าด้วยประกันภัย. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

Brox, Hans, Henssler, Martin. (2011). Handelsrecht. Germany: Verlag C.H.Beck.

Jung, Peter. (2014). Handelsrecht. München Germany: C.H.Beck.

Lee Mei Pheng, Ivan Jeron Detta. (2011). Commercial Law. Kuala Lumpur Malaysia.: Oxford Fajar.

Pleyer, Klemens, Elsner Ben. (1978). Handels-und Wertpapierrecht. Düsseldorf Germany : J.C.B.Mohr (Paul Siebeck).