มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับสถานประกอบการดูแลผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาการกำหนดมาตรฐานของผู้ทำหน้าที่ผู้ดูแลผู้สูงอายุ

Main Article Content

อาทิตยา ภวปัญญากุล

บทคัดย่อ

          ผู้สูงอายุ หมายถึง ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยในวัยนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย ทางสมอง ทางอารมณ์ และทางสังคม วัยสูงอายุเป็นช่วงรอยต่อของชีวิตซึ่งเปลี่ยนจากวัยกลางคนเข้าสู่วัยสูงอายุ การเปลี่ยนแปลงต่างๆเหล่านี้เป็นไปในลักษณะเสื่อมถอย มีข้อจำกัดในการทำหน้าที่ของร่างกายในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายๆด้าน ดังนั้นผู้สูงอายุจึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลที่เหมาะสม แต่ในสังคมปัจจุบัน บางครอบครัวไม่สามารถดูแลผู้สูงอายุได้ เนื่องจากต้องออกไปประกอบสัมมาหาเลี้ยงชีพ ดังนั้นจึงเกิดธุรกิจสถานประกอบการดูแลผู้สูงอายุขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมในปัจจุบัน


          จากการศึกษาพบว่า การกำหนดมาตรฐานของผู้ดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย ตามกฎกระทรวงที่กำหนดมาตรฐานด้านสถานที่ ความปลอดภัย และการให้บริการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพประเภทกิจการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง พ.ศ. 2563 นั้น ไม่ครอบคลุมสำหรับมาตรฐานในอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุ เนื่องจากการกำหนดมาตรฐานในกฎกระทรวงนั้น เป็นเพียงการกำหนดมาตรฐานเพียงขั้นต้น มิได้มีการกำหนดในตัวคุณสมบัติเฉพาะด้าน การตรวจสอบ บทลงโทษ และรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ดูแลผู้สูงอายุ นอกจากนี้ ในปัจจุบันผู้ที่ทำหน้าที่หรือประกอบชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นแรงงานเพื่อนบ้าน ซึ่งกฎกระทรวงดังกล่าวมิได้มีการกำหนดคุณสมบัติของแรงงานประเภทนี้แต่อย่างใด  ดังนั้น จึงเห็นควรให้มีการเสนอแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานของผู้ดูแลผู้สูงในด้านคุณสมบัติ การวัดระดับความสามารถ การตรวจสอบ และบทลงโทษ สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ และเห็นควรให้มีการจัดตั้งหน่วยงานหรือคณะกรรมการเพื่อกำกับควบคุม และดูแลผู้ที่ทำหน้าที่ผู้ดูแลผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้ที่ทำหน้าที่ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีมาตรฐานและทัดเทียมในระดับนานาชาติ

Article Details

How to Cite
ภวปัญญากุล อ. (2024). มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับสถานประกอบการดูแลผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาการกำหนดมาตรฐานของผู้ทำหน้าที่ผู้ดูแลผู้สูงอายุ. วารสารกฎหมายและสังคมรังสิต, 6(1), 29–42. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/RJL/article/view/4375
บท
บทความวิจัย

References

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานด้านสถานที่ความปลอดภัย และการให้บริการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพประเภทกิจการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง พ.ศ. 2563. (2563). ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม137 ตอนที่ 61 (หน้า 13-14). กรุงเทพมหานคร: สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.

ชมพูนุช พรหมภักดิ์. (2556). บทความวิชาการ เรื่อง การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

ปราโมทย์ ประสาทกุล และปัทมา ว่าพัฒนวงศ์. (2555). โครงสร้างประชากรและการเปลี่ยนแปลง. วารสารสุขภาพคนไทย, 10-11.

พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. (2560). ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 120 ตอนที่ 130 ก (หน้า 1-3). กรุงเทพมหานคร: สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.

สุวัฒนา เลิศมโนรัตน์. (2546). ระบบประกันสังคมของญี่ปุ่น : กรณีศึกษาการดูแลระยะยาว. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Act Social Welfare for the Elderly. (2008). Act on Social Welfare for the Elderly (Act No. 133 of 1963) Act No. 42 of 2008. Retrieved from https://www.japaneselawtranslation.go.jp/en/laws/view/3930/en

Arzaqia Luthfi Yani. (2023, July 13). How to be Caregiver/Care Worker (Kaigo) in Japan. Retrieved from https://www.tokhimo.com/post/how-to-be-caregiver-care-worker-kaigo-in-japan

Care Quality Commission. (2009). A new system of registration: Guide for providers of health or adult social care. London: Care Quality Commission. Retrieved from https://www.cqc.org.uk/what-we-do/services-we-regulate/services-we-regulate

City & Guilds. (2011). Level 2 diploma in health and social care (adults) for England Qualification handbook for centers 501/1306/9. Retrieved from https://arcuk.org.uk/trainingservices/files/2011/02/Level-2-Diploma-HSC-Adults-Handbook.pdf

Department of Health and Social Care. (2008). The Care Bill : Factsheets. Retrieved from https://www.gov.uk/government/publications/thecarebill-factsheets

K. J. Samson, S. M. Peace. (2020). The development of Residential and nursing home care in the United Kingdom. Retrieved from http://fds.oup.com/www.oup.co.uk/pdf/0-19-851071-3.pdf

Ministry of Health, Labour and Welfare. (2015). Certified Social Worker and Certified Care Worker Act(Act No. 30 of 1987). Retrieved from Japanese Law Translation: https://www.japaneselawtranslation.go.jp/en/laws/view/2693

National Assistance Act. 1948. (1948). Care Information Scotland (CIS). Retrieved from https://www.careinfoscotland.scot/topics/your-rights/legislation-protecting-people-in-care/national-assistance-act-1948/

Nursing Home Registration Act. 1927. (1929, January). Royal College of Nursing. Retrieved from https://rcnarchive.rcn.org.uk/volumes/77/Volume%2077%20Page%2013

TAKAHASHI Shuichi. (2019). An Act Without Power : A Critical Analysis of a Japanese Act on Preventing Elder Abuse. Retrieved from LAW AND THE JAPANESE PARADOX: https://senshu-u.repo.nii.ac.jp/record/9973/files/1021_0136_05.pdf