วิธีพิจารณาคดีปกครองของศาลไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีการนำวิธีพิจารณาคดีแบบรวบรัดมาใช้ในศาลปกครองชั้นต้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
ตามประกาศศาลปกครอง เรื่อง กำหนดระยะเวลาดำเนินงานคดีในศาลปกครอง พ.ศ. 2566 ขึ้นโดยมีสาระสำคัญว่า กรณีที่ตุลาการมีคดีอยู่ในความครอบครองไม่เกิน 48 คดี ศาลปกครองชั้นต้นใช้เวลาประมาณอย่างน้อย 2 ปี 6 เดือน และหากคดีอยู่ในความครอบครองเกินกว่า 48 คดีให้เพิ่ม ระยะเวลาในแต่ละขั้นตอนออกไปอีก 0.25 เท่า ทุกจํานวน 24 คดี (ประกาศศาลปกครอง, 2566) ประกอบกับ “สถิติคดีปกครอง” (สำนักงานศาลปกครอง, 2567) ซึ่งมีการรวบรวมนับแต่ศาลปกครองเปิดทำการจนถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2567 มีคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลปกครองชั้นต้นรวมแล้วประมาณ 16,835 คดี ทำให้เห็นว่าระยะเวลาที่กำหนดในประกาศดังกล่าวมีระยะเวลาที่ยาวนานเกินสมควรสำหรับคดีที่มีข้อเรียกร้องเล็กน้อย และคดีที่ไม่มีข้อยุ่งยาก และจากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ประกอบกับระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 ไม่ได้มีการนำหลักเกณฑ์เรื่อง “แบ่งแยกกระบวนการพิจารณาคดีตามความเหมาะสม” อย่างวิธีพิจารณาความแพ่ง และวิธีพิจารณาคดีอาญา และวิธีพิจารณาคดีปกครองในศาลปกครองแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส, สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนี, ราชอาณาจักรสวีเดน หรือศาลแพ่งแผนกคดีปกครองอย่างสาธารณรัฐประชาชนจีน หรือศาลชำนัญพิเศษอย่างสาธารณรัฐเอสโตเนีย มาใช้บังคับ ดังนั้นเพื่อให้การพิจารณาคดีปกครองมีความรวดเร็ว และทันสมัยมากยิ่งขึ้นจึงควรศึกษาเรื่องการนำวิธีพิจารณาคดีแบบรวบรัดทั้งที่มีปรากฏอยู่ในประเทศต่าง ๆ เพื่อนำมาปรับใช้กับวิธีพิจารณาคดีปกครองในศาลปกครองชั้นต้นแห่งราชอาณาจักรไทยในปัจจุบัน อย่างไรก็ดีแม้ในปัจจุบันศาลปกครองชั้นต้นจะมีการนำ “กระบวนพิจารณาคดีโดยเร่งด่วน” มาใช้บังคับแต่กระบวนพิจารณาดังกล่าวยังมีเงื่อนไข หลักเกณฑ์ และวัตถุประสงค์ที่ไม่ครอบคลุมถึงคดีที่ควรใช้ “การพิจารณาคดีแบบรวบรัด” ตามที่ผู้เขียนเสนอให้มีการปรับปรุงแก้ไข
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2559). หลักนิติธรรม และ หลักนิติรัฐ ความเข้าใจที่ไม่ตรงกันและผลที่มีต่อองค์กรตุลาการ. ใน หลักสูตรหลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 4 (หน้า 8). กรุงเทพมหานคร: สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ.
นามพร อัศวสุปรีชา. (2560). ตุลาการผู้แถลงคดีปกครองในระบบกฎหมายไทย. ใน วิทยานิพนธ์ หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประกาศศาลปกครอง เรื่อง กำหนดระยะเวลาดำเนินงานคดีในศาลปกครอง. (2566). ศาลปกครองและสำนักงานศาลปกครอง. เข้าถึงได้จาก https://www.admincourt.go.th/admincourtsite/08news/_detail.php?ids=23836
พระราชบัญญัติกำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2565. (2565). ใน ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 139ตอนที่ 66 ก (หน้า 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542. (2542). ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 94 ก (หน้า 1-2). กรุงเทพมหานคร: สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.
ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2543. (2543). ใน ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 117 ตอนที่ 108 ก (หน้า 30). กรุงเทพมหานคร: สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2564). คำสอนว่าด้วยรัฐและหลักกฎหมายมหาชน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อ่านกฎหมาย.
เอกบุญ วงฅ์สวัสดิ์กุล,บรรเจิด สิงคะเนติ และคณะ. (2549). วิธีพิจารณาคดีปกครองเปรียบเทียบ. ใน รายงานการศึกษาวิจัย สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (หน้า 17). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Act on general administrative courts. (2015, June 15). The Administrative Court Procedure Act (1971:291). Retrieved from The Government of Sweden: https://www.government.se/government-policy/judicial-system/the-administrative-court-procedure-act/
BVerwG 5C 23.12 D. (2013, July 11). Wolters Kluwer Deutschland GmbH. Retrieved from https://lexsoft.de/cgi-bin/lexsoft/anwalt24premium.cgi?t=171038611741466269&sessionID=790965598400447149&templateID=document&source=htilist&chosenIndex=UAN_nv_1057&xid=5823732&highlighting=on&hlt=#hlt_ank
China Justice Observer. (2021, September 13). Opinions on Promoting the Reform of Separating Complicated Administrative Proceedingsfrom Simple Ones. Retrieved from https://www.chinajusticeobserver.com/a/opinions-on-promoting-the-reform-of-separating-complicated-administrative-proceedings-from-simple-ones
Code de justice administrative. (2024, March 3). Journal of the French Republic. Retrieved from https://www.legifrance.gouv.fr/codes/texte_lc/LEGITEXT000006070933/
Code of Administrative Court Procedure. (2019, June 21). Federal Ministry of Justice. Retrieved from https://www.gesetze-im-internet.de/englisch_vwgo/print_englisch_vwgo.html
Frederic edel. (2007). The length of civil and criminal proceedings in the case-law of the EuropeanCourt of Human Rights. France: Council of Europe Publishing.
Gerichtsverfassungsgesetz (GVG). (1950). Bundesministerium der justiz. Retrieved from https://www.gesetze-im-internet.de/gvg/BJNR005130950.html
The Administrative Litigation Law of the People’s Republic of China. (1989, April 4). LawinfoChina. Retrieved from http://www.lawinfochina.com/display.aspx?lib=law&id=1204&CGid=
Verwaltungsgerichtsordnung (VwGO). (n.d.). Administrative Court Regulations. Retrieved from Bundesministerium der justiz: https://www.gesetze-im-internet.de/vwgo/