ปัญหาการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายในการปรับทางอาญาตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551

Main Article Content

จันทรัสม์ จิ้นสุริวงษ์

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจถึงที่มาของการกำหนดโทษปรับทางอาญาตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 เพื่อศึกษาปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกำหนดโทษปรับทางอาญาตามพระราชบัญญัติฯ ตลอดจนศึกษาเปรียบเทียบโทษปรับทางอาญาตามกฎหมายเกี่ยวกับภาพยนตร์และวีดิทัศน์ของต่างประเทศที่มีรูปแบบการกำหนดโทษปรับทางอาญาแตกต่างจากประเทศไทย เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาที่มีความเหมาะสมกับประเทศไทยที่สุด โดยการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ พบว่า พระราชบัญญัติฯ มีการบังคับใช้มากว่า 10 ปี ทำให้เกิดปัญหาการกำหนดอัตราค่าปรับที่ไม่สอดคล้องกับปัจจุบันและการกำหนดค่าปรับที่ไม่เหมาะสมกับผู้กระทำความผิดแต่ละราย เนื่องจากประเทศไทยมีรูปแบบการกำหนดโทษปรับตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด ที่ประสบปัญหาภาวะโทษปรับไม่มีประสิทธิภาพ จึงได้นำแนวคิดของกฎหมายดังกล่าวในต่างประเทศที่มีรูปแบบโทษปรับทางอาญาที่แตกต่างจากประเทศไทยมาศึกษาความเหมาะสมเพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำและสร้างความเสมอภาคของสังคมไทย โดยทำการศึกษาจาก 2 ประเทศ คือ สหรัฐเม็กซิโก ที่กำหนดโทษปรับเป็นจำนวนเท่าตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำต่อวัน และสาธารณรัฐฟินแลนด์ ที่กำหนดโทษปรับรายวัน


          ผลการศึกษาพบว่า เมื่อเปรียบเทียบโทษปรับทางอาญาในรูปแบบต่างๆ การนำโทษปรับรายวันที่สอดคล้องกับภาษีเงินได้อัตราคงที่ มาปรับใช้กับพระราชบัญญัติฯ เป็นการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำได้ดีกว่ารูปแบบโทษปรับทางอาญารูปแบบอื่น และการพิจารณาการกระทำความผิดจากรายได้ที่แท้จริงทำให้กฎหมายมีความเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ประกอบกับได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 ซึ่งมีเจตนารมณ์มาจากรูปแบบโทษปรับรายวัน จึงมีข้อเสนอแนะให้มีการกำหนดหลักการกำหนดโทษปรับรายวันในพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 และให้ใช้บังคับกับผู้ฝ่าฝืนตามพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว

Article Details

How to Cite
จิ้นสุริวงษ์ จ. (2024). ปัญหาการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายในการปรับทางอาญาตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551. วารสารกฎหมายและสังคมรังสิต, 6(2), 1–14. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/RJL/article/view/4644
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงวัฒนธรรม. (2559). พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 และอนุบัญญัติ พร้อมคำพิพากษาศาลฎีกา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

กฤตยา อารีรักษ์. (2560). ความเหมาะสมในการนำ day fine มาใช้กับประเทศไทย. ใน ดุษฎีนิพนธ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล. (23 มีนาคม 2565). เพราะจนจึงเจ็บกว่า ‘โทษพินัย’ ที่ไปไม่สุดทาง. เรียกใช้เมื่อ 30 ตุลาคม 2566 จาก ประชาไท: https://prachatai.com/journal/2022/03/97810

กองกฎหมาย. (2564). คณะอนุกรรมการพิจารณาและให้ความเห็นด้านกฎหมายและด้านวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551. รายงานการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาและให้ความเห็นด้านกฎหมายและด้านวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ครั้งที่ 2/2564 วันที่ 8 กรกฎาคม 2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม.

คำนูณ สิทธิสมาน. (3 สิงหาคม 2565). ปรับเป็นพินัย: กฎหมายโบว์แดง ช่วยคนจนหลายล้าน ปล่อยคนถูกกักขังหลายหมื่น. เรียกใช้เมื่อ 30 ตุลาคม 2566 จาก Isranews Agency สำนักข่าวอิศรา: https://isranews.org/article/isranews-article/110911-kamnoon-41.html

ภัทร วงศ์ทองเหลือ. (1 พฤศจิกายน 2566). สถิติการเปรียบเทียบปรับทางอาญาตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551. (จันทรัสม์ จิ้นสุริวงษ์, ผู้สัมภาษณ์)

มูลนิธิสถาบันวิจัยกฎหมาย. (2564). รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อวิเคราะห์และปรับปรุงพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

ศรันยา สีมา. (2565). โทษปรับเป็นพินัย. เรียกใช้เมื่อ 30 ตุลาคม 2566 จาก สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมหอสมุดรัฐสภา: https://library.parliament.go.th/th/radio-script/rr2566-apr2#:~:text=

Act on Audiovisual Programmes. (2011, June 17). Act No. 710, of June 17. Section 36. (Part 9). Retrieved from https://www.finlex.fi/fi/laki/kaannokset/2011/en20110710.pdf

Albrecht, H. J. (2009). Sanction Policies and Alternative Measures to Incarceration: European Experiences with Intermediate and Alternative Criminal Penalties. Rotterdam: Erasmus University Rotterdam.

Bachmaire, D. L., and Garcia, A. D. (2010). Day-Fines: Should the Rich Pay More? Rotterdam: Erasmus University Rotterdam.

Brutaru, V. (2009). About some new Modalities of Individualization of the Punishments: According with the New Penal Code (Law no. 286/2009). Buchares: Institute of Juridical Research.

Jörg, A. H. (1991). Fines in the Criminal Justice System, in Klaus ed., Developments in Crime and Crime Control Research. New York: Spring-Verlag.

Kantorowicz, E. (2014). Day-Fines: Should the Rich More? Rotterdam: Erasmus University Rotterdam.

Ley Federal de Cinematografía. (1992, December 29). Retrieved from Casa abierta al tiempo: https://www.uam.mx/difusion/comcul/leyes/leyes10.html

Sally, T., Mahoney, H., Mahoney, B. (1988). Collecting and Enforcing Criminal Fines: A Review of Court Processes, Practices, and Problems. The Justice System Journal.

The Criminal Code of Finland. (1889). Chapter 2(a) Section 2-Amount of a day fine. (Part 11). Finland: Ministry of Justice.

The Criminal Justice Act 2003. (2003). UK Public General Acts. Section 164. Chapter 1. (Part 12). Retrieved from legislation.gov.uk: https://www.legislation.gov.uk/ukpga/2003/44/contents

Wright, V. (2010). Deterrence in Criminal Justice: Evaluating Certaty vs. Severity of Punishment. Washington: The Sentencing Project.