มาตรการทางกฎหมายในการกำหนดพื้นที่สำหรับการใช้ การครอบครอง และการจำหน่ายกัญชาเพื่อสันทนาการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการศึกษามาตรการการควบคุมการกำหนดพื้นที่ใช้ การจำหน่าย และการครอบครองกัญชาของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศอุรุกวัย ประเทศแคนาดา ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศเนเธอร์แลนด์ ว่ามีมาตรการควบคุมเป็นอย่างไร เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายการใช้กัญชาในประเทศไทยอย่างเหมาะสม เพื่อไม่ให้ประเทศไทยต้องสูญเสียโอกาสจากการใช้ประโยชน์จากกัญชา แต่การใช้กัญชาก็ยังมีข้อกังวลที่พบได้ในต่างประเทศ คือ มีผู้หันมาเสพกัญชาเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก รวมทั้งมีเด็กและเยาวชนเริ่มหันมาเสพกัญชามากขึ้นทำให้เกิดปัญหาในการควบคุมการพื้นที่ใช้ การจำหน่าย และการครอบครองกัญชาเพื่อการสันทนาการ นอกจากนี้กฎหมายในประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดพื้นที่ใช้ การจำหน่าย และการครอบครองกัญชาเพื่อการสันทนาการ เพื่อให้การกำหนดพื้นที่ใช้ การจำหน่าย และการครอบครองกัญชาเพื่อการสันทนาการนั้นมีความเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย โดยสมควรและยกร่างกฎหมายระดับพระราชบัญญัติเป็นกฎหมายหลักในการให้อำนาจกำหนดพื้นที่ดังกล่าว และควรจัดทำกฎหมายลำดับรองเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมอีกทั้ง จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่าควรจัดให้มีกฎหมายเฉพาะว่าด้วยกัญชาเพื่อให้มีหน่วยงานระดับชาติที่มีอำนาจและหน้าที่ในการเสนอแนวนโยบายและแผนงานระดับชาติที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม และควรจัดให้มีหน่วยงานระดับท้องถิ่นในการทำเทศบัญญัติกำหนดพื้นที่ที่ใช้การจำหน่าย และการครอบครองกัญชาเพื่อการสันทนาการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการบูรณาการร่วมกันในการกำหนดมาตรการในการปฏิบัติ รวมถึงเผยแพร่ให้ประชาชนทราบถึงหลักกฎหมายที่ถูกต้อง อีกทั้ง ควรมีการกำหนดระยะกันชน หรือระยะห่างจากสถานที่แหล่งชุมชนที่มีเด็ก หรือประชาชนกลุ่มเปราะบางอาศัยโดยศึกษาจากต่างประเทศซึ่งโดยปกติแล้ว จะมีระยะห่างอย่างน้อย 150 ถึง 300 เมตร
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เจณิตตา จันทวงษา. (5 ตุลาคม 2565). คุมกัญชาเสรีอย่างไรให้ปลอดภัยกับเด็กและเยาวชนที่สุด. เข้าถึงได้จาก The101.world: https://www.the101.world/cannabis-legalization-and-youth/
กรุงเทพธุรกิจ. (22 กรกฎาคม 2565). คาดตลาด ‘กัญชา-กัญชง’ ทะลุ 4.2 หมื่นล้าน. เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/1016798
กรุงเทพธุรกิจ. (09 กุมภาพันธ์ 2566). เปิดผลศึกษาปี 65 'กัญชา' ยอดพุ่ง ใช้สันทนาการเพิ่ม 900 %. เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbiznews.com/ health/public-health/1052306
ดร. กิรติพงศ์ แนวมาลี. (30 พฤษภาคม 2567). จัดระเบียบกัญชา เพิ่มมาตรการ-อุดช่องว่าง ก.ม. เข้าถึงได้จาก สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ): https://tdri.or.th/2024/05/regulate-cannabis-law-amendment-article/
ดร.นพ.มูฮัมมัดฟาห์มี ตาเละ. (30 กรกฎาคม 2564). เปรียบเทียบสถานะสารเสพติด (กัญชา) ที่ต่างกันสุดขั้วในเนเธอร์แลนด์และสิงค์โปร์...แล้วไทยควรเลือกทางไหน. เข้าถึงได้จาก ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.): https://cads.in.th/cads/content?id=295
ธานี วรภัทร์. (2565). ห้องบริโภคยาเสพติด (DRUG CONSUMPTION ROOMS). วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยา, 7(12), 252.
ผู้จัดการออนไลน์. (28 กุมภาพันธ์ 2562). สรรพคุณกัญชา. เข้าถึงได้จาก MGR Online: https://mgronline.com/infographic/detail/9620000020873
พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์. (13 กรกฎาคม 2565). เดินสำรวจ ‘ร้านสายเขียว’ ใน Pattaya Walking Street. เข้าถึงได้จาก The MATTER: https://thematter.co/social/cannabis-shop-in-pattaya-walking-street/180359
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. (10 มิถุนายน 2565). ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แสดงจุดยืน “ห้ามเด็กและวัยรุ่นต่ำกว่า 20 ปี” ใช้กัญชา มีผลต่อสมอง. เข้าถึงได้จาก สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ: https://www.hfocus.org/content/2022/06/25280
วารานัย ยุวนะเตมีย์. (2559). การรับรู้ความเสี่ยงของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย. เข้าถึงได้จาก https://libdoc.dpu.ac.th/thesis/159693.pdf
วิศวะ เชียงแรง. (2565). การกําหนดแนวทางมาตรการการควบคุมการใช้กัญชาในประเทศไทย. Journal of Social Academic, 14(2), 20.
สมาคมพยาบาลนมแม่ประเทศไทย. (17 มิถุนายน 2564). กัญชากับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ “ภัยร้ายทำลายลูกน้อย”. เข้าถึงได้จาก โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต: https://www.vachiraphuket.go.th/news/กัญชากับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่-ภัยร้ายทำลายลูกน้อย/
Dan I Lubman, A. C. (2015). Cannabis and adolescent brain development. Pharmacology & Therapeutics, 1-16. doi:10.1016/j.pharmthera.2014.11.009