การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในสาธารณรัฐสิงคโปร์

Main Article Content

บุญเรือน เนียมปาน
สุวรรณ วงษ์การค้า

บทคัดย่อ

         การมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีของประเทศชาติและสังคมโลก ความสำคัญของการมีส่วนร่วมทางการเมืองมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาระบอบ ประชาธิปไตย รวมทั้งสิทธิและภาระหน้าที่ของประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองตามช่องทางและกระบวนการต่างๆ ตามที่กฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกำหนดไว้ ซึ่งหากประชาชน มีความเข้าใจในกระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมือง พร้อมทั้งตื่นตัวเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้นก็จะส่งผลต่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยให้ก้าวหน้าและยั่งยืน ซึ่งเมื่อเกิดเสถียรภาพที่ดีทางการเมืองและทางการปกครอง ย่อมที่จะส่งผลต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ ทางด้านสังคมและความมั่นคงของประเทศได้อย่างถาวร


          ในปัจจุบันสาธารณรัฐสิงคโปร์เป็นประเทศที่ถือได้ว่ามีเสถียรภาพทางการเมืองสูงเป็นอย่างยิ่ง ที่เป็นเช่นนี้ก็สืบเนื่องมาจากศักยภาพในการประกอบสร้าง การธํารงรักษา และผูกขาดอํานาจทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง ยาวนานของพรรคกิจประชาชน (People’s Action Party: PAP) การเติบโตอย่างต่อเนื่องของประเทศสิงคโปร์ และการพัฒนาในด้านต่างๆ ที่รุดหน้าเมื่อเทียบกับ ประเทศในทวีปเดียวกัน จึงทำให้มีความน่าสนใจที่จะศึกษาว่าสิงคโปร์ การมีส่วนร่วมในทางการเมืองของประชาชนในสิงคโปร์ และการเป็นผู้นำประเทศที่ดีควรมีวิสัยทัศน์ การบริหารปกครองอย่างไร เพื่อที่จะนำประเทศไปสู่ความเจริญได้ทั้งทางด้านการเมือง การศึกษา และ เศรษฐกิจ ประสบผลสำเร็จอย่างต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งถ้าจะนำจุดแข็งหรือข้อเด่นของสิงคโปร์มาประยุกต์ใช้กับแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในประเทศไทยน่าจะส่งผลต่อการพัฒนาอย่างยั่งยื่นในมิติต่างๆ ของประเทศเราได้เช่นเดียวกัน

Article Details

How to Cite
เนียมปาน บ., & วงษ์การค้า ส. (2022). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในสาธารณรัฐสิงคโปร์. วารสารกฎหมายและสังคมรังสิต, 1(1), 17–32. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/RJL/article/view/476
บท
บทความวิชาการ

References

ชวภณ สารข้าวคำ และ อารีย์วรรณ อ่วมตานี. (2561). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารพยาบาลศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 30(1), 1-10.

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2553). รัฐประศาสนศาสตร์เปรียบเทียบเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: บ.ส.เจริญการพิมพ์ จำกัด.

พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์ และคณะ. (2558). รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาวิจัยเปรียบเทียบระบอบการเมืองการปกครอง การเลือกตั้งพรรคการเมือง และองค์กรจัดการเลือกตั้งของกลุ่มประเทศอาเซียน. กรุงเทพมหานคร: บริษัทจรัลสนิทวงศ์การพิมพ์จำกัด.

สมยศ เชื้อไทย. (2551). ความรู้กฎหมายทั่วไป คำอธิบายกฎหมายแพ่ง : หลักทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่15). กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

สิริพรรณ นกสวนสวัสดี และ คณะ. (2554). รายงานวิจัยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2554: การศึกษาบทบาทพรรคการเมือง และพฤติกรรมและการตัดสินใจเลือกตั้งของประชาชนในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง. ใน รายงานวิจัยโดยคณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.

Berman Even and M. Shamsul Haque. (2015). Asain Leadership in Policy and Governance: Public Policy and Governance Volume 24. Waitgon, United Kingdom: Emerald Group Publishing Limited.