แนวทางในการคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศในเรือนจำ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือผู้ต้องขังที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศในเรือนจำ จากการศึกษาพบว่าพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นกฎหมายหลักในการควบคุมและดูแลผู้ต้องขังในเรือนจำไม่มีมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้ต้องขังซึ่งถูกล่วงละเมิดทางเพศไว้โดยเฉพาะ ปัญหาการขาดแคลนบุคคลากรในเรือนจำไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ แพทย์ทางจิตเวช นักจิตวิทยา ปัญหานโยบายของกรมราชทัณฑ์เกี่ยวกับการคุกคามทางเพศในเรือนจำที่ไม่ชัดเจนและปัญหาของกระบวนการทางสาธารณสุขในการช่วยผู้ต้องขังซึ่งถูกล่วงละเมิดทางเพศอาจส่งผลกระทบทั้งทางร่างกายและทางจิตใจของผู้ต้องขังได้ ซึ่งเป็นผลร้ายต่อกายและจิตใจในการพัฒนาพฤตินิสัยเพื่อคืนคนดีสู่สังคมเป็นอย่างมาก
ผู้เขียนเห็นว่าการกำหนดให้มีมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้ต้องขังซึ่งถูกล่วงละเมิดทางเพศไว้โดยเฉพาะรวมถึงการกำหนดแนวทางหรือนโยบายในการบริหารจัดการเรือนจำในเรื่องเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อป้องกันและช่วยเหลือผู้ต้องขังให้ได้รับการคุ้มครองสิทธิและได้รับการเยียวยาความเสียหายทั้งทางร่างกายและจิตใจอันเป็นผลจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ จึงเสนอให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 มาตรา 59 กำหนดให้ความคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังที่ถูกคุกคามทางเพศให้ครอบคลุมผู้ต้องขังทุกเพศ รวมถึงให้มีแนวทางหรือนโยบายในการป้องกันและต่อต้านการล่วงละเมิดทางเพศในเรือนจำหรือทัณฑสถานทุกรูปแบบ การเพิ่มบุคคลากรทางการแพทย์และนักจิตวิทยาเพื่อให้คำปรึกษาแก่ผู้ต้องขัง อีกทั้งเจ้าหน้าที่ต้องสอดส่องดูแลผู้ต้องขังในเรือนจำหรือทัณฑสถานเพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศที่อาจเกิดขึ้นได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฎ ก.พ. ว่าด้วยการกระทำการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ . (2553). ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอนที่ 59 ก (หน้า 14). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
กองการเจ้าหน้าที่ กรมราชทัณฑ์. (2560). แนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อแก้ไขปัญหาผู้ต้องขังหลบหนี. เข้าถึงได้จาก https://attracorrect.files.wordpress.com/2017/07/e0b89ae0b897e0b884e0b8b1e0b894e0b8a2e0b988e0b8ad60pdf.pdf
กุลพล พลวัน. (2561). การล่วงเกินทางเพศ ความผิดใหม่ในกฎหมายและสังคมไทย. เข้าถึงได้จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_1254173
จะเด็ดดาว สารบรรณ. (2561). ระบบส่งต่อผู้ต้องขังป่วย. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 4(2). 267-278.
จารุวรรณ คงยศ. (2560). เพศภาวะ เพศวิถี ประสบการณ์ชีวิตของกระเทยในคุก. ใน วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยทางสังคม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. (2552). คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่11). กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
ทวีศักดิ์ เกิดโภคา. (2559). Sex in Jails: เรื่องเซ็กส์ในที่ลึก แต่ไม่ลับในเรือนจำชาย. เข้าถึงได้จาก https://prachatai.com/journal/2016/11/68973#_edn4
ไทยรีฟอร์ม. (2561). “หมอ-พยาบาล” ในเรือนจำ งานที่ยังคงขาดแคลน. เข้าถึงได้จาก https://www.isranews.org/thaireform/thaireform-documentary/72130-reform-72130
ธานี วรภัทร์. (2552). การบังคับโทษในประเทศไทย:การบังคับโทษจำคุก. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ฟรอยด์, ซิกมันด์. (2554). ทฤษฎีจิตวิเคราะห์. เข้าถึงได้จาก Development Theory: https://sites.google.com/a/srp.ac.th/development-theory/thvsdi-phathnakar-tha-ngbukhlk-phaph/thvsdi-cit-wi-kheraah-khxng-f-rxy-d
ศิริวรรณ ไกรสุรพงศ์. (2557). งานวิจัย 'เพศในคุก' พบนักโทษมีเพศสัมพันธ์กันเอง. เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th/content/410500
อานนท์ จำลองกุล. (2560). การดูแลผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศ:ร่างกาย จิตใจ และการเยียวยาทางกฎหมาย. จุฬาลงกรณ์เวชสาร, 61(5). 603-618.
Ackerman,C. E. (2018, January 15). Psychoanalysis: A Brief History of Freud’s Psychoanalytic Theory. Retrieved from https://positivepsychology.com/psychoanalysis/
Greenberg, J.S. Bruess, C.E. and Oswalt, S.B. (2016). Exploring the dimensions of human sexuality. USA: Jones & Bartlett Learning.
Just Detention International. (2558). การละเมิดทางเพศในเรือนจำ:วิกฤตสิทธิมนุษยชนระดับโลก. Retrieved from https://justdetention.org/wp-content/uploads/2015/11/International_Summary_Thai.pdf