การศึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่ายในสาธารณรัฐฟินแลนด์

Main Article Content

สัญชัย นิระมล

บทคัดย่อ

          สาธารณรัฐฟินแลนด์ให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมและโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา โดยถือว่าการศึกษาเป็นสิทธิมนุษยชนจึงทำให้สาธารณรัฐฟินแลนด์ไม่เก็บค่าเล่าเรียนตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาถึงระดับอุดมศึกษา ระบบการศึกษาของฟินแลนด์มีลักษณะพิเศษ คือ มีการศึกษาชั้นก่อนประถมศึกษา (Pre-Primary Education) เป็นเวลา 1 ปี และการศึกษาขั้นพื้นฐานแบบครบวงจร (Comprehensive Education) อีกเป็นเวลา 9 ปี โดยสิทธิทางการศึกษาขั้นพื้นฐานถูกบัญญัติและให้การรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ (The Constitution of Finland) ส่วนการศึกษาในระดับอื่นมีบทบัญญัติไว้ในกฎหมายเฉพาะ ได้แก่ พระราชบัญญัติการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Basic Education Act), พระราชบัญญัติว่าด้วยการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วไป (Act on General Upper Secondary Education)  และพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย (Universities Act) ทั้งนี้ รัฐบาลฟินแลนด์ได้ขยายการศึกษาภาคบังคับให้เพิ่มขึ้นจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยการตราพระราชบัญญัติว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับ (Act on Compulsory Education) นอกจากนี้ สาธารณรัฐฟินแลนด์ยังมีสวัสดิการที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา อาทิ อาหาร บริการขนส่ง และที่พักสำหรับนักเรียน รวมถึงมีมาตรการสนับสนุนการศึกษาเป็นทุนเรียนและเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา นโยบายการศึกษาของฟินแลนด์มีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ คุณภาพ ประสิทธิภาพ     ความเท่าเทียม ความเป็นอยู่ที่ดี และความเป็นสากล มุ่งส่งเสริมประสิทธิภาพของสังคมฟินแลนด์ โดยนโยบายการศึกษาตั้งอยู่บนหลักการของการเรียนรู้ตลอดชีวิต การศึกษาถูกมองว่าเป็นจุดจบในตัวเอง   การปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมามีเป้าหมายเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ โดยเน้นที่ความสุขในการเรียนและบรรยากาศในการทำงานร่วมกัน ตลอดจนส่งเสริมความเป็นอิสระของนักเรียนในการศึกษาและการใช้ชีวิตในโรงเรียน ซึ่งเป็นบริการด้านสวัสดิการสังคมที่ครอบคลุมการอุปโภคบริโภค บริการสุขภาพ การเดินทาง และการพักอาศัย ซึ่งเอื้อให้เด็กเข้าถึงการศึกษาได้อย่างทั่วถึง

Article Details

How to Cite
นิระมล ส. (2022). การศึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่ายในสาธารณรัฐฟินแลนด์. วารสารกฎหมายและสังคมรังสิต, 1(3), 19–32. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/RJL/article/view/488
บท
บทความวิชาการ

References

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานผลการศึกษาการพัฒนามาตรฐานการศึกษาของต่างประเทศ. เข้าถึงได้จาก http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1547-file.pdf

Eurydice. (2019). Funding in Education. Retrieved from https://www.csee-etuce.org/en/news/1741-eurydice-describes-key-elements-of-the-school-2-0-for-the-21st-century

Full fabric. (n.d.). Why has Finland introduced tuition fees for non-EU students. Retrieved from https://blog.fullfabric.com/why-finland-introduced-tuition-fees-non-eu-students

Future policy. (n.d.). Finland’s Basic Education Act & General Education Policy. Retrieved from https://www.futurepolicy.org/rightsofchildren/finlands-basic-education-act/

Kela. (2018). Meal subsidy. Retrieved from https://www.kela.fi/web/en/meal-subsidy

Kela. (2018). Student loan. Retrieved from https://www.kela.fi/web/en/financial-aid-for-students-student-loan

Kela. (2019). Study grant. Retrieved from https://www.kela.fi/web/en/financial-aid-for-students-study-grant

Kela. (n.d.). School transport subsidy. Retrieved from https://www.kela.fi/web/en/school-transport-subsidy

Ministry of Education and Culture. (n.d.). Compulsory education to be extended in August 2019. Retrieved from https://zhort.link/k7t

Yle. (2019). Finland extends compulsory schooling age to 18. Retrieved from https://yle.fi/uutiset/osasto/news/finland_extends_compulsory_schoolin g_age_to_18/11698978