ปัญหาทางกฎหมายในการกำหนดรูปแบบการจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทย

Main Article Content

วีระยุทธ ลาสงยาง

บทคัดย่อ

          ในเรื่องของการจ้างแรงงาน ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานในทุกประเทศทั่วโลก ถือเป็นสิ่งสำคัญในการจ้างแรงงานและการคุ้มครองแรงงานอันเป็นสิ่งที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้กับลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานให้ในลักษณะและประเภทกิจการต่างๆ รัฐให้ความสำคัญในเรื่องนี้จึงมีการประกาศกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำออกมาบังคับใช้ การกำหนดรูปแบบการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศไทยได้กำหนดรูปแบบการจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำไว้ 3 รูปแบบคือ 1) การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำโดยได้แบ่งอัตราค่าจ้างขั้นต่ำออกเป็น 10 อัตราค่าจ้างขั้นต่ำตั้งแต่วันละ 313 บาท ถึง 336 บาท 2) อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ และ 3) อัตราค่าจ้างรายชั่วโมงสำหรับนักเรียน นิสิต และนักศึกษา และไม่มีการกำหนดรูปแบบการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเริ่มต้นสำหรับแรงงานไร้ฝีมือหรือแรงงานเด็กอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม จึงทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างสังคมแรงงานภายในประเทศเหล่านั้นเพราะลูกจ้างที่มีประสบการณ์กับไม่มีประสบการณ์หากมีการเริ่มต้นทำงานพร้อมกันย่อมสร้างความไม่เป็นธรรมต่อระบบแรงงานโดยรวมของประเทศนั้น ๆ เพื่อเป็นการพัฒนาควรกำหนดรูปแบบการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามเกณฑ์อายุ และแตกต่างสำหรับแรงงานที่มีประสบการณ์ หรือแรงงานที่ผ่านการฝึกอบรมกับแรงงานที่ไม่ผ่านการฝึกอบรม หรือแรงงานไร้ฝีมือที่พึ่งเริ่มต้นทำงาน และกำหนดให้การจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำเป็นการจ่ายค่าจ้างรายชั่วโมงเพราะการกำหนดให้จ่ายค่าจ้างเป็นรายชั่วโมงเป็นการกระตุ้นให้ลูกจ้างทำงานอย่างขยันขันแข็งเพื่อเก็ยชั่วโมงการทำงานให้มาก โดยมีการกำหนดเป้าหมายการทำงานอย่างชัดเจนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของลูกจ้างในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Article Details

How to Cite
ลาสงยาง ว. (2022). ปัญหาทางกฎหมายในการกำหนดรูปแบบการจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทย. วารสารกฎหมายและสังคมรังสิต, 1(3), 33–48. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/RJL/article/view/491
บท
บทความวิชาการ

References

กาญจนาท เรืองรจิตปกรณ์. (2535). แรงงานสัมพันธ์และการจัดการธุรกิจอุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธีระ หงส์เจริญ. (2524). ค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง. (2555). อัตราค่าจ้างรายชั่วโมงสำหรับนักเรียน นิสิต และนักศึกษา. เข้าถึงได้จาก https://www.forest.go.th/suratthani11/wp-content/uploads/sites/46/2016/05/Matra74-3-001.pdf

Brown, W. (2009). The Process of fixing the British National Minimum Wage 1997-2007. British Journal of Industrial Relation, 47(2), 429-443.

Government United Kingdom. (2019). National Minimum Wage and National Living Wage rates. Retrieved from https://www.laisinterstudy.com/guide/knowledge-station.

International Labour office. (2014). Minimum Wage System (International Labour Conference 130 rd Session). Geneva: International Labour Organization.

Line Eldring and Kristin Alsos. (2012). European Minimum Wage: A Nordic Outlook (Fafo-report).

Local Citizens Advice. (2015). 10th.ed June. This fact sheet was last updated. 1.

Low Pay Commission. (2005). National Minimum Wage. Retrieved from http://www.loepay.gov.uk/lowpay 2005