มาตรการทางกฎหมายในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักการ แนวคิดการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิด การแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู หลักการจัดการศึกษาและการฝึกอบรมเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดและถูกควบคุมในสถานพินิจ 2) เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์ของกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนตลอดจนเกี่ยวกับการจัดการศึกษา การฝึกอบรมเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางกฎหมายไทยและกฎหมายญี่ปุ่น 3) เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการจัดการศึกษา การฝึกอบรมเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดของประเทศไทย 4) เพื่อศึกษาแนวทางแก้ไข และพัฒนาปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูอย่างถูกต้อง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า การกำหนดในพระราชบัญญัติการบริหารการแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู เด็กและเยาวชนที่กระทำผิด พ.ศ.2561 เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนโดยหลักสูตรการศึกษานอกระบบนั้นไม่เหมาะสมจะนำมาใช้กับเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบน อีกทั้งการจัดการเรียนตาม มาตรา 36 ไม่เป็นไปตามความต้องการของตลาดแรงงาน อีกทั้งรูปแบบการจัดการศึกษาที่อนุญาตให้ออกไปศึกษาในสถานศึกษา ประเภทไปมา นอกสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนนั้นส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน
ข้อเสนอแนะ ควรตั้งคณะกรรมการบูรณาการจัดการศึกษาที่ประกอบด้วยนักวิชาการด้านการศึกษา สหวิชาชีพ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็ก อีกทั้งแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการบริหารการแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู เด็กและเยาวชนที่กระทำผิด พ.ศ.2561 ให้หลักสูตรการฝึกอบรมเป็นไปตามโครงสร้างของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และจัดให้การศึกษาลักษณะโรงเรียนประจำ นอกจากนี้ควรจัดตั้งค่ายฝึกอบรมเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิด สำหรับเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดให้ได้รับการบังคับโทษในระยะเวลาที่สั้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. (2557). คู่มือปฏิบัติงาน การจัดการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพมหานคร: กรมพินิจและคุ้มครองเด็ก.
กิตติณัฏฐ์ วิญญรัตน์. (2559). กฎหมายว่าด้วยการบังคับโทษ : ศึกษากรณีการจัดการศึกษาของผู้ต้องขัง. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
พิชญา เหลืองรัตนเจริญ. (2555). กระบวนการยุติธรรมสําหรับเด็กและเยาวชนที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด. ใน ดุษฎีนิพนธ์นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
วัชรินทร์ ปัจเจกวิญญสกุล. (2543). การจัดการศึกษาทางเลือกโดยศูนย์การเรียนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มงานปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
ศรัญญู เทพสงเคราะห์. (2559). โรงเรียนฝึกอาชีพ : พื้นที่ควบคุมเด็กในสถาบันราชทัณฑ์ไทย พ.ศ.2479-2501. วารสารหน้าจั่ว, 114-135. เข้าถึงได้จาก https://library.tcdc.or.th/record/view/b00039751
สำนักวิชาการ สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2562). บทบัญญัติด้านการศึกษาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. เข้าถึงได้จาก https://library2.parliament.go.th/ejourna/content af/2561/mar2561-3.pdf
Florida State Dept of Juvenile Justice. (1997). Polk County Juvenile Boot Camp-Female Program: A Follow-up Study of the First Seven Platoons. Retrieved https://psycnet.apa.org/record/2007-13446-003
House Of Parliament Parliamentary Office of Science & Technology. (2016). Retrieved from www.parliament.uk/post
The Children and Young Persons Act. (1993). (CYPA) Chapter 38. Retrieved from https://sso.agc.gov.sg/Act/CYPA1993