หลักการแนวคิดทฤษฎีและการบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
Main Article Content
บทคัดย่อ
นอกจากความรู้และความเข้าใจอย่างดีในทางกฎหมายโดยเฉพาะเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือการบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรมทางอาญา อันจะนำไปสู่ความมีประสิทธิภาพในทางปฏิบัติของกระบวนการยุติธรรมในการอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชนในสังคม ให้สอดคล้องต่อหลักการทฤษฎีและเป้าหมายของกระบวนการ ตลอดทั้งรักษาไว้ซึ่งสิทธิและเสรีภาพของบุคคลและความเป็นเสรีประชาธิปไตยภายใต้หลักนิติธรรม อันเป็นสิ่งที่ปรารถนายิ่งของทุกสังคมและของประเทศต่างๆทั่วโลก ในการจัดการที่ดีในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลและการรักษาความสงบเรียบร้อยให้กับสังคม อย่างมีธรรมาภิบาลเป็นที่น่าเชื่อถือศรัทธาของประชาชนอย่างมั่นคงยั่งยืน อันส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศอย่างถาวรต่อไปด้วย จากข้อเท็จจริงพบว่าประเทศไทยยังขาดการบริหารกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่ดี ในขั้นตอนต่างๆ จึงประสบปัญหาและอุปสรรคในการตรวจสอบค้นหาความจริงในคดี เกิดความผิดพลาดให้เห็นชัดเจนมาอย่างต่อเนื่อง เช่น คดีเชอรี่แอนด์ คดีครูจอมทรัพย์ เป็นต้น จึงมีข้อเสนอแนะว่า การศึกษาให้ลึกซึ้งถึงหลักการและทฤษฎีในการบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรม แล้วนำไปปฏิบัติ จะเป็นการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องต่างๆได้ และจะนำไปสู่การเสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการอำนวยความยุติธรรมที่ดีต่อไปได้อย่างยั่งยืน ไม่ว่าในตำแหน่งของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ พนักงานอัยการ ศาล พนักงานราชทัณฑ์ ตลอดทั้งหน่วยอื่นที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม เช่น นิติวิทยาศาสตร์ งานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ เป็นต้น ที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรมอย่างยุติธรรม เป็นธรรม และเที่ยงธรรม ให้รับใช้ประชาชนและสังคมได้ตามเป้าหมายอย่างแท้จริง อย่างมีเสรีภาพ ตามระบอบประชาธิปไตย และภายใต้หลักนิติธรรมเป็นสำคัญ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
โสภณ รัตนากร. (2543). หลักวิชาชีพนักกฎหมาย: ตุลาการ. ใน รวมคำบรรยายหลักวิชาชีพนักกฎหมาย. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
คณิต ณ นคร. (2549). กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
ธานี วรภัทร์. (2555). หลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาตามแนวคิดของศาสตราจารย์ ดร. คณิต ณ นคร. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
ธานี วรภัทร์. (2562). การปฏิรูปการสอบสวนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาไทย. วารสารกฎหมายสุโขทัยธรรมาธิราช, 30(2), 1-15.
ประพันธ์ นัยโกวิท. (2539). การอำนวยความยุติธรรมในคดีอาญาโดยพนักงานอัยการ. บทบัณฑิตย์, 52(4), 25-40.
พัฒนพงศ์ สมานเกียรติ. (2554). การกลั่นกรองคดีก่อนการประทับฟ้อง:ศึกษากรณีคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
อิงครัต ดลเจิม. (2561). การบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่เป็นระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา. ใน ดุษฎีนิพนธ์ นิติศาสตรดุษฏีบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Claus Roxin. (2014). Strafverfahrensrecht. Germany: C.H.Beck.
Dando, Shigemitsu. (1965). Japanese Criminal Procedure. USA: Fred B Rothman&Co.