การมีล่ามในชั้นสอบสวนคดีอาญา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ถึงปัญหาอุปสรรคต่างๆ ของกฎหมายเกี่ยวกับการจัดหาล่ามในชั้นสอบสวน ประสงค์เพื่อนำไปสู่การแก้ไขตัวบทกฎหมายเกี่ยวกับการจัดหาล่าม โดยอาศัยข้อมูลจากการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมายต่างๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปเป็นบรรทัดฐานหรือแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขตัวบทกฎหมายของไทยที่มีอยู่ ให้ความสมบูรณ์และเหมาะสมยิ่งขึ้น โดยศึกษาค้นคว้ารวบรวมจากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น ตัวบทกฎหมาย ตำรากฎหมาย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ เอกสารวิจัย บทความวิชาการที่เกี่ยวข้องต่างๆ และค้นคว้าข้อมูลทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นหลัก จากแหล่งข้อมูลทั้งภายในและภายนอกประเทศที่เกี่ยวกับการจัดหาล่ามในชั้นสอบสวน มาศึกษาเปรียบเทียบ วิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางในการสร้างกฎหมายให้ครอบคลุม ผลการศึกษาพบว่า แม้ประเทศไทยจะมีกฎหมายเกี่ยวกับการจัดหาล่าม คือ ประมวลกฎหามายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 ใช้อยู่แล้ว แต่ยังพบปัญหาจากตัวบทกฎหมายที่บัญญัติไม่ครอบคลุมในบางประเด็น ได้แก่ ประเด็นคุณสมบัติล่าม หากล่ามไม่มีคุณสมบัติเพียงพอก่อให้เกิดความเสียหายในกระบวนการสอบสวนเป็นอย่างยิ่ง อาจส่งผลให้การสอบสวนนั้นมิชอบด้วยกฎหมาย และประเด็นการจัดหาล่าม กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่าจะจัดหาล่ามได้จากที่ใด โดยวิธีการใด ทั้งสองประเด็นดังกล่าวมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง จากการศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศถึงคุณสมบัติและการจัดหาล่าม ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ พบว่ามีเนื้อหาสาระของกฎหมายในการจัดหาล่ามที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง หากนำมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดหาล่ามของประเทศดังกล่าว จะเกิดแนวทางในการประยุกต์ใช้แก้ปัญหาและอุปสรรคที่มีอยู่สมบูรณ์และเหมาะสมยิ่งขึ้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชลธิชา เกียรติสุข. (2554). การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชนในการดำเนินคดีทางศาล: ศึกษากรณีการให้ความช่วยเหลือทางด้านทนายความในคดีแพ่งโดยรัฐ. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชัยวุฒิ ออกฉิม. (2556). การเข้าถึงความยุติธรรมผ่านล่าม. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ.
ณฐอร ศรีสว่าง. (2558). การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมสำหรับผู้ที่ไม่พูดภาษาไทย: กรณีศึกษาระบบการจัดหาล่ามในจังหวัดแม่ฮ่องสอน. ใน สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศรัณยา เลิศศาสตร์วัฒนา. (2539). สิทธิของผูต้องหาและจำเลยในการมีล่ามในการดำเนินคดีอาญา. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิรินภา พัฒนภูทอง. (2560). มาตรการทางกฎหมายในการจัดหาล่ามให้จําเลยชาวต่างชาติในชั้นพิจารณาคดีอาญา. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ศูนย์ข่าวเพื่อชุมชน สำนักข่าวอิศรา. (2556). เผยผลวิจัยกระบวนศาลบกพร่อง-60% คดีชาวบ้านร้อง กสม.ผิดหลักสิทธิมนุษยชน. เข้าถึงได้จาก https://www.isranews.org/ community/comm-news/comm-politics/23390-humanright270513.html
สมนึก เขมทองคํา. (2559). การพัฒนาระบบการสอบสวนคดีอาญาของไทย. เข้าถึงได้จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/ phdssj/article/view/67243/54855
สราวุธ เบญจกุล. (2554). จริยธรรมล่ามในศาลยุติธรรม. เข้าถึงได้จาก https://mgronline.com/ daily/detail/954000004892
สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2551). ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา . ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 30 ก (หน้า 11). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.