ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น ภายใต้พระราชบัญญัติการเข้าชื่อ เสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2565

Main Article Content

อัจฉรา นิยม
สัญญพงศ์ ลิ่มประเสริฐ

บทคัดย่อ

           บทความวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบข้อกฎหมายเกี่ยวกับ
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นของประเทศไทย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ประเทศญี่ปุ่น และประเทศนอร์เวย์ รวมทั้งวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับ
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น ภายใต้พระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2565 ซึ่งยังพบว่ามีปัญหาที่สำคัญอยู่หลายประการ ทั้งปัญหา
เรื่องจำนวนผู้เข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น และปัญหาเรื่องการแต่งตั้งผู้แทนของผู้เข้าชื่อ
ร่วมเป็นกรรมการวิสามัญ เพื่อพิจารณาร่างข้อบัญญัติท้องถิ่น เพื่อเสนอแนะแนวทาง
การปรับปรุงแก้ไขและพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นของ
ประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


           ผลการศึกษาพบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น
พบปัญหาเรื่องจำนวนผู้เข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น ซึ่งความแตกต่างกันของจำนวนประชากรในแต่ละท้องถิ่นไม่สอดคล้องกับขนาดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากเป็นองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ อาจส่งผลให้การรวบรวมรายชื่อเพื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นทำได้ยาก และปัญหาเรื่องการแต่งตั้งผู้แทนของผู้เข้าชื่อร่วมเป็นกรรมการวิสามัญ เพื่อพิจารณาร่างข้อบัญญัติท้องถิ่น ก็มิได้กำหนดวิธีการคัดเลือกผู้แทนไว้แต่อย่างใด แต่กำหนดไว้เพียง
การคัดเลือกจากรายชื่อผู้แทนของผู้เข้าชื่อที่จะมีอำนาจในการพิจารณาข้อบัญญัติท้องถิ่น
ซึ่งหากเปรียบเทียบสัดส่วนของผู้เข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติกับสัดส่วนของผู้แทนผู้เข้าชื่อร่วมเป็นกรรมการวิสามัญ ถือว่าเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก


         จากการศึกษาโดยภาพรวมทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศข้างต้น ถึงแม้ว่าจะมี
การปกครองในระบอบประชาธิปไตย และมีการกระจายอำนาจรัฐในรูปแบบการปกครอง
ส่วนท้องถิ่น ในต่างประเทศที่กล่าวมาข้างต้น ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมได้ตั้งแต่ขั้นตอน
การเลือกตัวแทนเข้ามาบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งแตกต่างกับประเทศไทย ทั้งยังมี
การกำหนดจำนวนการรวบรวมชื่อที่ค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นที่มีการกำหนดให้สอดคล้องกับขนาดของจำนวนประชากร

Article Details

How to Cite
นิยม อ., & ลิ่มประเสริฐ ส. (2024). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น ภายใต้พระราชบัญญัติการเข้าชื่อ เสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2565. วารสารกฎหมายและสังคมรังสิต, 6(3), 14–28. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/RJL/article/view/5024
บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2559). รายงานผลการศึกษา เรื่องการกล่าวหา การชี้มูลความผิด ข้อทักท้วงและพฤติกรรมการกระทำความผิดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2563). ข้อมูลจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. เข้าถึงได้จาก https://www.dla.go.th/work/abt/download/summary_25630806.pdf

ณัฐธิดา บุญธรรม. (2557). สาธารณรัฐฟิลิปปินส์. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

นภาจรี จิวะนันทประวัติ. (2563). การปกครองท้องถิ่น – ประชาธิปไตยใกล้มือประชาชน. วารสารศาลรัฐธรรมนูญ, 22(65), 74.

นิยม รัฐอมฤต และคณะ. (2550). การปกครองท้องถิ่นเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Brian James Lu. (2024). People’s Council: Strengthening public participation in governance. Retrieved from The Philippine News Agency: https://www.pna.gov.ph/opinion/pieces/849-peoples-council-strengthening-public-participation-in-governance

CLAIR: Council of Local Authorities for International Relations. (2019). Local Government in Japan 2016 (2019 Revised Edition). Retrieved from https://www.clair.or.jp/j/forum/pub/docs/jichi2019-en.pdf

Etemadi, F. U. (2000). Civil Society participation in city governance in Cebu City. Environment & Urbanization, 12(1), 57-72.

European Commission. (2023). Norway. Retrieved from European Commission: https://eurydice.eacea.ec.europa.eu/national-education-systems/norway/main-executive-and-legislative-bodies

Moldez, R. G. (2015, December 07). People’s Participation in the Local Legislation Process: Recent Experiences in Cagayan de Oro City. Retrieved from SSRN: https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=2699921

UN Women. (2023). Local government country profile. Retrieved from https://localgov.unwomen.org/country/JPN

Zillman, D. M. (2002). Human Rights in Natural Resource Development: Public Participation in the Sustainable Development of Mining and Energy Resources. United Kingdom: Oxford University Press.