กฎหมายเกี่ยวกับการลดความรุนแรงการบังคับคดียาเสพติด ในสหภาพยุโรป

Main Article Content

จิรวุฒิ ลิปิพันธ์

บทคัดย่อ

         ในสหภาพยุโรปมีนโยบายในการใช้มาตรการทางกฎหมายสำหรับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดระดับเล็ก (Soft Drugs Offender) เพื่อลดอัตราส่วนโทษ Harm Reduction และหันไปใช้มาตรการบังคับโทษทางเลือกนอกจากจำคุก เช่น ฟื้นฟูบำบัดรักษา คุมประพฤติ ฝึกอบรม พักการลงโทษ หรือโทษอื่นๆทำนองเดียวกัน เพื่อลดจำนวนผู้ต้องขังในเรือนจำ ให้เหลือเฉพาะผู้กระทำความผิดโทษหนัก (Hard Drugs Offender) มาตรการลดความรุนแรงจากการใช้ยาเสพติดได้พัฒนาและเกิดมาตรการใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะมาตรการของกฎหมายทางการแพทย์และสาธารณสุขใหม่ๆ ได้แก่ ลดทอนความผิดอาญา นโยบายทางนิติบัญญัติในการลดความรุนแรงในการบังคับคดียาเสพติด การจำแนกกลุ่มของสารเสพติด การจัดประเภทสารเสพติดให้เหมาะสมกับความผิดอาญา การครอบครอง อัตราโทษ การลงโทษให้ได้สัดส่วนกับผู้กระทำความผิดและยาเสพติด ตลอดทั้งมาตรการในทางสุขภาพและความปลอดภัย เช่น การใช้สารทดแทน การแจกเข็มฉีดยา การใช้ห้องเสพยาเสพติด เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นวิธีการหรือนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ประเทศไทยน่าจะทำการศึกษาเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในสิ่งที่จะช่วยลดอันตรายจากความรุนแรงหรืออันตรายจากการใช้ยาเสพติดของบุคคลและมุ่งคุ้มครองสังคมได้อย่างปลอดภัยยั่งยืน จึงมีข้อแนะนำว่าเพื่อการปรับนโยบายในทางกฎหมายของประเทศไทยให้ลดการปราบปรามด้วยกระบวนการยุติธรรมทางอาญา การกำหนดความผิดอาญาที่รุนแรงกับผู้เสพ และให้เพิ่มมาตรการทางกฎหมายในการลดความรุนแรง และมาตรการทางกฎหมายทางการแพทย์และสาธารณสุขเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้เกิดมิติในการดูแลสุขภาพอนามัยบุคคล การคุ้มครองบุคคลในการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด และการคุ้มครองสังคม

Article Details

How to Cite
ลิปิพันธ์ จ. (2022). กฎหมายเกี่ยวกับการลดความรุนแรงการบังคับคดียาเสพติด ในสหภาพยุโรป. วารสารกฎหมายและสังคมรังสิต, 2(3), 16–26. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/RJL/article/view/509
บท
บทความวิชาการ

References

จิรวุฒิ ลิปิพันธ์. (2562). การลดความรุนแรงในการบังคับคดียาเสพติด. ใน ดุษฎีนิพนธ์นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Agence France-Presse. (2018). Norway trials free heroin prescriptions for most serious addicts. Retrieved from The Guardian: https://www.theguardian.com/world/2018/aug/10/norway-trials-free-heroinprescriptions-for-most-serious-addicts

Blickman Tom & Jelsma Martin. (2009). Drug Policy Reform in Practice: Experiences with alternatives in Europe and the US. Retrieved from Nueva Sociedad: http://www.nuso.org/upload/articulos/3623

EMCDDA. (2018). European Monitoring Centre for Drugs and Drug Addiction. In Germany Drug Report 2018. Lisbon Portugal: EMCDDA.

EMCDDA. (2018). Trends and Developments. In European Drug Report 2018. Lisbon Portugal: EMCDDA.

European Union. (2018). Statement on the Occasion of the CND Intersessional Meeting. United Nations Office for Drugs and Crime: Australia.

Guardiola J., Rovira. (2018). Global State of Harm Reduction 2018 survey response. London United Kingdom: Harm Reduction International.

Hanney T. (2018). Ireland National Statement. In United Nations Office for Drugs and Crime. London United Kingdom: Harm Reduction International.

Klein P. (2018). Global State of Harm Reduction 2018 survey response. London United Kingdom: Harm Reduction International.

Medical Dictionary. (2012). Farlex, Inc and McGraw-Hill Concise Dictionary of Modern Medicine. New York USA: The McGraw-Hill Companies.

Schäffer D. (2018). Global State of Harm Reduction 2018 survey response. London United Kingdom: Harm Reduction International.

Stöver H. (2018). Global State of Harm Reduction 2018 survey response. London United Kingdom: Harm Reduction International.

Strang J, Groshkova T, Metrebian N. (2012). New Heroin-assisted Treatment. Luxembourg: European Monitoring Centre for Drugs and Drug Addiction. Lisbon Portugal.