การลงโทษให้เหมาะกับบุคคลในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

Main Article Content

สมบัติ ชัยวณิชย์

บทคัดย่อ

         การกำหนดโทษเหมาะสมกับบุคคลของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี Prof.Dr.h.Urs Kindhäuser ศาสตราจารย์ด้านกฎหมายแห่งมหาวิทยาลัยบอนน์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี อธิบายว่า “สิ่งสำคัญของการกำหนดโทษให้เหมาะสมกับบุคคล คือ ข้อมูลที่ชัดเจน และการตรวจสอบในกระบวนการในการกำหนดโทษ ตามกฎหมายของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีศาลจะมีบทบาทในการค้นหาความจริง และในทางปฏิบัติศาลก็ใช้อำนาจดังกล่าวตามกฎหมาย โดยหากศาลเห็นว่าข้อมูลที่อัยการกับตำรวจส่งมาอาจไม่เพียงพอหรือไม่ถูกต้อง เช่น รูปถ่ายยังไม่เพียงพอ ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญไม่เพียงพอ ศาลสามารถสั่งให้สอบใหม่ หรือให้สอบเพิ่ม ซึ่งจะยิ่งทำให้ข้อมูลชัดเจนหนักแน่นยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นจุดแตกต่างของระบบการกำหนดโทษของเยอรมนีกับระบบคอมมอนลอว์อย่างเช่นสหราชอาณาจักรหรือสหรัฐอเมริกาซึ่งศาลจะไม่สามารถทำแบบนี้ได้  เยอรมนีจึงเห็นว่าควรให้อำนาจในการตรวจสอบค้นหาความจริงต่อศาลซึ่งเป็นบุคคลที่สำคัญในการทำเกิดความชัดเจนและการตรวจสอบครั้งที่สองอีกครั้ง คือ การที่อัยการก็ตรวจสอบมาครั้งหนึ่งและศาลก็มาตรวจสอบอีกครั้ง อำนาจของศาลในการค้นหาความจริงจึงเป็นจุดที่ทำให้การลงโทษเหมาะสมกับการกระทำความผิดของบุคคล เพราะทำให้โทษที่กำหนดผ่านการตรวจเช็คด้วยองค์กรของรัฐถึง 2 องค์กร โดยในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมีกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและการปฏิบัติเช่นนี้ ซึ่งได้ผลดีมากในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา โดยเฉพาะในการกำหนดโทษบุคคล คือทำให้เกิดการลงโทษอย่างเหมาะสมกับบุคคล ด้วยเหตุผลว่าแม้จะผ่านการตรวจสอบมาแล้วถึง 2 องค์กร ก็อาจคลาดเคลื่อนผิดพลาดได้ เพราะเป็นการกระทำของมนุษย์

Article Details

How to Cite
ชัยวณิชย์ ส. (2022). การลงโทษให้เหมาะกับบุคคลในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี. วารสารกฎหมายและสังคมรังสิต, 2(3), 27–42. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/RJL/article/view/514
บท
บทความวิชาการ

References

คณิต ณ นคร. (2563). กฎหมายอาญาภาคทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

ณรงค์ ใจหาญ และคณะ. (2548). รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยเรื่องศึกษาความเป็นไปได้ในการกำหนดชั้นโทษและการนำไปปรับใช้ในประมวลกฎหมายอาญา. กรุงเทพมหานคร: สำนักกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม.

ณัฐพงษ์ สัสดิ์วงษ์พร. (2550). การค้นหาความจริงจากภูมิหลังของผู้ต้องหาในชั้นสอบสวน. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมบัติ ชัยวณิชย์. (2563). การลงโทษให้เหมาะสมกับบุคคล. ใน ดุษฎีนิพนธ์นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์. (2548). การใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษ. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา สำนักวิชาการศาลยุติธรรม สถาบันวิจัยรพีพัฒนศักดิ์ สำนักงานศาลยุติธรรม.

Kindhäuser. (2015). Strafgesetzbuch. Germany: Bonn.

Langbein John H. (1977). Comparative Criminal Procedure : Germany. USA: West Publishjng Company.

Ostendorf Heribert. (2012). Strafprozessrecht. Germany: Baden-Baden.

Roxin Claus. (2006). Strafrecht Allgemeiner Teil. Germany: Verlag C.H.Beck.

Weigend Thomas. (1983). Sentencing in WestGermany. USA: Maryland L.