UNGASS 2016 กับนโยบายการแก้ไขปัญหายาเสพติดของไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัญหายาเสพติดสร้างความเสียหายและส่งผลกระทบต่อประชาคมโลก จึงทำให้องค์การสหประชาชาติ เข้ามามีบทบาทในการป้องกันและแก้ไขปัญหา โดยการกำหนดมาตรฐานและแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโดยใช้เวทีระหว่างประเทศ ในปี 2016 องค์การสหประชาชาติจึงได้จัดให้มีการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติสมัยพิเศษว่าด้วยปัญหายาเสพติดโลก หรือ UNGASS 2016 เพื่อทบทวนหลักเกณฑ์มาตรการและแนวทางการดำเนินงานแก้ไขปัญหายาเสพติด ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพปัญหาที่เป็นจริงจึงได้พบว่าการดำเนินงานที่ผ่านมาซึ่งเน้นการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด การลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างรุนแรงไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ความเป็นจริงที่จำเป็นต้องคำนึงถึงหลักการทางด้านสาธารณสุข และหลักมนุษยธรรม เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับปัญหายาเสพติดมีสถานะเป็น “ผู้เสพที่ไม่มีปัญหา” จึงควรได้รับการดูแลด้านสุขภาพ สามารถเข้าถึงยาที่จำเป็นภายใต้การกำกับดูแลอย่างมีมนุษยธรรม เพื่อให้ประเทศภาคีสมาชิกนำไปสู่การปฏิบัติเรียกว่า “พันธสัญญาร่วมกันของเราเพื่อจัดการและตอบโต้ปัญหายาเสพติดอย่างมีประสิทธิผล” ซึ่งเป็นมิติใหม่ในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ที่ประเทศภาคีทุกประเทศควรให้ความสำคัญและนำมาปรับใช้ให้เหมาะสม ประเทศไทยได้เข้าร่วมประชุม UNGASS 2016 อย่างเป็นทางการแต่กลับละเลยมิให้ความสำคัญต่อข้อมติดังกล่าวจะเห็นได้จากตลอดระยะเวลา 4 ปี หลังจากการประชุมยังมิได้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายหรือแนวทางการปฏิบัติที่สอดคล้องกับข้อมติจากการประชุม เพื่อใช้แก้ไขปัญหายาเสพติดของไทย สมควรที่จะมีนโยบายเร่งรัดนำข้อมติจากการประชุมมาสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กอบกูล จันทวโร และคณะ. (2559). รายงานการศึกษาและข้อเสนอทางกฎหมายสำหรับผู้กระทำผิดคดียาเสพติด เพื่อเป็นข้อเสนอในการประชุมสหประชาชาติสมัยพิเศษ UNGASS. กรุงเทพมหานคร: สำนักกิจการในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา.
จิรวุฒิ ลิปิพันธ์. (2562). การลดความรุนแรงในการบังคับคดียาเสพติด. ใน ดุษฎีนิพนธ์นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
จิรวุฒิ ลิปิพันธ์ และคณะ. (2563). มาตรการลดความรุนแรงในการบังคับคดียาเสพติดประเภทต่างๆที่ใช้ในประเทศต่างๆ ในโลก. วารสารสุทธิปริทัศน์, 34(110), 201-215.
United Nations. (2559). ผลการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยพิเศษว่าด้วยปัญหายาเสพติดโลก สรุปผลการประชุมต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี และมติคณะรัฐมนตรี . เข้าถึงได้จาก https://www.tni.org/en/ briefing/human-rights-drug-policy
Global Commission on Drug Policy. (2018). Taking Control. Vienna: United Nation.
UNODC. (2016). Our Joint Commitment to the Effectirely Addressing and Countering the world Drug Problem. New York: United Nations.
UNODC. (2018). World Drug Report. Vienna: United Nations.