มาตรการทางกฎหมายในการใช้ประโยชน์พื้นที่การประมงและการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลชายฝั่ง ในเขตพื้นที่ตำบลตะกาดเง้า อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาข้อมูลในเขตชุมชนตะกาดเง้านั้น พบว่าเรือประมงพื้นบ้านมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทั้งที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายและไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เกิดการแก่งแย่งในการจับสัตว์น้ำเพื่อการดำรงชีพมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีพื้นที่จำกัดในการเดินเรืออันเนื่องมาจากการเพาะเลี้ยงหอยนางรมของชาวบ้านที่มีจำนวนมากจนเกินพอดีและเป็นผลให้แม่น้ำลำคลองตื้นเขินไม่สามารถเดินเรือได้ในบางพื้นที่อีกด้วย จึงต้องมีมาตรการในการกำหนดเขตพื้นที่ในการเพาะเลี้ยงหอยนางรมเป็นสัดส่วนและเว้นระยะของร่องน้ำเพื่อการเดินเรือประมงด้วย นอกจากนี้ปัญหาที่กระทบต่อทรัพยากรทางทะเลที่เกิดขึ้นจากอาชีพประมงที่มีการลักลอบจับสัตว์น้ำเกินกฎหมายกำหนด โดยไม่ได้คำนึงถึงการเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางทะเลหรือเกิดความไม่สมดุลของระบบนิเวศ
ซึ่งการวิจัยนี้ได้ศึกษาในรูปแบบของการวิจัยเชิงเอกสาร โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องและนำมาวิเคราะห์เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ชาวบ้านในชุมชนตะกาดเง้าเพาะเลี้ยงหอยนางรมบริเวณลำคลองมากจนเกินสมดุลของธรรมชาติ ส่งผลให้เกิดลำคลองตื้นเขินกระทบต่อชาวบ้านที่ทำอาชีพประมงเป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ดี การทำอาชีพประมงของชาวบ้านเองก็ทำให้ทรัพยากรทางทะเลเสื่อมโทรมด้วยเช่นกัน อันเนื่องมาจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องไม่สามารถควบคุมจำนวนเรือและปริมาณการจับสัตว์น้ำได้ ซึ่งนับได้ว่าเป็นการขาดประสิทธิภาพของการจัดการประมงชายฝั่ง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2555). แนวทางการบริหารจัดการทุ่นเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทาง
และชายฝั่ง. กรุงเทพมหานคร: สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะและชายฝั่ง.
กรมประมง. (2555). แผนแม่บทการจัดการประมงทะเลไทย. กรุงเทพมหานคร: กรม
กังวาลย์ จันทรโชติ. (2544). กฎหมายและระเบียบเพื่อการจัดการประมงโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุน
สนับสนุนการวิจัย.
กาญจนา นาคสกุล (25552) ประชาพิจารณ์ เรียกใช้เมื่อ 2 สิงหาคม 2561 จากhttp://www.royin.
go.th/th/knowledge/detail.php-1D-147
การจัดตั้งกรมประมงทะเล. (2553) ใน รายงานการศึกษา. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
โกเมท ทองภิญโญ. (2553). ภาวะโลกร้อน(Global Warming) กันภารกิจของอัยการ. กรุงเทพมหานคร
สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายกฎหมาย
เจต พิมลจินดา. (2544). กลยุทธ์การมีส่วนร่วมของชุมชนประมงในการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง: กรณีศึกษาอ่าว
พังงา. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิชาการทหารเรือ.
ชลิตา บัณฑูวงศ์. (2543)..พัฒนาการ ลักษณะ และการปรับตัวของชาวประมงพื้นบ้านอันดามัน..กรุงเทพมหานหานคร
:อักษรไทย.
ทรงยศ สรีรัตนันท์ (2553) กรีนโอที: เทคโนโลยีสารสนเทศที่พอเพียงและยังยืน. วารสารวิชาการพระจอมเกล้า
พระนครเหนือ, 20(2), 393-398.
บรรจง นะแส. (2545), การจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชน: กรณีศึกษาจากชุมชนชาวประมงพื้นบ้านภาคใต้.
กรุงเทพมหานคร. โครงการจัดการทรัพยากรชายฝังภาคได้.
ปิยะมาศ สามสุวรรณ และ สมทิพย์ ด่านธีรวนิชย์ (2552). การมีส่วนร่วมของนักศึกษาต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมที่
เกี่ยวข้องกับ.กิจกรรมการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี.การ
ประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พิสุทธิ์ เพียรมนกุล และนายรัฐพล เจียวิริยะบุญญา. (2560). การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร
ทะเลและทรัพยากรทางทะเลอย่างยังยืน: กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
วิรินทร์ เมฆประดิษฐสิน (2554) แนวโน้มและเหตุผลในการประยุกต์ใช้ Green IT ที่ควรพิจารณาก่อนที่จะสาย
เกินแก้.วารสารไมโครคอมพิวเตอร์. 29(3) 63-77.
วิทิต มันธุราภรณ์และคณะ (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
กฎหมาย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช.2560
พระราชบัญญัติการประมง พุทธศักราช 2558
พระราชกำหนดการประมง พุทธศักราช 2558
พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พุทธศักราช 2558