นวัตกรรมทางนโยบายและกฎหมายในการจัดการกับปัญหายาเสพติดในการลดอันตรายต่อสุขภาพผู้เสพและความปลอดภัยและมั่นคงของสังคมโดยใช้ห้องบริโภค ยาเสพติดในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาวิเคราะห์มาตรการในการจัดการกับปัญหายาเสพติดโดยใช้ห้องบริโภคยาเสพติด ในต่างประเทศไม่น้อยกว่า 6 ประเทศ และผลกระทบที่เกิดขึ้น 2. หารูปแบบที่เหมาะสมและมีความเป็นไปได้ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติของประเทศไทย 3. นำรูปแบบที่จะเกิดขึ้นในวัตถุประสงค์ข้อ 2 วิเคราะห์หาความเป็นไปได้ที่จะนำไปพัฒนาต่อเพื่อการใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
จากการศึกษาพบว่าเป้าหมายของการเปิดใช้ “ห้องบริโภคยาเสพติด” มีความจำเป็นฉุกเฉินที่มุ่งหมายเพื่อสุขภาพผู้เสพ ความปลอดภัย และความมั่นคงของสังคมเป็นหลัก ในช่วงภาวะวิกฤติและในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของยาเสพติดสูงซึ่งอาจมีผู้เสียชีวิต รวมถึงการลดอันตรายจากการบำบัดรักษาโดยวิทยาการทางการแพทย์ การมี “ห้องบริโภคยาเสพติดในศูนย์ลดอันตรายการเสพติดภายใต้การดูแลของแพทย์” (Drug Consumption room for treatment) ใน (Drop in Center) หรือในสถานพยาบาล ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยพบปัญหาไม่สามารถควบคุมการเสพยาเสพติดได้และไม่มีใครทราบระดับของอันตรายของผู้เสพ วิธีนี้จะเป็นการจำกัดพื้นที่การบริโภคยาและการใช้อุปกรณ์ให้อยู่ในความดูแลของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ที่ระบุตัวผู้เสพยาเสพติดด้วยการขึ้นทะเบียน ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า รัฐต้องกำหนดนโยบายและใช้มาตรา 55 แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด กำหนดพื้นที่การเสพยาเสพติดให้อยู่ภายใต้การบำบัดรักษาของแพทย์และอยู่ในสถานพยาบาล ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต) หรือโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชน และให้มีการออกระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการบริหารงานให้สอดคล้องกันในการดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานตนเอง ให้มีการร่วมมือกันของหน่วยต่างๆ ในชุมชนในการบริหารจัดการ ได้แก่ ครอบครัว วัด โรงเรียน ชุมชน อาสาสมัคร หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แพทย์ บุคลากรทางสาธารณสุข ตำรวจ เป็นต้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กอบกูล จันทวโร และคณะ. (2559). รายงานการศึกษาและข้อเสนอทางกฎหมายสำหรับผู้กระทำผิดคดียาเสพติด เพื่อเป็นข้อเสนอในการประชุมสหประชาชาติสมัยพิเศษ UNGASS. กรุงเทพฯ: สำนักกิจการในพระดำริพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา.
จิรวุฒิ ลิปิพนธ์ และคณะ. (2563). มาตรการลดความรุนแรงในการบังคับคดียาเสพติดประเภทต่างๆ ที่ใช้ในประเทศต่างๆ ในโลก. วารสารสุทธิปริทัศน์, 34(110), เมษายน-มิถุนายน 2563.
ธานี วรภัทร์. (2563). มาตรการทางกฎหมายในการลดอันตรายจากการใช้กัญชาทางการแพทย์. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(2), กุมภาพันธ์ 2563.
ธานี วรภัทร์ และคณะ. (2563). นโยบายและมาตรการทางกฎหมายในการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.).
Barnett P.G. (1999). The Cost Effectiveness of Methadone Maintenance as a Health Care Intervention. Addiction, 94(4), 479-488.
EHRN. (2014). Preventing Avoidable Deaths: Essentials and Recommendations On Opioid Overdose. Porto: European Harm Reduction Network.
EMCDDA. (2018). Germany Drug Report 2018. Lisbon: European Monitoring Centre for Drugs and Drug Addiction.
Ministry of Health. (2005). Harm Reduction: A British Columbia Community Guide. British Columbia: Vancouver:Canada.
National Infection Service. (2018). Unlinked Anonymous Monitoring Survey of People. London:Public Health England.