สมรรถนะด้านการสื่อสารของผู้บริหารเพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -
Main Article Content
บทคัดย่อ
สมรรถนะด้านการสื่อสารของผู้บริหารมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างแรงจูงใจและประสิทธิภาพการทำงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างมาก อย่างไรก็ตามปัญหาที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารของผู้บริหารในองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นประเด็นสำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานภายในองค์กร ซึ่งอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดและการปฏิบัติงานที่ไม่ตรงตามเป้าหมายหรืออาจลดทอนประสิทธิผลของการงานได้เช่นกัน บทความนี้จึงมุ่งหมายแสวงหารูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพของผู้บริหารเพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่บุคลากรในหน่วยงาน ซึ่งพบว่าหากองค์กรมีผู้บริหารที่มีสมรรถนะด้านการสื่อสารสูง จะส่งผลให้สามารถสร้างความเข้าใจในเป้าหมายและทิศทางขององค์กรร่วมกับบุคคลากรได้อย่างชัดเจนและเป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อการสร้างแรงจูงใจแก่บุคลากรให้มีความกระตือรือร้นรวมถึงการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนองค์กร การใช้ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายและทันสมัย การใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารแบบพบปะเป็นกลไกสำคัญสำหรับการเสริมสร้างความไว้วางใจแก่บุคลากรในองค์กร นอกจากนี้ การสร้างบรรยากาศการสื่อสารที่เปิดกว้างและโปร่งใสเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการช่วยกระตุ้นความร่วมมือและพัฒนาศักยภาพในการทำงานของบุคลากรในองค์กร ช่วยลดปัญหาความขัดแย้งและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เกรียงศักดิ์ แสงสว่าง. (2566). ภาวะผู้นำและวัฒนธรรมองค์กรที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการการจัดการภาครัฐและเอกชน คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น, 5(1), 113-127.
เอกกร มีสุข และคณะ. (2567). การสื่อสารของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นเลิศ. Journal of Roi Kaensarn Academi, 9(7), 1164–1185.
เอกกร มีสุข และคณะ. (2567). การสื่อสารคุณลักษณะของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อสร้างความนิยมทางการเมืองในพื้นที่ภาคใต้. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 12(4), 1310-1325.
เอมอร เสือจร และคณะ. (2567). การนำนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา กองส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 7(1), 285–315.
ปวีร์รวี อินนุพัฒน์ และคณะ. (2567). การสื่อสารของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อสร้างองค์กรดิจิทัล. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(11), 150-162.
ภวัต พัฒนนิภากร และเสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร. (2562). บทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่ไทยแลนด์ 4.0. วารสาร มจร. อุบลปริทรรศน์, 4(1), 1-20.
มุทิตา ภู่ระหงษ์. (2564). การสื่อสารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุม, 13(1), 309-327.
ยงยุทธ นุฤทธิ์มนตรี และคณะ. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารในองค์กร. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 12(4), 186-206.
ยุภา นารินนท์. (2563). ผู้นำท้องถิ่นกับการสื่อสาร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร. วิทยาเขตอีสาน, 1(3), 38-44.
สำรวย พยอมใหม่. (2565). การติดต่อสื่อสารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงาน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(7), 319-336.
สิทธิพันธ์ พูนเอียด. (2568). การสื่อสารเพื่อเสริมสร้างการบริหารจัดการองค์กรที่ดีของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ออระญา ปะภาวะเต และบุญชม ศรีสะอาด. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. Journal of Modern Learning Development, 6(4), 191-200.
A. T. Himmelman. (2001). Collaboration for a change: Definitions, decision-making models, roles,and collaboration process guide. Minneapolis: Himmelman Consulting.
C. Arin and W. Papitchaya. (2023). Enhancing effective employee communication through organization development process to improve teamwork: a case study of a faculty at a private university. Panyapiwat Journal, 15(3), 105-121.
C. R. Rogers and R. E. Farson. (1987). Active listening. Chicago: University of Chicago Industrial Relations Center.
J. A. Nielsen and H. H. Salomonsen. (2012). Why all this communication? Explaining strategic communication in Danish local governments from an institutional perspective. Scandinavian Journal of Public Administration, 16(1), 69–89.
J. Brownell. (2012). Listening: Attitudes, principles, and skills (5th ed.). Pearson.
K. Rajhans and T. Shome. (2016). The impact of organizational communication satisfaction on employee productivity. International Journal of Applied Marketing and Management, 1(1), 13-23.
M. M. Musheke and J. Phiri. (2021). The effects of effective communication on organizational performance based on the Systems Theory. Open Journal of Business and Management, 9(2), 659-671.
N. Y. Zulkeifli, et al. (2023). Communication as a Strategy in Enhancing an Organization Performance. International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences, 13(10), 2228-2235.