ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลผู้สูงอายุ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผู้สูงอายุคือบุคคลที่อยู่ในช่วงวัยของการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ อีกทั้งยังมีแนวโน้มประชากรผู้สูงอายุมากยิ่งขึ้น การดูแลบุคคลวัยนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ปัจจุบันมีการกระจายอำนาจจากราชการส่วนกลางให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มอบอำนาจและหน้าที่แก่ท้องถิ่นเพื่อการจัดระบบการบริการสาธารณะเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุเพื่อการสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ทั้งนี้ การดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำเป็นต้องมีเครื่องมือสำคัญคือ กฎหมายในการที่จะนำไปบังคับใช้เพื่อดูแลผู้สูงอายุในท้องถิ่น บทความวิชาการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการบังคับใช้กฎหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลผู้สูงอายุ โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ศึกษา นำมาวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงพรรณนา โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา จากการศึกษาพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประสบปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายบางประการซึ่งส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของการดำเนินงานที่เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ไม่มีกฎหมายเฉพาะในการดูแลผู้สูงอายุ ปัญหาเกี่ยวกับความไม่เสมอภาคในการดูแลผู้สูงอายุโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและปัญหาการมีส่วนร่วมระหว่างผู้สูงอายุกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลผู้สูงอายุที่ยังไม่มีความเหมาะสม ซึ่งปัญหาทางกฎหมายที่กล่าวมานี้ทำให้การบังคับใช้กฎหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการดูแลผู้สูงอายุไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนั้นหากมีการแก้ไขกฎหมายให้มีความสอดคล้องกับบริบทในการดำเนินงานที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็จะสามารถส่งเสริมการดูแลคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสมและมีความยั่งยืนต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
โกวิทย์ พวงงาม. (2552). คู่มือประชาชนสำหรับการรับข้อมูลข่าวสารและการมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.
โชติ ชูติกาญจน์. (2562). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหลักอำนาจโดยทั่วไป. วารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์, 12(4). 597 - 610.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2560). ยุทธศาสตร์กรมกิจการผู้สูงอายุ 20 ปี ประจำปี พ.ศ. 2561–2580. กรุงเทพมหานคร: สามลดา.
กัญญาณัฐ ไฝคำ. (2561). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 7(2). 19 - 26.
จุมพล ศรีจงศิริกุล และคณะ. (2555). ศึกษามาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศในการจัดสวัสดิการและสิ่งอํานวยความสะดวกให้แก่ผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: รายงานวิจัยเสนอ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ และกอบกุล รายะนาคร. (2552). การขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อการจัดบริการสาธารณะที่ดี. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
ปราโมทย์ ประสาทกุล. (2557). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2556. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับชิ่ง.
พลกฤต แสงอาวุธ. (2558). รูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 6(2). 266 - 282.
วุฒิสาร ตันไชย. (2557). การกระจายอำนาจและประชาธิปไตยในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
สิทธิพันธ์ พูนเอียด และศลทร คงหวาน. (2564). แนวทางการจัดสวัสดิการสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(5). 18 - 30.
สุดารัตน์ สุดสมบูรณ์ และคณะ. (2559). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลผู้สูงอายุไทย. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 9(1). 121 - 127.
สุรีย์พร พันพึ่ง และมาลี สันภูวรรณ์. (2554). ประชากรและสังคม 2554. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
อำนวย บุญรัตนไมตรี และนิพนธ์ ไตรสรณะกุล. (2558). การบริหารงานบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีการบริหารเทศบาลตามมาตรฐานการจัดทำบริการสาธารณะด้านโครงสร้างพื้นฐาน. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 17(2). 93 - 108.
United Nations. (2020, October). World Population Ageing 2020 Highlights. Retrieved from United Nations Department of Economic and Social Affairs: https://www.un.org/development/desa/pd/. #UNPopulation