ห้องบริโภคยาเสพติดในสหราชอาณาจักร

Main Article Content

จิรวุฒิ ลิปิพันธ์

บทคัดย่อ

          จากหลักสำคัญที่ว่า “ผู้เสพยาเสพติดคือผู้ป่วย” จะถูกตอบสนองหลักการนี้โดยการมี “ห้องบริโภคยาเสพติด” ภายใต้การบริหารจัดการของงานทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีการจัดการทำงานร่วมมือกับฝ่ายปกครองและชุมชนท้องถิ่น ซึ่งใช้ได้ผลดีใน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี แคนาดา ราชอาณาจักรเดนมาร์ก สหราชอาณาจักร เป็นต้น เหตุผลสำคัญคือ ผู้เสพที่เดิมต้องพึ่งพายาเสพติดจากพ่อค้ายาเสพติดที่ผิดกฎหมาย และยังต้องหลบซ่อนจากสายตาของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ได้มีโอกาสมีทางเลือกใหม่ที่ดีกว่า ได้ยาเสพติดที่บริสุทธิ์ภายใต้การดูแลต่อสุขภาพของเขาโดยรัฐและไม่ผิดกฎหมาย โดยการที่รัฐจัดให้มีห้องบริโภคยาเสพติดไปพร้อมๆ กับการบำบัดรักษาทางการแพทย์อย่างถูกต้องแท้จริง ภายใต้กฎหมายลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด เพื่อการจัดการที่ดีและมีประสิทธิภาพ


          ผู้เสพยาเสพติดในระบบนี้จะต้องขึ้นทะบียนผู้เสพยาเสพติดกับภาครัฐ จึงจะพ้นจากความรับผิดทางอาญา การขึ้นทะเบียนจึงเป็นวิธีการลดทอนความผิดในทางอาญาเกี่ยวกับยาเสพติด และทำให้ผู้เสพยาเสพติดมั่นใจในระบบสาธารณสุข ซึ่งทำให้รัฐสามารถระบุตัวบุคคลและจำนวนที่แท้จริงได้ และยังแยกให้เห็นชัดเจนถึงพฤติกรรมการเป็นผู้เสพ ซื้อขายเพื่อเสพหรือครอบครองเพื่อเสพ ออกจากอาชญากรในความผิดยาเสพติดได้อย่างชัดเจน ไม่ถูกเหมารวมไปฟ้องร้องดำเนินคดีซึ่งคนกลุ่มนี้ต้องถูกจำคุกในเรือนจำเป็นจำนวนมากและลดการใช้มาตรการการล่อซื้อ ลดอันตรายของผู้เสพยาเสพติดเองและลดอันตรายต่างๆ ให้กับสังคมจากผู้เสพยา

Article Details

How to Cite
ลิปิพันธ์ จ. (2022). ห้องบริโภคยาเสพติดในสหราชอาณาจักร. วารสารกฎหมายและสังคมรังสิต, 4(1), 61–79. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/RJL/article/view/987
บท
บทความวิชาการ

References

กำจัด พ่วงสวัสดิ์. (2561). “การเสพติด.” วารสารกำลังใจ. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-กันยายน.น. 33-35.

ธานี วรภัทร์. (2564). ห้องบริโภคยาเสพติด. วารสารกำลังใจ. ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-กันยายน 2564. น. 29-34.

อิงครัต ดลเจิม และคณะ (2561). “กระบวนการยุติธรรมกับระบบทุนนิยม.” สำนักกิจการในพระดำริพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา. น. 16.

อิงครัต ดลเจิม และคณะ. (2563). “การพัฒนากฎหมายสาธารณสุขในการอภิบาลผู้ป่วยจากยาเสพติดในวัยรุ่น” สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.)

Charlie Lloyd. and Neil Hunt. (2007). Drug consumption rooms: An overdue extension to harm reduction policy in the UK?. International Journal of Drug Policy 18 (2007) 5–9 p.1

Dagmar Hedrich. (2004). European report on drug consumption rooms. Luxembourg: Office for Official Publications of the European Communities.

Mark A.R Kleiman. and James E. Hawdon. (2011). Encyclopedia of Drug Policy. USA:SAGE Publications, Inc.

Steve Sussman. (2017). Substance and Behavioral Addiction:Concept, Causes, and Cures. Cambridge University. แปลโดย พงษ์ศักดิ์ กาญจนาคพันธ์ ในโครงการสำนักกิจการในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา,2560