ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา

ผู้แต่ง

  • สุภัชฌาน์ ศรีเอี่ยม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • ชาญชัย วงศ์สิรสวัสดิ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • สุชาติ สืบทอง โรงเรียนหอวัง ปทุมธานี

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, บทบาทของผู้นำ, งานวิชาการ, สถานศึกษา

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งประกอบด้วย 6 ด้าน ดังนี้

1. การกำหนดวิสัยทัศน์ หมายถึง ผู้บริหารกำหนดเป้าหมายด้านวิชาการของโรงเรียนโดยให้บุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมพร้อมทั้งประเมินประเมินความต้องการของครู

2. การนิเทศภายใน หมายถึง ผู้บริหารเยี่ยมห้องเรียนให้คำชี้แนะ ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนในด้านการเรียนการสอน ระหว่างผู้บริหารสถานศึกษากับครูในสถานศึกษานั้น เพื่อปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอน

3. การส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ หมายถึง ผู้บริหารร่วมมือในการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในโรงเรียน ผู้บริหารมีการส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครู นักเรียน

4. การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง ผู้บริหารจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาเป็นกระบวนการในการปรับปรุงหลักสูตรหรือการสร้างหลักสูตรใหม่ที่เหมาะสมเพื่อปรับเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง

5. การพัฒนาวิชาชีพ หมายถึง ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมพัฒนาปรับปรุง ให้ครูมีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ การวางแผนพัฒนาวิชาชีพ การส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาชีพครู

6. การจัดการด้านการเรียนการสอน หมายถึง ผู้บริหารสถานศึกษาร่วมมือกับครูผู้สอนกำหนดแนวทางในการพัฒนาการเรียนรู้

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

คุรุสภา. (2556). สาระความรู้สมรรถนะและประสบการณ์วิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพครูผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและศึกษานิเทศก์ตาม ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

จุฑามาศ อินนามเพ็ง. (2552). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารและครูผู้สอนที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ชฎากาญจน์ เจริญชนม์. (2553). ภาวะผู้นำทางวิชาการที่มีต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1. [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธวัช บุญยมณี. (2550). ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2554). CCPR โมเดลกระบวนทัศน์ใหม่ของผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). การเรียนรู้สู่อนาคตความท้าทายในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สมาคมวิจัยสถาบันและพัฒนาอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ภารดี อนันต์นาวี. (2555). หลักการแนวคิดทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: มนตรีจำกัด.

วีรชาติ วิลาศรี. (2550). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 2. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สิร์รานี วสุภัทร. (2551). ภาวะผู้นำทางวิชาการและสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความสำเร็จต่อการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุขฤทัย จันทร์ทรงกลด. (2558). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17. [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา] มหาวิทยาลัยบูรพา.

อัจฉรา นิยมาภา. (2557). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อัจฉรา นิยมาภา. (2561). ภาวะผู้นำทางวิชาการศักยภาพผู้บริหารยุคใหม่. กรุงเทพฯ: วิสต้า อินเตอร์ปริ้น.

Davis, G., & Thomas, M. (1989). Effective school and effective teacher. Boston: Allyn and Bacon.

Dubrin, A. (2010). The Principles of Leadership. Toronto: Houghton Mifflin Company.

Glickman, C. (2001). Supervision and instructional leadership a developmental approach. Boston: Pearson.

Hallinger, J. S., & Murphy,S.L. (1985). Workstress and social support. Massachusetts: Addison-Wesley.

McEwan, E. K. (2003). Seven steps to effective instructional leadership. California: Macmillan.

Mondy, E. C. & Noe, R. W. (1996). Human Resqurce Management. New York: Prentice Hall.

Mulder, P. (2019). Benne and Sheats Group Roles: 26 Powerful Group Roles. Retrieved 20 January 2023. from Toolshero: https://www.Toolshero.com/leadership/benne-sheats-group-roles

Weller, L. D. (1999). Quality madid school leadership. Georgia: Technomic.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/31/2023