การยอมรับและช่วยเหลือครอบครัวที่บุตรหลานมีภาวะออทิสติก

ผู้แต่ง

  • ไพลิน อินทรพานิชย์ นิสิตมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาพิเศษ ภาคจิตวิทยาการศึกษาและแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • นพีพร คำสนิท นิสิตมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาพิเศษ ภาคจิตวิทยาการศึกษาและแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • กัณฑิมา บุตรจันทร์ นิสิตมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาพิเศษ ภาคจิตวิทยาการศึกษาและแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การยอมรับและช่วยเหลือครอบครัว, ภาวะออทิสติก, ครอบครัวที่บุตรหลานมีภาวะออทิสติก

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการยอมรับและช่วยเหลือครอบครัวที่บุตรหลานมีภาวะออทิสติก ซึ่งเด็กกลุ่มนี้มีภาวะความบกพร่องหรือพัฒนาการล่าช้าในด้าน ภาษา การสื่อสาร การเข้าสังคม และพฤติกรรม โดยความบกพร่องในด้านเหล่านี้เป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตประจำวัน ครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการดูแลพัฒนาบุตรหลานที่มีภาวะออทิสติก โดยเริ่มต้นจากการยอมรับความจริง และการจัดการความเครียดของตนเอง เพื่อลดความกังวลและสามารถส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของบุตรหลานที่มีภาวะ   ออทิสติก สำหรับการให้ความช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีการทำงานร่วมกันของครอบครัวกับทีมสหวิชาชีพที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา เพื่อสนับสนุนด้านการเรียนรู้ และพัฒนาทักษะของบุตรหลานที่มีภาวะออทิสติก โดยยึดหลัก “เด็กเป็นตัวตั้ง ครอบครัวเป็นตัวหาร ผู้เชี่ยวชาญเป็นตัวช่วย” การที่ครอบครัวได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้ครอบครัวมีแรงกาย แรงใจ ในการเลี้ยงดูบุตรหลานที่มีภาวะออทิสติกต่อไป หากครอบครัวได้เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาจะทำให้สัมพันธภาพระหว่างครอบครัวกับตัวเด็กดีขึ้น และมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการช่วยเหลือพัฒนาบุตรหลานที่มีภาวะออทิสติกได้อย่างเต็มศักยภาพมากขึ้น

References

กระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ. 2552. (2552, 8 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 126 ตอนพิเศษ. หน้า 45-47.

จิณัฐตา ศุภศร, อรวรรณ หนูแก้ว และวันดี สุทธรังสี. (2560). ผลของโปรแกรมการให้สุขภาพจิตศึกษาครอบครัวต่อภาระของผู้ดูแลเด็กออทิสติก: การศึกษาเบื้องต้น. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4 (ฉบับพิเศษ), 196-213.

ดวงใจ พันธภาค และปริชวัน จันทร์ศิริ. (2556). ระดับความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของบิดามารดาเด็กออทิสติกที่นําบุตรเข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก สถาบันราชานุกูล. จุฬาลงกรณ์เวชสาร, 57(2), 223-38.

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2565). แนวทางการดูแลออทิสติกแบบบูรณาการ. สืบค้นจาก https://www.happyhomeclinic.com/au22-autism-care.html

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2565). ออทิสติก. สืบค้นจาก https://www.happyhomeclinic.com/au02-autism.html

ธนวุฒิ คำประเทือง. (2562). ผลการศึกษาระดับความเครียดและแนวทางจัดการกับความเครียดของสมาชิกในครอบครัวนักเรียนออทิสติก. รายงานการวิจัย. สาขาวิชาการศึกษาพิเศษและภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

เพ็ญแข ลิ่มศิลา, ธีรารัตน์ แทนขำ, ทวีลาภ ศรีวุฒิวงศ์, ทวีทรัพย์ บัวทวี, ณัชนก สุวรรณานนท์ และรุ้งตะวัน โต๊ะมี. (2562). “คู่มือฝึกและดูแลเด็กออทิสติก สำหรับผู้ปกครอง” คลังความรู้สุขภาพจิตกรมสุขภาพจิต. สืบค้นจาก https://dmh-elibrary.org/items/show/234

เพิ่มพูน สานิชวรรณกุล, ณัฐสุดา เต้พันธ์ และกุลยา พิสิษฐ์สังฆการ. (2563). ประสบการณ์ทางจิตใจในระยะแรกของพ่อแม่หลังจากลูกได้รับการวินิจฉัย ว่าเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 60-72.

รุ่งรัตน์ ศรีอำนวย. (2561). ประสบการณ์ชีวิตของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูเด็กที่มีภาวะออทิสซึ่ม: เพื่อการใช้ประโยชน์ในการจัดบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มที่เน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง. วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ, 7(1), 82-103.

สมัย ศิริทองถาวร และดวงกมล ตั้งวิริยะไพบูลย์. (2564). ภาวะออทิสซึมในเด็กปฐมวัยที่สงสัยพัฒนาการไม่สมวัยหรือออทิสซึม: การศึกษานำร่องในจังหวัดเชียงใหม่. กรมสุขภาพจิตสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์.

สาวิตรี วงศ์กิติรุ่งเรือง. (2562). การสนับสนุนครอบครัวที่มีเด็กออทิสติกสเปกตรัม. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 42(2), 35-50.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2561). 4 ระดับของความเครียด. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). สืบค้นจาก https://www.thaihealth.or.th

สุทธานันท์ กัลกะ. (2561). การช่วยเหลือเด็กออทิสติก: กรณีศึกษา. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล, 24(3), 227-238.

สุพัตรา จันทร์สุวรรณ, สุนทรี ขะชาตย์, ปวิดา โพธิ์ทอง และเสาวลักษณ์ แสนฉลาด. (2559). ความต้องการการได้รับการช่วยเหลือของมารดาเด็กออทิสติก. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 30(3), 16-25.

American Psychiatric Association. (2013). Diagnostic and statistical manual of mental disorders (5th ed.). American Psychiatric Publishing.

Autism Speaks. (2022). Global prevalence of autism spectrum disorder. Retrieved from https://www.autismspeaks.org/global-prevalence-autism-spectrum-disorder

Boland, R., & Verduin, M. L. (2022). Neurodevelopmental disorders and other childhood disorders. In: Kaplan and Sadock’s synopsis of psychiatry (12th ed.). Retrieved from https://psychiatry.lwwhealthlibrary.com/book.aspx?bookid=3071

Karst, J. S., & Van Hecke, A. V. (2012). Parent and family impact of autism spectrum disorders: A review and proposed model for intervention evaluation. Clinical Child and Family Psychology Review, 15(3), 247-277.

Lindblad, B. M., Holritz-Rasmussen, B. & Sandman, P. O. (2007). Alife enriching togetherness–meanings of informal support when being a parent of a child with disability. Scandinavian Journal of Caring Sciences, 21(2), 238-246. Retrieved from https://doi:10.1111/j.1471-6712.2007.00462.x

Llias, K., Cornish, K., Kummar, A. S., Park, M. A., & Golden, K. J. (2018). Parenting stress and resilience in parents of children with autism spectrum disorder (ASD) in Southeast Asia: A systematic review. Frontiers in Psychology. Retrieved from https://doi.org/10.3389/fpsyg.2018.00280

Searing, B. M. J., Graham, F. & Grainge, R. (2015). Support Needs of Families Living with Children with Autism Spectrum Disorder. Journal of Autism and Developmental Disorders, 45(11), 3693-3702. Retrieved from https://doi.org/10.1007/s10803-015-2516-4

Zeng, S., Hu, X., Zhao, H., & Stone-MacDonald, A. K. (2020). Examining the relationships of parental stress, family support, and family quality of life: A structural equation modeling approach. Research in Developmental Disabilities, 96, 103523. Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.ridd.2019.103523

Zwaigenbaum, L., Bauman, L. M., Stone, L. W., Yirmiya, N., Estes, A., Hansen, L. R., McPartland, C. J., Natowicz, R. M., Choueiri, R., Fein, D., Kasari, C., Pierce, K., Buie, T., Carter, A., Davis, A. P., Granpeesheh, D., Mailloux, D., Newschaffer, C., Robins, D., . . . Wetherby, A. (2015). Early Identification of Autism Spectrum Disorder: Recommendations for Practice and Research. Pediatrics, 136, S10-S40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/30/2025

How to Cite

อินทรพานิชย์ ไ., คำสนิท น., & บุตรจันทร์ ก. . (2025). การยอมรับและช่วยเหลือครอบครัวที่บุตรหลานมีภาวะออทิสติก. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์, 3(1), 1–10. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/VRUJ/article/view/4581