การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการประเมินเพื่อพัฒนาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
คำสำคัญ:
ทักษะการคิดวิเคราะห์, การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน, เทคนิคการประเมินเพื่อพัฒนาบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชันตรีโกณมิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการประเมินเพื่อพัฒนา (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชันตรีโกณมิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ร่วมกับเทคนิคการประเมินเพื่อพัฒนา และ (3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการประเมินเพื่อพัฒนากับเกณฑ์ร้อยละ 60 กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒ จำนวน 1 ห้องเรียน รวมเป็นนักเรียน 39 คนได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการประเมินเพื่อพัฒนา จำนวน 4 แผน มีคุณภาพด้านความเหมาะสมเท่ากับ 4.80 (2) แบบทดสอบอัตนัยวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ มีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.64-0.79 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.30-0.55 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 และ (3) แบบประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ มีคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ และการทดสอบที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ก่อนเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการประเมินเพื่อพัฒนาเท่ากับ 7.31(SD =68) คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 27.08 (SD = 6.15) และคะแนนร้อยละพัฒนาการสัมพัทธ์เท่ากับ 72.61 อยู่ในระดับสูง
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชันตรีโกณมิติ หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการประเมินเพื่อพัฒนา สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการประเมินเพื่อพัฒนาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ชาญณรงค์ วิเศษสัตย์ และวาสนาไทย วิเศษสัตย์. (2563). แนวทางการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจคณิตศาสตร์. วารสารคณิตศาสตร์, 65(702), 27-44.
ณัฐพล เฟื่องฟุ้ง. (2560). การจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
พัชชา ห่อตระกูล, วิไลพร สุพรรณ, สุจิตรา ฟังเร็ว, พินดา วราสุนันท์ และพงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล. (2567). คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์: แนวทางที่ดีกว่าในการประเมินกระบวนการเรียนรู้ทางวิสัญญีวิทยา. วารสารวิชาการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์, 6(1), 39-45.
ภัทราพร ทำคาม. (2561). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ร่วมกับแผนผังความคิด [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
มารุต พัฒผล. (2561). การพัฒนารูปแบบการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษา. Veridian E-Journal Silpakorn University, 11(3), 3413-3432.
วราภรณ์ เพ็ชชะ. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน (Brain Based Learning: BBL) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.
สถาบันวิทยาการเรียนรู้. (2550). การสอนแบบ Brain-baesd Learning. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). การวัดผลประเมินผลคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สุพจน์ ศิลปะวัฒนา, เกตุมณี มากมี และวารุณี โพธาสินธุ์. (2564). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานในรายวิชาภาษาไทย วัฒนธรรมไทยและประวัติศาสตร์ไทย สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 แบบยืดหยุ่น โรงเรียนคริสเตียนเยอรมันเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 31(2), 1-16.
Bloom, B. S. (1961). Taxonomy of Educational Objectives. New York: David Mckey.
Jensen, E. (2000). Brain-based learning. San Diego, CA: The Brain Store Publishing.
Keeley, P. & Tobey, C. R. (2017). Mathematics Formative Assessment. California: Corwin.
Ozsoy, S. & Aydin, S. (2015). Mathematics literacy: A key to success in modern world. International Journal of Mathematics Education, 12(1), 45-52.