การออกแบบการเรียนรู้แบบดิจิทัลเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ทางภูมิศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • อนุพงศ์ โฮ้งจิก คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
  • ชรินทร์ มั่งคั่ง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
  • วรินทร สิริพงษ์ณภัทร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ความฉลาดรู้ภูมิศาสตร์, การออกแบบการเรียนรู้แนวดิจิทัล, ซิพแพคโมเดล, นักเรียนระดับประถมศึกษา

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มุ่งนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับ (1) มโนทัศน์ความฉลาดรู้ภูมิศาสตร์ในบริบทของการศึกษาในศตวรรษที่ 21 (2) แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการสื่อดิจิทัลเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ภูมิศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา และ (3) การออกแบบการเรียนรู้แนวดิจิทัลโดยประยุกต์ใช้ CIPPA Model เพื่อพัฒนาทักษะทางภูมิศาสตร์ที่จำเป็นสำหรับผู้เรียน บทความนี้มีวัตถุประสงค์ นำเสนอแนวทางการออกแบบการเรียนรู้แบบดิจิทัลเพื่อพัฒนาความฉลาดรู้ทางภูมิศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยใช้กรอบแนวคิด CIPPA Model ซึ่งเน้นการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน ครู และสื่อดิจิทัล ผ่านการสอดแทรกเทคนิคการตั้งคำถามแบบโสเครติส เพื่อกระตุ้นการคิดเชิงวิเคราะห์และการให้เหตุผลทางภูมิศาสตร์ ผลลัพธ์ที่คาดหวังคือ การพัฒนาทักษะทางภูมิศาสตร์ของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และการส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

ในการศึกษานี้ ได้ทำการวิเคราะห์แนวคิดและองค์ประกอบของ CIPPA Model เพื่อพิจารณา  ความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้สำหรับการจัดการเรียนรู้ในบริบทของการศึกษายุคใหม่ผนวกกับการตั้งคำถาม จนได้การออกแบบการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน โดยใช้โมเดล CIPAC Model โดยมุ่งเน้นถึงกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการใช้เทคโนโลยีอย่างมีวิจารณญาณ บทความนี้นำเสนอแนวทางการออกแบบการเรียนรู้ที่จะช่วยพัฒนาความฉลาดรู้ทางดิจิทัลของผู้เรียน ตลอดจนอภิปรายข้อเสนอแนะในการนำแนวคิดดังกล่าวไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้

References

กนก จันทรา. (2561). การรู้เรื่องภูมิศาสตร์: ถอดบทเรียนประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ในชั้นเรียนที่เสริมสร้าง การรู้เรื่องภูมิศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประภัสสร ปรีเอี่ยม. (2561). การพัฒนาการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคามเขต 2: บุพปัจจัยและผลลัพธ์. วารสารคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 1(12), 43-67.

ราชบัณฑิตยสภา. (2562). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัยชุดความฉลาดรู้ (literacy). กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

วรินทร สิริพงษ์ณภัทร. (2566). การตั้งคำถามแบบโสเครติส การคิดอย่างมีวิจารณญาณการจัดการเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 51(1), 29-30.

สมศักดิ์ สุนทรพิพิธ. (2562). ภูมิศาสตร์และการพัฒนาทักษะทางภูมิศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). แนวการจัดกิจกรรมแนะแนวตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณการเกษตรแห่งประเทศไทย.

สิริรัตน์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์. (2559). การพัฒนาการเรียนการสอนรายวิชาภูมิศาสตร์เพื่อรองรับโอลิมปิกวิชาการ. วารสารภูมิศาสตร์ สมาคมภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย, 44(2), 32–50.

Association of American Geographers. (2016). Geography for life: National geography.

Cambridge International. (2021). Digital technologies in the classroom. Retrieved from https://www.cambridgeinternational.org/images/271191-digital-technologies-in-the-classroom.pdf

ESRI Schools and Libraries Program. (2003). Geographic inquiry: Thinking geographically. Geography, 116(1), 2-8.

Graham, C. R., Allen, S., & Ure, E. (2003). Blended learning environments: A review of the research literature. [Unpublished manuscript]. Provo, UT.

Horton, W. K. (2007). Exploring the challenges of developing digital literacy in the context Retrieved from https://ncge.org/wpcontent/uploads/2021/06/Geography_for_Life_2ndEd.pdf

International Society for Technology in Education (ISTE). (2016). ISTE standards for students. International Society for Technology in Education. Retrieved from https://www.iste.org/standards

Ministry of Education. (2008). The Development of Education: National Report of Namibia by Ministry of Education. In 48 Session of Ministry of Education Conference on Education Inclusive Education: The Way of the Future. Ministry of Education. National Geographic Education.

National Geographic Society. (2018). Components of geographic literacy of special educational needs. In S. Andretta (Ed.), Change and challenge: Information literacy for the 21st century (pp. 115-144). Adelaide, Australia: Auslib Press.

Pennsylvania Department of Education (2002). Academic standards for geography. Pennsylvania Department of Education. research literature. [Unpublished]. Provo, UT. Retrieved from https://url.in.th/WZJKk

Stroud, R. J. (2017). Geographic literacy: What it is and why it matters. Retrieved from www.cambridgeinternational.org

Suwanvej, K. (2015). Development of teaching and learning models to promote geography teaching competencies for Professional Social Studies Teacher Students [Doctoral dissertation, Silpakorn University].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/30/2025

How to Cite

โฮ้งจิก อ., มั่งคั่ง ช., & สิริพงษ์ณภัทร ว. . (2025). การออกแบบการเรียนรู้แบบดิจิทัลเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ทางภูมิศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์, 3(1), 11–21. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/VRUJ/article/view/5964