องค์ความรู้ในการทำนายของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเชื้อสายเขมร จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

ยโสธารา ศิริภาประภากร
สำเริง อินทยุง
สุริยา คลังฤทธิ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้ในการทำนายของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเชื้อสายเขมร จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งมีขั้นตอนในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การศึกษาพื้นที่ การสัมภาษณ์ การสังเกต การมีส่วนร่วม โดยมีกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง ได้แก่ (1) อาจารย์ผู้ประกอบประกอบพิธี (2) ผู้นำชุมชน (3) ผู้ร่วมในพิธี  (4) ผู้มีประสบการณ์ตรง (5) ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นต้น เป็นการศึกษาในพื้นที่ของ บ้านกระทม ตำบลนาบัว อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ไทยเชื้อสายเขมร จังหวัดสุรินทร์ มีพื้นที่บางส่วนติดต่อกับประเทศกัมพูชาและได้รับอิทธิพลในด้านวัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ และพิธีกรรม และองค์ความรู้ในด้านการทำนายแบบดั้งเดิม การทำนายของกลุ่มชาวไทยเชื้อสายเขมรของพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ มีลักษณะการทำนาย 3 ลักษณะ มีลักษณะการทำนายโดยการนำวัสดุและอุปกรณ์ คือ (1) การนำเอา คางไก่ และ ไข่ไก่มาใช้ในการทำนาย (2) การนำดอกไม้           มักใช้ชื่อเรียกว่า จำปา จำปี มาใช้ในพิธีกรรมเพื่อการทำนาย (3) และวิธีการ “โบล” เป็นภาษาเขมรให้ความหมายว่าการทำนาย ด้านความสำคัญในลักษณะการทำนายมักมีความเกี่ยวข้องกับอำนาจเหนือธรรมและพลังลึกลับ และการทำนายที่กล่าวมานี้มักปรากฏในพิธีกรรมที่จัดขึ้นของชุมชน เชิงระบบโครงสร้างด้านต่าง ๆ ของชุมชน และการทำนายโดยส่วนมากที่มีปัญหาและนำมาซึ่งวิธีการทำนาย มีสาเหตุหลัก ได้แก่ (1) ด้านสุขภาพ ร่างกาย (2) ด้านความมั่นคงของชีวิตและทรัพย์สิน (3) ด้านที่อยู่อาศัย (4) หน้าที่การงานและความสำเร็จ และ (5) วิถีการบำบัดรักษา หลักการทำนายและผลที่ได้จากการทำนายจากสิ่งต่าง ๆ ที่แสดงไว้บนวัสดุ และอุปกรณ์ เป็นองค์ความรู้จากบรรพบุรุษและ        ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ด้านการทำนายที่มีการรักษาสืบทอดจนมาถึงปัจจุบัน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Bookmark and Share

References

ทองดา คลังฤทธิ์, ยโสธารา ศิริภาประภากร, สุริยา คลังฤทธิ์. (2563). “แซนกะโม๊ย” สายสัมพันธ์ระหว่างคนเป็นกับคนตายของชาวไทยกูย. วารสารวิชาการศิลปวัฒนธรรมอีสาน, 1(2), 49 - 62.

ปฐมพงศ์ ลิ้มเจริญ, ศรัญญา ประสพชิงชนะ, ราชันย์ นิลวรรณาภา. (2559). หมอธรรม : ประวัติศาสตร์ ความเชื่อ และเครือข่ายทางสังคมในภาคอีสาน. วารสารช่อพะยอม, 27(1), 25 - 34.

ประทีป แขรัมย์. (2535). พิธีกรรม มม็วด ของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยเขมร : ศึกษากรณีบ้านตะโกราย ตำบลบ้านบัว อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

ภัทระ อินทรกำแหง และ ลัดดาวัลย์ สีพาชัย. (2562). การศึกษาประเพณีปะอ๊อกเปรี๊ยะแค บ้านขนาดมอญ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 4(1), 19 - 35.

ยโสธารา ศิริภาประภากร. (2559). วิเคราะห์คำสอนจากพิธีกรรมเข้าทรงมะม๊วตที่สัมพันธ์กับหลักธรรมในพระพุทธศาสนาของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเขมรในเขตจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์. พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ยโสธารา ศิริภาประภากร. (2564ก). คางไก่ที่ใช้ในการทำนาย [ภาพถ่าย]. 11 มีนาคม 2564. สุรินทร์ : บ้านกระทม ตำบลนาบัว อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์.

ยโสธารา ศิริภาประภากร. (2564ข). ไข่ต้มที่ใช้ในการทำนาย [ภาพถ่าย]. 11 มีนาคม 2564. สุรินทร์ : บ้านกระทม ตำบลนาบัว อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์.

ยโสธารา ศิริภาประภากร. (2564ค). ดอกจำปาที่ใช้ในการทำนาย [ภาพถ่าย]. 11 มีนาคม 2564. สุรินทร์ : บ้านกระทม ตำบลนาบัว อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). ทำนาย [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2565, จาก https://dictionary.orst.go.th.

สำเริง อินทยุง, ยโสธารา ศิริภาประภากร, สุริยา คลังฤทธิ์. (2562). แซนพนม พิธีกรรมบูชาภูเขาของกลุ่มชาวไทยเขมร บ้านตะโก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. ใน การประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ “เวทีวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมศึกษา” ครั้งที่ 2, 23 สิงหาคม 2562. 374 - 378. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สิบปีย์ ชยานุสาสนี จันทร์ดอน, ทรงคุณ จันทจร, ระพีพันธ์ ศิริสัมพันธ์. (2561). ผีปู่ตา : ความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรม ของชาวมหาสารคาม. วารสารช่อพะยอม, 29(1), 415 - 420.

สุพัตรา วะยะลุน, ยโสธารา ศิริภาประภากร, สำเริง อินทยุง,สุริยา คลังฤทธิ์. (2562). “จวมกรู” สัญลักษณ์เชื่อมต่ออำนาจวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ของชาวไทยเขมรกับการพัฒนาให้เป็นผลิตผลทางความเชื่อที่ยั่งยืน. ใน การประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ “เวทีวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมศึกษา” ครั้งที่ 2, 23 สิงหาคม 2562. 389 - 394. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุเมธ เมธาวิทยกุล. (2532). สังกัปพิธีกรรม. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

อารีย์ ทองแก้ว. (2549). วัฒนธรรมท้องถิ่นสุรินทร์. สุรินทร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

อาหมัดอัลชารีย์ มูเก็ม. (2559). ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อ ที่มีความสัมพันธ์ต่อวิถีชีวิตของชนกลุ่มชาติพันธุ์เขมรบน พื้นที่บ้านจารย์ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์. การวิจัยเฉพาะเรื่อง. ประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาบัณฑิตอาสาสมัคร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุคลานุกรม

นาย ก ปราชญ์ชาวบ้าน (ผู้ให้สัมภาษณ์). ยโสธารา ศิริภาประภากร (ผู้สัมภาษณ์). ที่ บ้านกระทม ตำบลนาบัว อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 32000. เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2564.

นาง ข ผู้ประกอบพิธีกรรม (ผู้ให้สัมภาษณ์). ยโสธารา ศิริภาประภากร (ผู้สัมภาษณ์). ที่ บ้านกระทม ตำบลนาบัว อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 32000. เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2564.

นาย ค ผู้ประกอบพิธีกรรม (ผู้ให้สัมภาษณ์). ยโสธารา ศิริภาประภากร (ผู้สัมภาษณ์). ที่ บ้านกระทม ตำบลนาบัว อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 32000. เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2564.

นาง ง ผู้ประกอบพิธีกรรม (ผู้ให้สัมภาษณ์). ยโสธารา ศิริภาประภากร (ผู้สัมภาษณ์). ที่ บ้านกระทม ตำบลนาบัว อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 32000. เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2564.