ศาสตร์ศิลป์สีเพื่อการออกแบบลวดลายสีสันผ้าไหมมัดหมี่ปูมโบราณและปิดานผสานการย้อมโอนสีหกสีตามธรรมเนียมปฏิบัติภูมิปัญญาชนชาวเขมรโบราณ

Main Article Content

สมบัติ สมัครสมาน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทำผ้าไหมมัดหมี่ปูมโบราณและผ้าไหมมัดหมี่ปิดาน ซึ่งรูปแบบการทำผ้าอาจไม่แตกต่างกันมากนัก หากแต่มีโครงสร้างการวางลายของผ้าที่สมบูรณ์และอาจมีจำนวนลำที่มากกว่าผ้าไหมมัดหมี่ที่ใช้นุ่งปกติทั่วไป อย่างไรก็ตามความโดดเด่นของงานผ้าไหมมัดหมี่ที่ปรากฏออกมา สื่อสัมผัสถึงฝีมือ ความสวยงาม หรือเรื่องราวที่ผู้สร้างสรรค์ต้องการสื่อสารผ่านงานผ้าทออันเป็นผืนผ้า สีสัน ลวดลายที่เกิดขึ้นหลังการทอเสร็จสิ้นนั้น เกิดจากกระบวนการวางแผนการออกแบบ การมัดหมี่ด้ายไหม การย้อมหมี่ไหมให้ได้สีสัน ลวดลายในเส้นพุ่ง เพื่อนำไปทอขัดกันกับเส้นยืนจนสำเร็จเป็นผืนผ้าที่สมบูรณ์ตามวัตถุประสงค์ของการสร้างงาน ดังนั้นนักออกแบบลวดลายผ้าทอ ศิลปินช่างทอ ต้องเข้าใจสิ่งสำคัญที่สุดในเรื่อง “สี” ตลอดจนกระบวนการทำให้เกิดสีตามต้องการ นักออกแบบลวดลายจะรู้เพียงหลักการหรือทฤษฎีสีเคมีหรือสีของช่างศิลป์ โดยไม่เข้าใจกระบวนการมัดย้อมหมี่ ก็ไม่สามารถถ่ายทอดหรือสื่อสารให้ศิลปินช่างทอเข้าใจได้ หรือ ศิลปินช่างทอจะมัดย้อมโดยการลงสีด้วยเทคนิคการย้อมเย็นหรือย้อมร้อน โดยขาดความรู้ความเข้าใจหลักการหรือแนวปฏิบัติที่ดีและถูกต้อง ย่อมทำให้เกิดความสูญเสียหรือได้สีที่คลาดเคลื่อนจากความตั้งใจและอาจด้อยคุณค่าเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการทอ จากประสบการณ์การทำงานสร้างสรรค์ผ้าไหมทอมือของผู้เขียนบทความ รวมทั้งการได้ถอดองค์ความรู้ในงานผ้าไหมมัดหมี่จากภูมิปัญญาศิลปินช่างทอเด่น ๆ หลายท่าน และการสอนงานศิลปะและการออกแบบโดยเฉพาะเรื่อง “สี” ได้เห็นปัญหาหรือการมองข้ามในขั้นตอนสำคัญการมัดหมี่ การย้อมหมี่นี้ จึงมุ่งเน้นนำเสนอบทความเพื่อเชื่อมโยงบูรณาการหลักการทางด้านสีของช่างศิลป์ผนวกเข้ากับภูมิปัญญาการย้อมแม่สี 3 สี วางแผนการย้อมตามรูปแบบธรรมเนียมปฏิบัติภูมิปัญญาเขมรโบราณ ให้เกิดสี 6 สี เพื่อประโยชน์ต่อการทำผ้าไหมมัดหมี่ปูมโบราณและผ้าไหมมัดหมี่ปิดาน หรือผ้าไหมมัดหมี่ทั่วไป ให้เกิดการพัฒนาผืนผ้าทอที่มีคุณภาพมาตรฐานโดยไม่ทิ้งรากเหง้าภูมิปัญญาที่ทรงค่านี้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Bookmark and Share

References

กาญจนาผ้าไหมสุรินทร์. (2565). ผ้าไหมมัดหมี่ปิดาน [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.facebook.com/kanjanapamaisurin.

ผ้าไหมอัปสรา ผ้าโบราณ. (2563). ลายเกียรติมุขก้านขด [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.facebook.com/adisakbunnak25.

ผ้าไหมอัปสรา ผ้าโบราณ. (2564). ลายเนียงอัปสราไพรชยน [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.facebook.com/adisakbunnak25.

ยอร์ช เซเดส์. (2556). เมืองพระนคร นครวัด นครธม : Angkor : An Introduction. แปลโดย ปรานี วงษ์เทศ. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : ดรีม แคทเชอร์.

รัตนเรขา มีพร้อม และ ทัศนียา นิลฤทธิ์. (2562). การออกแบบลวดลายมัดหมี่ไหมเพื่อการนำไปสู่การพัฒนาเป็นสินค้าแฟชั่น กรณีศึกษาลวดลายผ้าโฮลเปราะห์ จังหวัดสุรินทร์. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 20(2), 23 - 34.

สมบัติ สมัครสมาน, สุพัตรา วะยะลุน, สุรเชษฐ์ วรศรี และอภิชัย ไพรสินธุ์. (2563). การออกแบบลวดลายผ้าไหมปูมโบราณแนวคิดสร้างสรรค์จากศิลปกรรมขอมโบราณให้กับชุมชนกลุ่มผ้าไหมทอมือจังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 13(1), 62 – 72.

สมบัติ สมัครสมาน. (2563). การออกแบบผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม: แนวคิดการสร้างสรรค์ลายอัตลักษณ์ผ้าไหมปูมโบราณสุรินทร์. วารสารวิชาการศิลปวัฒนธรรมอีสาน, 1(2), 27 – 47.

สมบัติ สมัครสมาน. (2565). โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการการออกแบบวางแผนการย้อมสี 6 ชั้น ผ้าไหมมัดหมี่ปิดานลายสร้างสรรค์ [ภาพถ่าย]. 9 มิถุนายน 2565. บุรีรัมย์ : บ้านยายแย้ม ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์.

บุคลานุกรม

นงเยาว์ ทรงวิชา (ผู้ให้สัมภาษณ์). สมบัติ สมัครสมาน (ผู้สัมภาษณ์). ที่ บ้านนาตัง ตำบลเขวาสินรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 32000. เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2565.

บันเทิง ว่องไว (ผู้ให้สัมภาษณ์). สมบัติ สมัครสมาน (ผู้สัมภาษณ์). ที่ บ้านด่านเจริญ ตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ 32150. เมื่อวันที่ 29 กรกฏาคม 2565.

ประไพ ดาทอง (ผู้ให้สัมภาษณ์). สมบัติ สมัครสมาน (ผู้สัมภาษณ์). ที่ บ้านด่านเจริญ ตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ 32150. เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2565.

สุรโชติ ตามเจริญ (ผู้ให้สัมภาษณ์). สมบัติ สมัครสมาน (ผู้สัมภาษณ์). ที่ บ้านแกใหญ่ ตำบลแกใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 32000. เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2565.

อดิศักดิ์ บุญหนัก (ผู้ให้สัมภาษณ์). สมบัติ สมัครสมาน (ผู้สัมภาษณ์). ที่ บ้านวัฒนาสามัคคี ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ รหัสไปรษณีย์ 31170. เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565.