การจัดการองค์ความรู้เพื่อการเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน: การประดิษฐ์พวงมโหตร (พวงมาลัยอีสาน)

Main Article Content

ชุติพงศ์ คงสันเทียะ
ระพีพรรณ จันทรสา
กนิษฐา เรืองวรรณศักดิ์
ณัฏฐานุช เมฆรา
จุรีรัตน์ ทวยสม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างระบบจัดการองค์ความรู้ภูมิปัญญาการประดิษฐ์พวงมโหตร (พวงมาลัยอีสาน) และ (2) นำองค์ความรู้ภูมิปัญญาการประดิษฐ์พวงมโหตรที่ถูกจัดระบบแล้ว มาประยุกต์โดยจัดเป็นกิจกรรมฝึกปฏิบัติเผยแพร่สู่ชุมชนท้องถิ่น ใช้ระเบียบวิธีวิจัยหลายขั้นตอน โดยมีวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์ปราชญ์ท้องถิ่นร่วมกับการศึกษาจากเอกสารตำราเพื่อสกัดองค์ความรู้การประดิษฐ์พวงมโหตร และการสนทนากลุ่มผู้เข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ และวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ การจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และการถอดบทเรียนหลังเสร็จสิ้นกิจกรรม (AAR) การวิเคราะห์ใช้แนวคิดการจัดการความรู้โมเดลเซกิ (SECI Model) ผลการวิจัยพบว่า มีการจัดการความรู้การประดิษฐ์พวงมโหตรจาก “ความรู้ฝังลึก” สู่ “ความรู้ที่ชัดแจ้ง” ได้แก่ ที่มา ความสำคัญ ความหมาย ลักษณะ การใช้ประโยชน์ ขั้นตอนและวิธีการทำ ในรูปแบบของสื่อต่าง ๆ แผ่นพับ ป้ายนิทรรศสาธิต และโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับสร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปแคนวา เพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายในผู้เรียนช่วงวัยต่าง ๆ มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการสู่ชุมชนท้องถิ่นจำนวน 6 ครั้ง โดยมีผลการประเมินความพึงพอใจด้านการนำภูมิปัญญาไปใช้ประโยชน์เฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (4.50) นอกจากนี้มีการติดตามผลการนำไปใช้ประโยชน์พบว่า ชุมชนมีการนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์จริง ได้แก่ การนำไปใช้ประกอบงานบุญประเพณีของชุมชน การต่อยอดประดิษฐ์ด้วยวัสดุอื่นที่คงทน และมีการเผยแพร่ต่อผู้อื่น ซึ่งหมุนวนเป็นวัฏจักรตามโมเดลเซกิ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย
Bookmark and Share

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2561). มรดกภูมิปัญญาอีสาน. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชาคริต สิทธิฤทธิ์. (2559). จับต้องได้-จับต้องไม่ได้: ความไม่หลากหลายในความหลากหลายของมรดกทางวัฒนธรรม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี, 8(2), 141 - 160.

ทับทิม เป็งมล, สิริลักษณ์ กัลยา, ณัฐวุฒิ วิทา. (2561). การจัดการองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 2(3), 93 - 105.

ธัญวรัตม์ นุชอุดม และ อินทิรา พรมพันธุ์. (2561). การพัฒนากิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางสังคมของเด็กและเยาวชน ในกรณีศึกษาชุมชนต้นแบบ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 15(2), 1 - 14

ไพศาล สรรสรวิสุทธิ์. (2558). การจัดการความรู้ด้านมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นในจังหวัดอุทัยธานี. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 10, 1 - 18.

ยศพร จันทองจีน. (2556). “พวงมโหตร” สู่การออกแบบพาวิลเลี่ยนการท่องเที่ยว “ไทยทัศน์”. วิทยานิพนธ์. ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบภายใน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรีวรรณ เจริญรูป, จรัสศรี โนมี, นิติศักดิ์ เจริญรูป, ภูวเรศ เทพกร. (2562). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม : กรณีศึกษาตุงล้านนา. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 6(2), 315 - 330.

สายใจ เจริญรื่น. (2555). พวงมโหตร. กรุงเทพฯ : สถาพรบุ๊คส์.

สุรเดช ลุนิทรานนท์. (2562). ผู้สูงอายุ และตุงไส้หมู: การดำรงอยู่ของภูมิปัญญาท้องถิ่นย่านวัดเกต. วารสารข่วงผญา สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 14, 144 - 177.

Chaimuang R. (2020). Social Capital Context for Creative Tourism Management in Wiang Sub-district, Chiang Saen District, Chiang Rai Province. Dusit Thani College Journal, 14(3), 657 - 666.

Nonaka I. and Nishigushi T. (2001). Knowledge Emergence : Social, Tehnical, and Evolitionary Dimensions of Knowledge Creation. New York : Oxford University Press.

บุคลานุกรม

กรกมล แทรวิส, วิทยากรพิเศษ สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดอุดรธานี (ผู้ให้สัมภาษณ์). ชุติพงศ์ คงสันเทียะ (ผู้สัมภาษณ์). ที่ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2565.

พระครูศรีปัญญาวิสิฐ ธีรปัญฺโญ, เจ้าอาวาสวัดศิริบุญธรรม ตำบลกุดดินจี่ อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู (ผู้ให้สัมภาษณ์). ชุติพงศ์ คงสันเทียะ (ผู้สัมภาษณ์). ที่ วัดศิริบุญธรรม ตำบลกุดดินจี่ อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู. เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2565.