คุณค่าและความงามของพระพุทธรูปไม้อีสานในวัดอาม็อง
Main Article Content
บทคัดย่อ
พระพุทธรูปไม้วัดอาม็อง มีจุดประสงค์ในการสร้างเพื่อระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ตัวแทน) เพื่อสร้างรูปเคารพสักการะจากความศรัทธาและเลื่อมใส และเพื่อเป็นรูปแบบของการกระทำความดีหรือบุญในสังคม (ผลของการกระทำ)ตามคติความเชื่อของพุทธศาสนา พระพุทธรูปไม้วัดอาม็องเป็นงานพุทธศิลป์ตามแบบศิลปะท้องถิ่น โดยผสมผสานคติความเชื่อแบบท้องถิ่นกับพุทธศาสนา และศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเข้าด้วยกัน พระพุทธรูปไม้วัดอาม็องแสดงให้เห็นถึงความงามทั้งภายนอกและภายใน รวมทั้งคุณค่าจากผู้สร้าง (ศิลปิน) ที่ได้สะท้อน วิถีชีวิต ความเชื่อ วัฒนธรรมและประเพณี ของคนอีสานใต้ได้อย่างลงตัว
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ เนื้อหา และข้อมูลที่ลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล ถือเป็นทัศนะ ข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่รับผิดชอบในบทความนั้น
บทความทั้งหมดที่เผยแพร่แบบเปิดจะเปิดให้ทุกคนอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความได้ฟรีทันทีและถาวร อนุญาตให้เข้าถึงได้โดยไม่ต้องขออนุญาตล่วงหน้าจากผู้จัดพิมพ์หรือผู้แต่งและสิ่งพิมพ์ต้นฉบับต้องมีการอ้างอิงอย่างถูกต้องและเหมาะสม
เจ้าของ (สำนักงานศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์) ขอสงวนสิทธิ์ในการขอเปลี่ยนแปลงการตีพิมพ์เผยแพร่ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงระยะเวลาการตีพิมพ์แม้ว่าจะมีการตอบรับแล้วก็ตาม วารสารขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ตีพิมพ์ผลงานหากการตีพิมพ์ดังกล่าวส่งผลความผิดทางกฎหมายหรือการละเมิดจริยธรรมการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ และหากวารสารตัดสินใจที่จะไม่เผยแพร่ผลงาน จะไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ (APC) หรือค่าธรรมเนียมอื่นใด และหลังจากที่วารสารการปฏิเสธการตีพิมพ์ ผู้นิพนธ์มีสิทธิ์ที่จะส่งบทความไปยังวารสารอื่นได้
References
กฤษฎา ศรีธรรมา. (2558). ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). มหาสารคาม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
กานต์ กาญจนพิมาย. (2566ก). พระพุทธรูปปางนาคปรก [ภาพถ่าย]. 12 พฤษภาคม 2566. สุรินทร์ : วัดอาม็อง หมู่ที่ 13 ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์.
กานต์ กาญจนพิมาย. (2566ข). พระพุทธรูปปางตามพุทธประวัติ [ภาพถ่าย]. 12 พฤษภาคม 2566. สุรินทร์ : วัดอาม็อง หมู่ที่ 13 ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์.
กีรติ บุญเจือ. (2522). ปรัชญาศิลปะ. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2548). พจนานุกรม ศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊ค.
ราศี ชัยมูล. (2542). วิเคราะห์นิทานพื้นบ้านของชาวไทยเขมรบ้านพลวง ตำบลพลวง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. วิทยานพนธ์. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยคดีศึกษา. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิทยา วุฒิไธสง. (2565). พระไม้ลายมือ. ขอนแก่น : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2546). ศิลปะชาวบ้าน Folk Art. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อมรินทร์.
วิรุณ ตั้งเจริญ. (2546). สุนทรียศาสตร์เพื่อชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อีแอนด์ไอคิว.
สุชาติ เถาทอง. (2532). ศิลปะกับมนุษย์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
อัจฉรา ภาณุรัตน์. (2551). ภูมิไทย ชุดไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. สุรินทร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.