วรรณกรรมลาว “สายเลือดเดียวกัน” : การศึกษาตามแนวคิดหลังอาณานิคม

Main Article Content

พระมหาศรายุทธ เจตรา
พระมหากิตติ สอนเสนา
อนันตศักดิ์ พลแก้วเกษ
ชาญยุทธ สอนจันทร์
รัชนีฉาย เฉยรอด

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ลาวในยุคอาณานิคมและหลังอาณานิคม และ เพื่อศึกษาวรรณกรรมลาวด้วยแนวคิดหลังอาณานิคม โดยเลือกศึกษาวรรณกรรมเรื่อง “สายเลือดเดียวกัน” ซึ่งเป็นงานวรรณกรรมแปลในรูปแบบนวนิยาย แต่งโดย ดวงไซ หลวงพะสี ซึ่งได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนของประเทศลาว หรือรางวัลซีไรต์ ปี พ.ศ. 2555 ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจสภาพสังคมลาวในสมัยนั้น รวมทั้งแนวคิดที่ผู้เขียนต้องการถ่ายทอดออกมาผ่านตัวบทวรรณกรรม ผลการศึกษาพบว่า 1) การศึกษาประวัติศาสตร์ลาวในยุคอาณานิคมและหลังอาณานิคมทำให้ทราบถึงประวัติศาสตร์ของลาว จากยุคที่ฝรั่งเศสบุกยึดและผนวกเอาประเทศลาว มาเข้าร่วมในอาณาจักร เรียกขานรวมกันว่า “อินโดจีนฝรั่งเศส”และปกครองลาวในฐานะประเทศอาณานิคมอยู่นานหลายปี ภายหลังฝรั่งเศสพ่ายแพ้ให้กับเวียดมินห์ จึงเป็นการสั่นคลอนอำนาจฝรั่งเศสจนยอมให้ลาวประกาศเอกราชบางส่วนในปี พ.ศ. 2492 และได้เอกราชสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2496 เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 มีการเปลี่ยนระบอบการปกครองจากราชอาณาจักรลาวเป็นการปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ในชื่อว่า “สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” นับแต่นั้นเป็นต้นมา และ 2) การศึกษาวรรณกรรมลาวด้วยแนวคิดหลังอาณานิคม พบว่าผู้เขียนได้สะท้อนแนวคิดในฐานะประเทศที่เคยตกเป็นอาณานิคม จากการทำสงครามและการถูกกดขี่ข่มเหง ผ่านตัวบทวรรณกรรมประเภทนวนิยายอยู่ใน 6 ประเด็น ได้แก่ สงครามก่อให้เกิดการสูญเสียและพลัดพราก สงครามมาพร้อมกับความโหดร้ายทารุณ สงครามก่อให้เกิดความทุกข์ยากลำบากของผู้ถูกรรุกราน สงครามก่อให้เกิดการเข่นฆ่าและทำลายล้างกันของมนุษย์ สงครามก่อให้เกิดความรักและความเห็นอกเห็นใจกันและสงครามก่อให้เกิดความสามัคคีรักชาติบ้านเมือง ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการแสดงให้เห็นถึงความทุกข์ยากลำบากของประชาชนลาวในสมัยนั้น และเพื่อเชิดชูวีรกรรมการต่อสู้กู้ชาติของประชาชนลาวในสมัยดังกล่าว ก่อนจะมาเป็นประเทศลาวที่มีเอกราชในปัจจุบัน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Bookmark and Share

References

เกริกฤทธิ์ เชื้อมงคล. (2558). ลาว : จากกรุงศรีสัตนาคนหุต สู่ สปป.ลาว. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เพชรประกาย.

ชยันต์ วรรธนะภูติ และสร้อยมาศ รุ่งมณี. (2558). ยาดแย่งการพัฒนาและความทันสมัยในลาว. เชียงใหม่: ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ดวงไซ หลวงพะสี. (2556). สายเลือดเดียวกัน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เอโนเวล.

ตรีศิลป์ บุญขจร. (2556). อาเซียนจากมิติวรรณกรรม : อดีตถึงยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ : ศูนย์วรรณคดีศึกษา คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีรพัฒน์ พูลทอง. (2558). วาทกรรมอาณานิคมของสยามในลิลิตพายัพ. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 22(2), 115 - 138.

ธีระ นุชเปี่ยม. (2558). สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. ใน สารานุกรมประวัติศาสตร์ประเทศเพื่อน บ้านในอาเซียน ฉบับราชบัณฑิตยสภา, สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. 97 - 139.

สุวิทย์ ธีรศาศวัต. (2543). ประวัติศาสตร์ลาว 1779 - 1975. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์.

Said, E. W. (1994). Culture and Imperialism. New York : Vintage Books.